กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับช่องคลอดเมื่อคุณเพิ่งคลอดลูก

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นกับช่องคลอดเมื่อคุณเพิ่งคลอดลูก

ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่เว้นแม้แต่บริเวณช่องคลอด โดยเฉพาะหลังจากที่ผู้หญิงเพิ่งคลอดลูกได้ไม่นาน แม้ว่าเราไม่สามารถห้ามหรือหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายหลังมีลูก แต่เราจำเป็นต้องรู้ว่าช่องคลอดจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้เข้าใจ และรับมือกับมันได้ค่ะ สำหรับสิ่งที่คุณอาจต้องเผชิญหลังจากคลอดลูกมีดังนี้

1. บอกลาแทรมโพลีน

หลังจากที่คุณคลอดลูก คุณอาจต้องบอกลาแทรมโพลีน หรือต้องใช้แผ่นอนามัยขณะออกกำลังกาย เพราะในช่วงนี้คุณอาจประสบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งจะทำให้มีปัสสาวะเล็ดออกมาในขณะทำกิจรรมที่ทำให้เกิดแรงกดบริเวณช่องท้อง ทั้งนี้ Dr. Alyssa Dweck สูตินรีแพทย์ แนะนำให้ออกกำลังกายชนิดที่เรียกว่า Kegel exercises เพื่อทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง ลดน้ำหนัก และทำให้ร่างกายได้เยียวยาหลังคลอดลูก นอกจากนี้การผ่าตัด หรือการทานยาก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. การออกกำลังกายจะทำให้เซ็กส์กลับมาเร่าร้อนอีกครั้ง

การตั้งครรภ์ และการคลอดลูกทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานตึงเครียด ซึ่งอวัยวะดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ให้กำเนิดลูก และทำให้มีเซ็กส์ที่ดี ดังนั้นคุณควรทำให้อุ้งเชิงกรานกลับมาแข็งแรงและมีรูปร่างที่ดีเยี่ยม เพื่อไม่ให้เซ็กส์มีปัญหา ทั้งนี้นอกจากการไปพบแพทย์ หรือออกกำลังกายท่าที่ช่วยบริหารอุ้งเชิงกรานแล้ว คุณก็อาจใช้แอพพลิเคชั่น Elvie ที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงและตึงขึ้น

3. ช่องคลอดแห้ง

ไม่ว่าคุณจะมีอารมณ์ทางเพศมากแค่ไหนก็ตาม หรือแม้ว่าจะถึงเวลาที่แพทย์อนุญาตให้คุณและสามีกลับมามีเซ็กส์ได้อีกครั้งหลังคลอด แต่ช่องคลอดของคุณก็อาจแห้ง ซึ่งปกติแล้วจะไม่เกินกว่า 6 สัปดาห์หลังคลอด เพราะระดับของฮอร์โมนอาจยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะถ้าคุณกำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก ดังนั้นหากคุณจะกลับคืนสู่สังเวียนรักอีกครั้ง คุณอาจต้องใช้สารหล่อลื่น หรือครีมเอสโตรเจนช่วยอีกแรง

4. อาจจำช่องคลอดของตัวเองไม่ได้

การมีสีของช่องคลอดที่เปลี่ยนไปหลังคลอดถือเป็นเรื่องที่ปกติมาก เพราะหลังจากที่คลอดลูก เม็ดสีบริเวณช่วงล่างของร่างกายจะมีสีเข้มขึ้น โดยเฉพาะรอบๆ แคม และบริเวณที่อยู่ระหว่างทวารหนักและช่องคลอด อย่างไรก็ตาม สีของช่องคลอดที่ไม่เหมือนเดิมนั้นไม่ใช่เรื่องอันตราย ซึ่งมักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่หากฮอร์โมนกลับมาอยู่ในระดับที่เสถียร ช่องคลอดของคุณก็อาจกลับมามีสีเหมือนกับก่อนคลอดลูก

5. มีกลิ่นเหม็น

หลังจากที่คุณคลอดลูกในทันที หรือหลังจากผ่านพ้นไป 6-8 สัปดาห์ คุณก็อาจมีน้ำคาวปลาออกมาจากช่องคลอดเป็นปริมาณมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่มดลูกกำจัดออกมา และมันอาจมีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย แต่หากมีกลิ่นเหม็นแบบรุนแรง การไปพบแพทย์ก็เป็นทางเลือกที่ดี

6. ช่องคลอดจะซ่อมแซมตัวเอง

สิ่งที่ช่องคลอดสามารถทำ หรือทนทานได้นั้นเกือบจะเป็นเรื่องที่เหนือธรรมชาติ ทั้งนี้ช่องคลอดมีเลือดไปหล่อเลี้ยงมากมาย และมันจะฟื้นตัวได้ดีและรวดเร็วมากกว่าบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย เพียงแต่จะไม่กลับมาเป็นเหมือนเช่นเคยได้เต็มร้อย

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่เพิ่งคลอดลูก หากพบว่าตัวเองมีอาการตามที่เรากล่าวไป คุณก็ไม่ต้องตกใจค่ะ เพราะมันถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากร่างกายผิดปกติต่อเนื่อง หรือมีอาการบางอย่างที่ไม่มีทีท่าว่าจะหายไป การไปตรวจร่างกาย หรือพบแพทย์ก็เป็นวิธีที่ดีค่ะ

ที่มา: https://www.cosmopolitan.com/u...


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vaginal Delivery Recovery: How To Avoid Postpartum Issues. WebMD. (https://www.webmd.com/parenting/baby/recovery-vaginal-delivery#1)
What Happens to Your Vagina After You Give Birth. Health.com. (https://www.health.com/condition/pregnancy/vagina-after-pregnancy)
Vagina changes after childbirth. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/sexual-health/vagina-changes-after-childbirth/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม