ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
เขียนโดย
ทีมแพทย์แผนไทยประยุกต์ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

9 สมุนไพรแก้ผมร่วง

แนะนำวิธีบรรเทาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ด้วยการใช้สมุนไพร 9 ชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
9 สมุนไพรแก้ผมร่วง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคผมร่วง เป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การขาดสารอาหาร วิตามิน หรือแร่ธาตุบางชนิด การสัมผัสสารเคมี หรือยาบางชนิด
  • มีสมุนไพรหลายชนิดที่ช่วยรักษาโรคผมร่วงได้ เช่น ใบชะคราม มีส่วนช่วยรักษารากผม ล้างสารพิษจากมงภาวะ เร่งให้เส้นผมยาวเร็วขึ้น
  • ว่านหางจระเข้ และอัญชัน เป็นสมุนไพรยอดนิยมในการบำรุงผิวกับผม โดยว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณเพิ่มความชุ่มชื้นให้เส้นผม ทำให้ผมไม่แตกแห้ง กระตุ้นรากผมให้แข็งแรง ส่วนอัญชัน มีประโยชน์ช่วยให้ผมดำเงางม มีน้ำหนัก
  • ใบสมุนไพรอย่างใบชะคราม ใบหมี่ ใบมะกรูด ใบบัวบก ก็มีประโยชน์มากมายต่อการรักษาโรคผมร่วงหลายอย่าง เช่น ล้างสารพิษที่หนังศีรษะ รักษารากผมให้แข็งแรง ไม่ขาดง่าย ช่วยกำจัดเหา ลดการหลุดร่วงของเส้นผม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง

ปัญหาผมร่วง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย โดยปกติคนเราจะผมร่วงเฉลี่ยวันละ 100 เส้น แต่ถ้าสระผม ปริมาณผมที่ร่วงจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หากมีผมร่วงมากกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดผมบาง และศีรษะล้านตามมาได้ 

สาเหตุที่ทำให้ผมร่วง

โดยปกติกระบวนการงอกใหม่ และการหลุดร่วงของเส้นผมจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน เพียงแต่การงอกใหม่จะสังเกตได้ช้ากว่า เนื่องจากเส้นผมจะยาวขึ้นวันละ 0.35 มิลลิเมตรเท่านั้น สาเหตุส่วนมากที่ทำให้เกิดโรคผมร่วง ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปลูกผม รักษาผมร่วงวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 484 บาท ลดสูงสุด 89%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวผมร่วงมาก หรือศีรษะล้าน ก็มีโอกาสที่จะผมร่วงด้วยเช่นกัน
  2. การได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยอาจเป็นธาตุสังกะสี ธาตุเหล็ก หรือกลุ่มวิตามินไบโอติน ที่พบมากในเนื้อสัตว์ ตับ ไข่ อาหารทะเล ผักใบเขียว ตระกูลถั่ว ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม
  3. การสัมผัสสารเคมี และการรับประทานยาบางชนิด หรือการแพ้ยาอย่างรุนแรง อาจทำให้ผมร่วงมากกว่าปกติได้
  4. การติดเชื้อโรคที่หนังศีรษะ เช่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
  5. มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนสูง (Hyperthyroid) ทำให้กระบวนการการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายแปรปรวน เนื่องจากการผลิตฮอร์โมนที่น้อย หรือมากจนเกินไป

นอกจากการไปรับบริการตรวจสุขภาพผม ปลูกผม หรือทรีตเม้นต์บำรุงผมแล้ว คุณยังสามารถรักษาอาการโรคผมร่วงได้ด้วยการใช้สมุนไพรต่างๆ ดังนี้

9 สมุนไพรแก้ผมร่วง

1. ใบชะคราม

ใบชะคราม (Seabite) มีสรรพคุณช่วยรักษารากผมให้แข็งแรง ลดการเกิดอาการคันหนังศีรษะ ช่วยล้างสารพิษจากมลภาวะสิ่งแวดล้อม และสารเคมีที่คุณอาจไปสัมผัสโดยไม่รู้ตัว และยังช่วยเร่งให้เส้นผมยาวเร็วขึ้น

วิธีใช้ใบชะครามในการแก้ผมร่วง คือ นำใบชะครามประมาณ 1 กำมือไปต้มน้ำให้สะอาดพอเดือด จากนั้นกรองน้ำจากใบด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำไปผสมกับแชมพูเด็ก หรือหมักน้ำใบชะครามก่อนสระผมด้วยแชมพูทั่วไปประมาณ 15-20 นาที

