หายใจลำบาก

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หายใจลำบาก

อาการหายใจลำบาก หรือหายใจติดขัด (dyspnea/ shortness of breath) เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากต้องเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาล อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเรียกรถพยาบาลมารับมากที่สุดเช่นกัน

เมื่อคุณออกแรงมากเกินไปย่อมมีอาการหายใจติดขัดบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่เมื่ออาการหายใจลำบากเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและกะทันหัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะทางการแพทย์ต่าง ๆ ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลชุดนี้จะกล่าวถึงสาเหตุทั่วไปของ: อาการหายใจลำบากกะทันหัน อาการหายใจลำบากระยะยาว

คุณไม่ควรอ้างอิงข้อมูลเหล่านี้เพื่อการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง แต่ควรใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเป็นความรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการหายใจลำบากหรือหายใจติดขัดอย่างกะทันหันเพื่อตรวจหาปัญหาที่หลอดลมหรือหัวใจของคุณ

แพทย์สามารถทำการประเมินร่างกายของคุณทางโทรศัพท์ หรือด้วยวิธีการเข้าพบตัวต่อตัวที่บ้านหรือสถานพยาบาลก็ได้ หากอาการหายใจติดขัดที่คุณประสบนั้นไม่รุนแรงหรือเป็นผลมาจากความวิตกกังวล คุณอาจต้องไปพบแพทย์ตามสถานพยาบาลแทน

หากคุณมีอาการหายใจลำบากมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ห้ามเพิกเฉยต่ออาการนี้เด็ดขาด ควรไปพบแพทย์เพื่อมองหาว่าคุณเป็นภาวะสุขภาพระยะยาวหรือไม่ เช่นภาวะอ้วน หอบหืด หรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease - COPD) เป็นต้น

แพทย์จะทำการสอบถามคุณเพื่อประกอบการวินิจฉัย เช่น: คุณมีอาการหายใจติดขัดแบบกะทันหันหรือค่อย ๆ เกิดขึ้น? มีสิ่งกระตุ้นใดที่คุณสังเกตเห็น? เช่นการออกกำลังกาย อาการรุนแรงแค่ไหน? เกิดขึ้นในช่วงที่คุณออกแรงหรือไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรอยู่? มีความเจ็บปวดขณะหายใจหรือไม่? มีอาการไอร่วมด้วยหรือไม่? มีท่าทางใดที่ทำให้อาการทรุดลงหรือไม่? เช่นอาการทำให้คุณไม่สามารถนอนราบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความรู้สึกที่คุณไม่สามารถหายใจได้เต็มปอดนั้นเป็นเรื่องน่ากลัว แต่แพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนมาเพียงพอจะสามารถจัดการกับอาการเหล่านั้นได้ โดยคุณอาจจะได้รับออกซิเจนช่วยหายใจตามความจำเป็น

สาเหตุของอาการหายใจติดขัดกะทันหัน

อาการหายใจติดขัดกะทันหันมักเป็นผลมาจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปัญหาเกี่ยวกับปอดหรือหลอดลม

อาการหายใจติดขัดกะทันหันอาจเป็นการกำเริบของโรคหอบหืด (asthma) ที่ทำให้หลอดลมตีบแคบและทำให้ร่างกายผลิตเสมหะเหนียว ๆ ออกมามากขึ้นจนทำให้เกิดอาการหายใจวี้ดและไอ คุณอาจรู้สึกหายใจลำบากเพราะว่าอากาศทำการไหลผ่านหลอดลมได้ยากขึ้นนั่นเอง

แพทย์จะแนะนำให้คุณใช้อุปกรณ์ spacer ที่ใช้ร่วมกับยาพ่นรักษาโรคหอบหืด ซึ่งอุปกรณ์นี้จะทำให้ปอดได้รับยามากขึ้นจนบรรเทาอาการหายใจติดขัดลง

โรคปอดบวม (การอักเสบของปอด) ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการไอและหายใจไม่ออกได้เช่นกัน โดยมากมักเกิดจากการติดเชื้อที่สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

หากคุณเป็น COPD  อาการหายใจติดขัดมักจะเป็นสัญญาณของการทรุดลงของโรคนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถเกิดภาวะหัวใจวายแบบที่ไม่แสดงอาการใด ๆ ก็ได้ เช่นความเจ็บปวดที่หน้าอก หรือความรู้สึกวิตกกังวลรุนแรง

