5 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับนมแม่

เจ็บหัวนมเมื่อให้ลูกดูดนมเกิดจากอะไร น้ำนมน้อยไหมหากเต้านมเล็ก รวมคำตอบคลายกังวลของคุณแม่
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
5 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับนมแม่

เชื่อว่าคุณแม่หลายๆ คนคงอยากจะเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ แต่ก็ยังมีความเชื่ออีกหลายข้อที่เคยเชื่อ หรือเคยได้ยิน หรือเขาบอกว่า (เขาไหนก็ไม่รู้) เกี่ยวกับนมแม่ วันนี้มาทำความรู้จักกับนมแม่ให้มากยิ่งขึ้นกับคำถามยอดฮิต (ตลอดกาล) เกี่ยวกับนมแม่กัน

1. นมแม่จะมีปริมาณพอเลี้ยงลูกเหรอ

ตามธรรมชาติแล้ว นมแม่นั้นจะผลิตมากหรือน้อย ขึ้นอยู่ว่าได้รับการกระตุ้นจากลูก (การดูดนม) บ่อยแค่ไหน การที่ลูกดูดนมแต่ละครั้งจะเป็นกระตุ้นให้ร่างกายของแม่ผลิตน้ำนมให้มากขึ้นอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่มักจะเกิด ขึ้นจนกลายเป็นเรื่องเล่าขานว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีนมไม่พอให้ลูกกิน เกิดจากสาเหตุสำคัญคือช่วงหลังจากคลอดลูก ลูกไม่ได้ดูดนมจากอกแม่ทันทีต่างหาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตอนคลอดลูกหากเราไม่ได้แจ้งพยาบาลหรือคุณหมอว่าจะเลี้ยงด้วยนมแม่ หลังคลอดลูกแล้วพยาบาลนำลูกของเราไปอาบน้ำ ทำความสะอาด และให้นมผงเลย ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้ลูกติดการกินนมจากขวด ( เพราะดูดง่าย นมออกเยอะ กินทันใจดี) ทำให้เวลามากินนมจากเต้าของแม่ก็จะร้อง หงุดหงิด นอกจากนั้นยังส่งผลต่อร่างกายของแม่ด้วย เพราะหลังคลอดแล้วหากให้ลูกดูดนมแม่ทันที (แม้ว่าจะยังไม่มีน้ำนมออกมา) จะเป็น กระตุ้นร่างกายแบบธรรมชาติให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมา ในต่างประเทศหลายๆ ประเทศเลิกการให้นมผงกับลูกหลังคลอดแล้ว (แม้ว่าตัวคุณแม่จะไม่ได้บอกว่าจะขอเลี้ยงด้วนมแม่) หลังจากอาบน้ำทำความสะอาดแล้ว พยาบาลจะพาลูกกลับมาหาแม่และให้ลูกดูดนมแม่ทันที ซึ่งในปัจจุบันยังมีหลายโรงพยาบาลที่ยังคงทำแบบนี้ (คือให้ลูกเรากินนมผงเลย) ดังนั้นต้องตรวจสอบให้แน่ใจตั้งแต่เนิ่นๆ  อย่าได้ชะล่าใจไปเชียว

คุณแม่ทั้งหลายโปรดจำไว้ว่า ตามธรรมชาติแล้วร่างกายของเราจะผลิตน้ำนมออกมาให้ลูกกินได้อย่างพอเพียงเสมอ (ไม่อย่างนั้นในสมัยก่อนที่นมผงยังไม่มี เด็กแรกเกิดคงจะอดตายกันหมดโลกแล้ว)

เทคนิคอีกอย่างในการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมอย่างเพียงพอคือ ให้ลูกดูดนมทุกๆ 2-3 ชั่วโมงตลอดกลางวันและกลางคืน (ในช่วงแรกๆ) แม้ว่าลูกดูดแล้วจะไม่มีน้ำนมออกมา แต่ก็เป็นการกระตุ้นให้น้ำนมผลิตออก มามากขึ้นและเร็วขึ้น เพราะการผลิตน้ำนมของเต้านมแม่นั้นหากได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอๆ ร่างกายก็จะผลิตน้ำนมออกมาอย่างสม่ำเสมอและมีปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นการนอนหลับพักผ่อน การกินอาหารที่มี ประโยชน์ (ให้ครบ 5 หมู่) และการทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้มากขึ้น หากคุณแม่เหนื่อยกับการดูแลลูกหลังคลอดใหม่ๆ ก็อาจจะหาเวลาพักง่ายๆ ด้วยการนั่งเหยีบดปลายเท้าแบบผ่อนคลายเวลาที่ ลูกนอนหลับก็ได้