2. ใบหมี่

สารเมือกจากใบหมี่มีส่วนช่วยบำรุงหนังศีรษะ และเส้นผมได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยกำจัดเหา ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ป้องกันการเกิดรังแค และเชื้อรา อีกทั้งยังช่วยรักษาโรคกลอกเกลื้อนบนหนังศีรษะ และช่วยปกป้องผมจากสารเคมี มลภาวะที่คุณพบเจอในชีวิตประจำวัน 

วิธีใช้ใบหมี่ในการบำรุงเส้นผมเริ่มจากตำให้ละเอียด นำไปต้มนำสะอาดพอเดือด แล้วกรองน้ำที่ได้จากการต้มด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำไปผสมกับแชมพู หรือนำไปสระผมได้เลยด้วยน้ำต้มที่เย็นแล้ว

3. อัญชัน

อัญชัน (Butterfly pea) มีสรรพคุณทำให้ผมดกดำ ดูเงางามมีน้ำหนัก นี่จึงเป็นสาเหตุที่แชมพูหลายๆ ยี่ห้อมักนำอัญชันมาเป็นส่วนประกอบของแชมพู หรือน้ำยาย้อมผมด้วย นอกจากนี้อัญชันยังช่วยป้องกันการเกิดรังแค และเชื้อราได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีใช้อัญชันในการบำรุงเพื่อรักษาผมร่วงเริ่มจากนำดอกอัญชันประมาณ 15 ดอกไปล้างแล้วตำให้ละเอียดกับน้ำสะอาด แล้วกรองน้ำอัญชัญที่ได้กับน้ำมันมะกอก 1 ช้อนชา หมักน้ำที่ผสมแล้วทั่วหนังศีรษะ ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก ทำแบบนี้สัปดาห์ละ 2 ครั้งหลังสระผม

ยังมีวิธีใช้อัญชันรักษาผมร่วงอีกสูตร ผ่านการใช้ใบหมี่เป็นส่วนผสมด้วย โดยนำดอกอัญชันประมาณ 1 กำมือ ต้มน้ำให้สะอาดหนึ่งส่วนสี่ของหม้อให้พอเดือด นำใบหมี่ 1 กำมือไปล้าง และปั่นให้ละเอียด จากนั้นผสมทั้ง 2 ให้เข้ากัน กรองน้ำได้จากส่วนผสมด้วยผ้าขาวเพื่อนำไปผสมกับแชมพู

4. ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) สามารถช่วยบำรุงหนังศีรษะ เพิ่มความชุ้มชื้นให้เส้นผม ทำให้เส้นผมไม่แตกแห้ง หรือกรอบง่ายจากการสัมผัสสารเคมี หรือโดนความร้อน นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังช่วยกระตุ้นรากผมที่เกิดขึ้นให้แข็งแรง ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้บนหนังศีรษะง่าย

วิธีรักษาโรคผมร่วงด้วยว่านหางจระเข้ เริ่มจากนำใบว่านหางจระเข้สดมาปอกเปลือก นำไปล้างน้ำสะอาดเพื่อเอายางสีเหลืองออก ให้เหลือเพียงส่วนของเมือกกับเนื้อวุ้นสีขาวใส แล้วนำมาพอกกับเส้นผมที่เปียกพอหมาดทั่วหนังศีรษะประมาณ 15-20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

ข้อควรระวังในการใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรคผมร่วง คือ ต้องล้างเอายางสีเหลืองออกจากวุ้นว่างหางจระเข้ให้หมด มิฉะนั้นอาจเกิดอาการระคายเคืองผิวได้

5. ใบมะกรูด 

ใบมะกรูด (Citrus) มีส่วนช่วยลดรังแค ลดการขาดของเส้นผม บรรเทาอาการคันหนังศีรษะ ทำให้ผมนุ่มลื่นเงางาม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีใช้ใบมะกรูดในการรักษาโรคผมร่วง คือ หั่นใบมะกรูดที่ล้างน้ำสะอาดแล้วเป็นชิ้นเล็กๆ นำเมล็ดในใบออกแล้วนำไปต้มน้ำให้พอเดือด ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วปั่นให้ละเอียด จากนั้นกรองน้ำด้วยผ้าขาวบาง เคี่ยวต่อด้วยไฟอ่อนประมาณ 10-15 นาที รอให้น้ำเย็นแล้วนำไปสระผมได้เลย 

เนื่องจากใบมะกรูดมีค่าความเป็นกรดสูง อาจทำให้หนังศีรษะระคายเคืองได้ จึงควรใช้เพียงสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งเท่านั้น และหากใช้แล้วแสบหนังศีรษะ ก็ให้ผสมน้ำใบมะกรูดกับน้ำเปล่าให้เจือจางหน่อย