ในกรณีเช่นนี้ อาการหายใจติดขัดจะเป็นเพียงอาการเดียวที่แสดงออกมาก่อนที่หัวใจจะวาย หากคุณหรือแพทย์คาดว่าคุณกำลังจะหายใจวายแบบที่ไม่แสดงอาการ พวกเขาจะให้ยาแอสไพรินกับคุณก่อนจัดให้คุณพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทันที

ภาวะหัวใจล้มเหลวก็ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัดเช่นกัน ภาวะนี้เป็นภาวะอันตรายถึงชีวิตที่ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ และมักจะเป็นเพราะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอหรือแข็งเกินไปที่จะทำงานตามปกติได้ ภาวะนี้ยังทำให้เกิดการสะสมกันของของเหลวภายในปอดซึ่งจะทำให้เกิดอาการหายใจลำบากขึ้นมา

ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและการใช้ยาหรือผ่าตัด จะทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น ซึ่งจะบรรเทาอาการหายใจติดขัดลง

อาการหายใจติดขัดอาจเกี่ยวพันกับปัญหาด้านอัตราการเต้นของหัวใจเช่นกัน อย่างเช่นภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ supraventricular tachycardia)

แพนิคหรือความกังวล

ภาวะแพนิค (panic) หรือความกังวลก็สามารถทำให้คุณหายใจเร็วหรือถี่ขึ้นเช่นกัน คุณสามารถปรับความเร็วการหายใจได้ด้วยการพยายามลดความเร็วขณะหายใจหรือหายใจใส่ถุงกระดาษเพื่อทำให้ภาวะเหล่านี้หายไปเอง แต่ควรจะปฏิบัติเช่นนี้เมื่อคุณมั่นใจว่าอาการหายใจติดขัดเป็นผลมาจากความกังวลจริง ๆ

สาเหตุที่ไม่ปรกติต่าง ๆ

มีดังต่อไปนี้: ปฏิกิริยาแพ้รุนแรง (anaphylaxis) ภาวะปอดรั่ว (pneumothorax): ความเสียหายที่บางส่วนของปอดจนทำให้เกิดการฉีกขาดเล็กน้อยบนพื้นผิวของปอด ซึ่งทำให้อากาศเข้าไปขังอยู่ในช่องว่างรอบปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism): การอุดตันของเส้นเลือดภายในปอด โรคพังผืดในปอดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis - IPF): ภาวะปอดที่หายากและไม่เป็นที่ชัดเจนที่ทำให้ปอดเกิดแผล ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion): การสะสมกันของน้ำข้าง ๆ ปอด ภาวะคิสโตซิส (diabetic ketoacidosis): ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่ทำให้กรดเข้าไปสะสมในเลือดและปัสสาวะ

สาเหตุของอาการหายใจติดขัดระยะยาว

อาการหายใจติดขัดแบบระยะยาวมักเป็นผลมาจาก: ภาวะอ้วนหรือไม่แข็งแรง โรคหอบหืดที่ไม่ได้รับการควบคุม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD): เป็นภาวะเสียหายที่ปอดจากการสูบบุหรี่มานานแรมปี ภาวะโลหิตจาง (anaemia): ระดับออกซิเจนในเลือดที่ต่ำจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดง (haemoglobin) มีน้อย ภาวะหัวใจล้มเหลว: ภาวะที่หัวใจของคุณไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอหรือแข็งเกินไป อาการหายใจติดขัดอาจเกี่ยวพันกับปัญหาด้านอัตราการเต้นของหัวใจเช่นกัน อย่างเช่นภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation หรือ supraventricular tachycardia)

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัดระยะยาวที่พบได้ไม่บ่อยนักมีดังนี้: โรคหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis): ภาวะปอดที่ทำให้หลอดลมขยายใหญ่จนผิดรูปจนทำให้เกิดอาการไอมีเสมหะเรื้อรัง โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (pulmonary embolism): การอุดกั้นซ้ำซากของหลอดเลือดภายในปอด ความเสียหายที่ปอดบางส่วนที่เกิดจากมะเร็งปอด ภาวะน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion): การสะสมกันของน้ำข้าง ๆ ปอด การตีบแคบของลิ้นหัวใจหลัก และจำกัดการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงร่างกาย การประสบกับภาวะแพนิคบ่อยครั้งจนทำให้เกิดอาการหายใจลึกและถี่

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
James Roland, a-dyspnea-shortness-of-breath (https://www.healthline.com/health/dyspnea) June 19, 2017
Danielle Dresden, a-dyspnea-shortness-of-breath (https://www.medicalnewstoday.com/articles/314963.php) July 23, 2018
webmd.com, a-dyspnea-shortness-of-breath (https://www.webmd.com/lung/shortness-breath-dyspnea#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)