นอกจากนั้นอย่าลืมที่จะดื่มน้ำให้มาก คุณแม่ที่ให้นมลูกนั้นควรจะดื่มนมอย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน ควรจะจิบน้ำตลอดวัน และหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เหล้า หรือสูบบุหรี่ เพราะสิ่งที่คุณแม่รับเข้าไป จะมีผลต่อไป ยังน้ำนมของเราด้วย

2. ลูกไม่ชอบดูดนมจากอกแม่ ดูดทีไรร้องไห้งอแง แต่พอให้กินจุ๊บขวดนมก็เงียบ ไม่รู้จะแก้ยังไง

ปัญหาลูก "ติด" การดูดนมจากจุ๊บขวดนม มาจากการที่ผู้ดูแล (หรือตัวคุณแม่เอง) เผลอให้ลูกดูดนมจากขวดนม ซึ่งการดูดนมจากขวดจะแตกต่างจากการดูดนมจากเต้านมแม่แน่นอน เพราะว่าการดูดนมจากจุ๊บของขวด นมจะใช้แรงน้อยกว่า และยังได้น้ำนมมากกว่าด้วย ลูกจึง "ติด" การดูดนมจากขวดนมมากกว่า

ทางแก้ก็คือ อย่าให้ลูกได้ดูดนมจากขวดนมเป็นอันขาด อย่าได้ลองเลย เพราะลูกจะ "ติด" การดูดนมจากขวดนมง่ายกว่า และเลิกยากกว่ามาก จนสุดท้ายจะแก้ไขภายหลังก็ยากและเสียเวลามาก หากเราไม่เคยให้ลูก ดูดนมจากขวดเลย ลูกก็จะพยายามดูดนมจากเต้าเอง (เป็นไปเองตามธรรมชาติ)

หากเกิดปัญหาลูก "ติด" การดูดนมจากขวด จะโทษใครไม่ได้นอกจากโทษตัวเองที่ปล่อยให้ลูกรู้จักกับขวดนมก่อนวัยอันควรนั้นเอง โดยปกติเราจะไม่หัดให้ลูกดูดนมจากขวดในช่วง 4-5 สัปดาห์แรก แต่เมื่อลูกอายุ มากขึ้นก็อาจจะปรับเปลี่ยนให้ลูกรู้จักการดูดจากขวดนมได้บ้าง แต่ก็อาจจะเกิดปัญหาลูก "ติด" ได้ หากเป็นไปได้ก็ควรจะให้ลูกดูดนมจากอกแม่เท่านั้น (ยกเว้นกรณีที่ตัวคุณแม่ป่วย หรือไม่สามารถให้นมลูกได้ ต้องปั้มนมลูก ใส่ขวดอันนี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง)

3. เจ็บหัวนมมากเวลาลูกดูดนม

อาการเจ็บหัวนม หรือหัวนมเป็นแผลเพราะลูกดูดนม หรือลูกขบกัดหัวนมนั้น อาจจะเกิดขึ้นได้จริง แต่ก็สามารถป้องกันได้เช่นกัน ปัญหาที่ลูกกัดหรือขบหัวนม โดยมากเกิดจากการที่ตัวคุณแม่ให้นมในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง โดยตำแหน่งที่ถูกต้องนั้น ปากของลูกจะต้องปิดรอบลานนมได้สนิท ส่วนจุกหัวนมนั้นควรจะอยู่บริเวณตำแหน่งบนกลางลิ้นลูกพอดี ลูกจะใช้ลิ้นดันจุกหัวนม อาการเจ็บหัวนมก็จะไม่เกิดขึ้น แต่หากคุณแม่อุ้มลูกในตำแหน่งที่ ไม่ถูกต้อง (จุกหัวนมไม่ได้อยู่ตำแหน่งบนกลางลิ้น) ลูกก็จะพยายามดูดโดยอาจจะการขบ หรือใช้เหงือกร่วมด้วย จึงเป็นสาเหตุให้เกิดอาการบาดเจ็บได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทางแก้ไขคือ นอกจากจะต้องจัดท่าให้นมให้ถูกตำแหน่งแล้ว หากรู้ว่าไม่ถูกตำแหน่งก็ควรจะหยุดให้นมทันที โดยการเอานิ้วเขี่ยที่มุมปากของลูกเบาๆ โดยธรรมชาติลูกจะหยุดดูดนมและอ้าปากตามเวลาเราเขี่ยที่มุมปากลูก เราก็ค่อยๆ เอานมออกจากปากลูก (อย่ารีบดึงนมออกจากปากลูก เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอาการเจ็บได้) หากเขี่ยที่มุมปากลูกแล้ว ลูกยังไม่ยอมหยุดดูด ก็ให้ใช้นิ้วกดลงบนคางลูก (ค้างไว้สักครู่) ลูกก็จะหยุดและอ้าปากเอง ตามธรรมชาติ นอกจากนั้นอาจจะใช้ครีมลาโนลินเพื่อช่วยลดอาการแตก และควรจะเปลี่ยนข้างในการให้นมลูก แต่หากปวดมากหรือมีไข้ แนะนำปรึกษาแพทย์