6. มะคำดีควาย 

มะคำดีควาย (Soap nut) ใช้รักษาอาการชันนะตุ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อบนหนังศีรษะ โดยเป็นผลมาจากการติดเชื้อรา วิธีใช้มะคำดีควายรักษาโรคผมร่วง จะทำโดยทุบผลมะคำดีควาย 3-5 ให้พอแตก แล้วต้มกับน้ำสะอาดประมาณ 1 ถ้วย จากนั้นกรองแต่น้ำต้มออกมา แล้วปล่อยให้เย็น

จากนั้นทาน้ำให้ทั่วหนังศีรษะ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ทำแบบนี้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์

7. บอระเพ็ด

ต้นบอระเพ็ด (Tinospora cordifolia) เป็นพืชที่มีสรรพคุณช่วยให้เส้นผมดำเงางาม ช่วยงดผมหงอกก่อนวัยอันควร ช่วยให้เส้นผมแข็งแรงไม่หลุดร่วงง่าย ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง 

วิธีการใช้ต้นบอระเพ็ดรักษาโรคผมร่วง คือ ให้นำเถาบอระเพ็ดผสมกับน้ำซาวข้าว แล้วตำให้ละเอียด จากนั้นกรองเอาแต่น้ำที่ได้มาหมักผมทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จากนั้นสระผมตามปกติได้ ให้ทำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

8. ใบบัวบก 

ใบบัวบก (Gotu kola) สามารถช่วยบำรุงรากผมได้ดี อีกทั้งช่วยชะลอการเกิดผมหงอกก่อนวัยอันควร ช่วยต้านการเกิดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียบนหนังศีรษะ 

คุณสามารถใช้ใบบัวบกในการรักษาโรคผมร่วงโดยการต้มใบบัวบกกับน้ำสะอาด แล้วปั่นให้ละเอียด จากนั้นนำน้ำมาเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว จนเมื่อน้ำระเหยเหลือแค่น้ำมัน ให้นำน้ำมันมาชโลมทั่วหนังศีรษะแล้วหมักไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออก 

อีกสูตรการรักษาโรคผมร่วงของใบบัวบก คือ การหมักใบบัวบกกับบอระเพ็ดอย่างละ 1 กำมือ นำมาปั่นให้ละเอียดแล้วใช้ผ้าขาวกรองเอาแต่น้ำไปต้มด้วยไฟอ่อน จากนั้นให้เคี่ยวประมาณ 15-20 นาทีแล้วทาชโลมบนหนังศีรษะ แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที ทำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

9. ขิง

ขิง (Ginger) มีส่วนช่วยบำรุงหนังศีรษะ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม ป้องกันการเกิดรังแค ช่วยให้ผมมีน้ำหนัก เงางามอย่างเป็นธรรมชาติ โดยนำขิงแก่มาทุบพอแตก นำไปอังไฟให้มีน้ำมันออกมา จากนั้นนำน้ำมันขิงมาชโลมหนังศีรษะทิ้งไว้ก่อนสระผมประมาณ 20 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ปัจจุบันมีการแปรรูปสมุนไพรต่างๆ ให้อยุ่ในรูปแบบยาสระผมที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ทำให้นำมาใช้ได้สะดวกยิ่งขึ้น 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณควรอ่านฉลากก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรทุกครั้ง เนื่องจากอาจมีส่วนประกอบที่เป็นสารเคมี น้ำหอม สารกันเสีย หรือสารที่ช่วยทำให้เกิดฟอง อาจทำให้เกิดอาการแพ้ หรือทำให้ผมร่วงมากขึ้นได้ 

และหากผมร่วงอย่างผิดปกติ หรือทดลองรักษาด้วยสมุนไพรแล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปลูกผม FUE คืออะไร เจ็บมั้ย น่ากลัวรึเปล่า ตอบทุกคำถามโดยแพทย์เฉพาะทาง | HDmall
รีวิว ปลูกผมแบบ Hair stem micro transplant ที่ APEX Medical Center | HDmall
รีวิวปลูกผมด้วยเทคนิค FUE ที่ Grow & Glow Clinic | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปลูกผม รักษาผมร่วง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โอภาส เชฎฐากุล, เกษตรกรรมธรรมชาติ, ผมสวยด้วยสมุนไพร (http://lib3.dss.go.th/fulltext/techno_file/CF24/CF24_A50.pdf), 2544.
อุมาภัณฑ์ เอี่ยมศิลป์, อุษณีย์ อนุวรรตวรกุล, การสกัดมะคำดีควาย (Sapindus rarak) เพื่อใช้ในแชมพูสระผม (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/service-research-special-abstract.php?num=32&year=2539), 2539.
สุนิสา ไทยจินดา, กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่, ผมร่วง และศีรษะล้าน (c), 26 ธ.ค. 2551.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป