6 นิสัยช่วงดึกที่ส่งผลเสียต่อการนอน

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 นิสัยช่วงดึกที่ส่งผลเสียต่อการนอน

อย่างที่เราทราบกันดีว่า การนอนหลับให้เพียงพอเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การนอนน้อย หรือไม่เต็มอิ่ม สามารถส่งผลทั้งต่อร่างกายและจิตใจในไม่ช้าก็เร็ว อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อการนอน โดยเฉพาะการกระทำบางอย่างที่คุณอาจชอบทำช่วงดึก แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1.ดูโทรทัศน์

การดูโทรทัศน์เป็นกิจกรรมช่วงดึกที่ได้รับความนิยมมาก และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้เวลาดูโทรทัศน์ 2-3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน แต่ปัญหาก็คือ การดูโทรทัศน์สามารถทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า หนี้การนอนเรื้อรัง (Chronic Sleep Debt ) ซึ่งนักวิจัยพบว่า ผู้หญิงและผู้ชายมีแนวโน้มที่จะตื่นสายและไปทำงานสายกว่าปกติ เพราะร่างกายพยายามชดเชยเวลานอนให้สำหรับช่วงกลางคืน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.คุยโทรศัพท์

สมาร์ทโฟนอาจมีประโยชน์มากมาย แต่มันก็อาจทำให้คุณมีปัญหากับการนอน มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า รังสีปริมาณเล็กน้อยที่ออกมาจากโทรศัพท์มือถือสามารถทำให้คุณมีปัญหากับการนอน คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือพบว่าตัวเองปวดศีรษะมากขึ้น นอนหลับได้ยากขึ้น ต้องใช้เวลาในการเข้าสู่ระยะนอนหลับลึกที่มีคุณภาพนานขึ้น ทางที่ดีคุณควรหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน

3.ทานอาหาร

นอกจากการทานอาหารมื้อดึกจะส่งผลต่อรอบเอวของคุณแล้ว  มีงานวิจัยจากบราซิลพบว่า การทานขนมช่วงดึกสามารถนำไปสู่การนอนที่ไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการตื่นนอนบ่อย ทั้งนี้อาหารที่มีน้ำตาลสูงสามารถทำให้คุณได้รับพลังงานที่ไม่จำเป็น ในขณะที่การทานอาหารรสเค็มทำให้คุณรู้สึกกระหายน้ำ ส่วนอาหารเผ็ดทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่รบกวนวงจรการนอนได้ทั้งสิ้น

4.เล่นอินเตอร์เน็ต

ชาวอเมริกันประมาณ 60% ใช้คอมพิวเตอร์ภายใน 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ซึ่งโชคร้ายที่มันส่งผลเสียต่อการนอน แสงไฟจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ไม่เพียงแต่ทำให้คุณตื่นตัวเท่านั้น แต่มันยังไปยับยั้งฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการนอนอย่างเมลาโทนิน สิ่งที่จะตามมาคือ คุณจะนอนน้อยลงและรู้สึกเหนื่อยมากขึ้น

5.ดื่มแอลกอฮอล์

หากคุณคิดว่าการดื่มแอลกอฮอล์สามารถช่วยให้คุณนอนหลับเต็มอิ่ม คุณคิดผิดแล้ว เพราะการดื่มแอลกอฮอล์ป้องกันไม่ให้คุณนอนหลับได้สนิทตลอดคืน ซึ่งคุณอาจไม่ทันรู้ตัว ทั้งนี้มีงานวิจัยของชาวไอริชพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อย ก็สามารถส่งผลต่อจำนวนชั่วโมงการนอน โดยเฉพาะในครึ่งหลังของช่วงกลางคืน ถ้าเป็นไปได้คุณควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน

6.ไม่ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ

การเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และการมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายอาจบรรเทาลงเมื่อคุณนอนหลับอย่างเพียงพอ และปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันเล็กน้อย ซึ่งการมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้นมักจะทำให้เรานอนน้อยลง อย่างไรก็ดี การออกไปรับแสงจากธรรมชาติถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ดี

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คุณจะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอน โดยเป็นได้ตั้งแต่เรื่องพื้นๆ อย่างการดูโทรทัศน์ไปจนถึงการดื่มแอลกอฮอล์ หากคุณกำลังมีปัญหานอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิทตลอดคืน การหลีกเลี่ยงสิ่งที่เรากล่าวไปก็อาจทำให้ปัญหาที่เกี่ยวกับการนอนหมดไป

ที่มา: https://www.mensjournal.com/he...


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Napping and Sleeping at Night. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-do-naps-affect-sleep-at-night-3014731)
Mayo Clinic Staff. (2017). Sleep tips: 6 steps to better sleep. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/sleep/art-20048379)
17 Proven Tips to Sleep Better at Night. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/17-tips-to-sleep-better)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)