4. อาหาร ยา และโรคติดต่ออื่นๆ จะส่งผลถึงน้ำนมที่ลูกกิน

  • จริงหรือเปล่าที่ว่า ถ้าแม่กินของแสลง ของแสลงจะส่งผ่านไปยังน้ำนมด้วย
  • เป็นความเชื่อโบราณที่น่าจะเคยได้ยินมา แต่ความจริงก็คือ อาหารต่างๆ เช่น แกงเลียง, ผักและผลไม้บางชนิด ที่คนโบราณเชื่อว่ากินแล้วจะดี (หรือไม่ดี) ต่อคุณภาพน้ำนมนั้น ความจริงคือ มีผลกระทบน้อยมาก ดังนั้น คุณแม่จึงควรใส่ใจกับการทานอาหารให้ครบถ้วนทุกหมวดหมู่มากกว่าจะไปเฉพาะเจาะจงกับเมนูใดเมนูหนึ่ง

  • ยาที่ทานมีผลส่งต่อกับลูกที่กำลังกินนมแม่หรือไม่
  • มี เพราะยาส่วนใหญ่เกือบทุกชนิด (แม้กระทั่งยาแก้ไอ ยาแก้ปวดบางประเภท) ก็มีผลต่อระบบภายในของคุณแม่ ดังนั้นจะกินยาอะไรก็ควรจะปรึกษาคุณหมอที่ดูแลให้ดีก่อนเสมอ อย่าไปซื้อยากินเอง เพราะ พลาดท่าขึ้นมาจะไม่คุ้มเอา

    สำหรับโรคติดต่อที่ส่งต่อทางน้ำนมแม่นั้น มีอยู่โรคเดียวคือ โรคเอดส์ นั้นก็หมายความว่า หากคุณแม่ท่านใดที่ติดเชื้อ HIV เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว (ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ติด HIV) ก็ไม่แนะนำให้คุณแม่ท่านนั้นเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ เพราะเชื้อ HIV สามารถผ่านจากนมแม่ได้

    ถึงแม้ว่าคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกนั้น จะทานอาหารน้อย หรือทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนตามหลักโภชนาในแต่ละมื้อ ก็อย่าเพิ่งกังวลมากเกินไปว่าน้ำนมที่ให้ลูกกินนั้นจะไม่ได้คุณภาพ เพราะด้วยระบบ ธรรมชาติจะผลิตน้ำนมที่มีสารอาหารที่ลูกต้องการได้อย่างครบถ้วน แต่หากแม่ท่านใดที่ได้รับประทานอาหารอย่างครบถ้วนแล้ว น้ำนมที่ได้ก็จะมีคุณภาพที่ดีกว่า (สารอาหารในปริมาณที่มากกว่า รวมถึงแร่ธาตุอาหารบางชนิด) ดังนั้นทางที่ดีคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูก ก็ควรจะทานอาหารให้ครบถ้วน

5. แม่ที่มีขนาดเต้านมเล็กจะมีน้ำนมน้อยกว่าคนเต้านมใหญ่

เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอีกเรื่องของคนส่วนมาก เพราะเมื่อเพศหญิงคลอดลูกแล้ว แม้ว่าก่อนจะคลอดลูกจะมีขนาดเต้านมที่เล็ก แต่ธรรมชาติก็จะปรับตัวให้เอง นั้นคือเมื่อลูกดูดนมจากอกแม่ เต้านมจะมีการปรับตัวและขยาย ใหญ่ขึ้นเพื่อเก็บปริมาณน้ำนมให้มากขึ้น โดยเต้านมนี้จะขยายใหญ่ขึ้นเองเท่าที่ปริมาณที่ลูกต้องการกินนมอย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าเราเป็นคนอกเล็กจะมีน้ำนมไม่พอเพียงกับลูกของเรา


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)