การที่มีทารกโตอยู่ในครรภ์ มีเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น และแรงโน้มถ่วง สามารถทำให้อาการหน่วงที่ช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
อาการนี้ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่สามเท่านั้นแต่ผู้หญิงบางคนมีรายงานว่ามีอาการดังกล่าวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่หนึ่งและสองได้เช่นกัน
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นอาจจะวินิจฉัยได้ยาก แต่ให้สบายใจได้ว่ามันเป็นเรื่องปกติ ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอาการดังกล่าว วิธีการบรรเทาอาการและเมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบแพทย์
สาเหตุ
การพยายามทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหน่วงในอุ้งเชิงกรานหรือช่องคลอดนั้นไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสมอไป แต่ถ้าหากคุณมีอาการดังกล่าวในช่วงไตรมาสที่สองและสาม มักจะเกิดจากทารกในครรภ์
เมื่อทารกนั้นเจริญเติบโตขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้น ก็จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำหน้าที่พยุงมดลูก ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะและไส้ตรง
เมื่อตั้งครรภ์ไปเรื่อยๆ ทารกของคุณก็จะเริ่มโตจนไปเบียดอวัยวะอื่นๆ สะโพกและอุ้งเชิงกราน ซึ่งก็เป็นการเพิ่มแรงที่กระทำต่อทุกสิ่งด้วยเช่นกัน
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหน่วงในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ก็คือฮอร์โมน relaxin ซึ่งจะช่วยหย่อนเส้นเอ็นเมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดมากขึ้น แต่ก็อาจจะส่งผลต่อข้อต่อที่เชิงกรานเช่นกัน ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดใกล้กับกระดูกเชิงกรานและรู้สึกขาสั่น
แล้วมันส่งผลต่ออะไรบ้าง
ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกนั้นล้วนแต่ได้รับผลกระทบเวลาที่ตั้งครรภ์ และอาการหน่วงนั้นก็มักจะไม่หายไปจนกว่าจะคลอด ในความจริงแล้ว อาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นด้วยซ้ำในช่วงที่ทารกเคลื่อนตัวลงต่ำเพื่อเตรียมคลอด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณอาจจะรู้สึกหน่วงและปวดเล็กน้อยเวลาที่มีการเคลื่อนไหวเนื่องจากการเดิน เดินขึ้นบันได หรือแม้แต่เวลานั่งรถที่ผ่านเนินนั้นจะทำให้ทารกถูกเบียดได้
อาการปวดในระยะแรกของการตั้งครรภ์
หากคุณมีอาการหน่วงที่ช่องคลอดหรืออุ้งเชิงกรานในระหว่างไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรือช่วงต้นของไตรมาสที่ 2 อย่าเพิ่งโทษว่ามาจากทารก ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ ทารกนั้นมักจะตัวเล็กเกินกว่าที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าว แต่มีหลายอย่างที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการได้
อาการปวดในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์นั้นอาจจะเกิดจากการที่มดลูกขยายตัว ควรสังเกตว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่หากมีอาการปวดหน่วงดังกล่าว และถ้าหากมีเลือดออกควรไปพบแพทย์ เพราะอาการปวดหน่วงนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ที่แท้งบุตร
อาการท้องผูกนั้นก็สามารถทำให้รู้สึกปวดหน่วงได้เช่นกัน และเมื่อฮอร์โมนเพิ่มขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ และได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น (จากวิตามินบำรุงครรภ์) จะทำให้ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร อาการหน่วงที่เชิงกรานนั้นอาจจะเป็นอาการที่แสดงว่าร่างกายอยากถ่าย
หากเกิดจากสาเหตุดังกล่าว ควรดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาระบายที่ปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์
วิธีการบรรเทาอาการ
หากต้องการบรรเทาอาการในทันที ให้ลองนอนตะแคงและตั้งสมาธิอยู่ที่การหายใจ หรืออาจจะลองใช้วิธีต่อไปนี้
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเช่นการเอียงและหมุน
- พยายามผ่อนคลายด้วยการแช่น้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำร้อน). หรืออาจจะยืนอาบน้ำฝักบำและให้น้ำเข้าทางด้านหลังก็ได้
- ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงร่างกายขณะตั้งครรภ์ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อพยุงท้องและช่วยบรรเทาอาการที่สะโพก เชิงกรานและหลังส่วนล่าง
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วหากเป็นไปได้ พยายามอย่าบิดเอว แต่ให้ค่อยๆ หมุนร่างกายทั้งหมดไปพร้อมกันอย่างช้าๆ
- พยายามนั่งให้มากที่สุดและยกขาให้สูงถ้าเป็นไปได้
หากคุณออกกำลังกายเป็นประจำก่อนที่จะตั้งครรภ์ อย่าหยุด ให้ปรับตามความจำเป็นแต่ควรจะออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากคุณไม่แน่ใจว่าจะปรับอย่างไรให้ลองถามแพทย์
อาการหน่วง vs ปวด
อาการหน่วงที่ช่องคลอดหรือเชิงกรานนั้นเป็นเรื่องหนึ่งแต่อาการปวดฉับพลันนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง อาการหน่วงที่ท้องน้อยนั้นมีลักษณะคล้ายกับอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน และคุณอาจจะมีอาการปวดหลังส่วนล่างร่วมด้วย
แต่อาการปวดนั้นแตกต่างออกไป หากมีอาการปวดในบริเวณดังกล่าวมักจะเป็นอาการปวดอย่างรุนแรงที่ทำให้คุณเดินลำบากหรือแม้แต่พูดในขณะที่มีอาการ หากมีอาการเช่นนี้ควรไปพบแพทย์ทันที
สาเหตุอื่นๆ ที่ควรไปพบแพทย์ทันทีประกอบด้วย
- ปวดท้องน้อยรุนแรงจนไม่สามารถเดินหรือพูดได้
- ปวดหัวรุนแรง
- เวียนหัว
- มือ ใบหน้า เท้าบวมอย่างฉับพลัน
ควรไปโรงพยาบาลหากมีอาการหน่วงท้องน้อยร่วมกับอาการอื่นๆ เช่นมีไข้ หนาวสั่นหรือเลือดออกทางช่องคลอด
เนื่องจากอาการปวดที่ท้องน้อยในระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาจจะเกิดจากสาเหตุที่เป็นอันตรายได้ เช่นการแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือการคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์เช่นครรภ์เป็นพิษหรือรกลอกตัวก่อนกำหนดนั้นก็สามารถทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้เช่นกันการที่มีทารกโตอยู่ในครรภ์ มีเลือดในร่างกายเพิ่มขึ้น และแรงโน้มถ่วง สามารถทำให้อาการหน่วงที่ช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
อาการนี้ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์เข้าไตรมาสที่สามเท่านั้นแต่ผู้หญิงบางคนมีรายงานว่ามีอาการดังกล่าวตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่หนึ่งและสองได้เช่นกัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวนั้นอาจจะวินิจฉัยได้ยาก แต่ให้สบายใจได้ว่ามันเป็นเรื่องปกติ ต่อไปนี้เป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดอาการดังกล่าว วิธีการบรรเทาอาการและเมื่อไหร่ที่คุณควรไปพบแพทย์
สาเหตุ
การพยายามทำความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหน่วงในอุ้งเชิงกรานหรือช่องคลอดนั้นไม่ได้เป็นเรื่องง่ายเสมอไป แต่ถ้าหากคุณมีอาการดังกล่าวในช่วงไตรมาสที่สองและสาม มักจะเกิดจากทารกในครรภ์
เมื่อทารกนั้นเจริญเติบโตขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้น ก็จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำหน้าที่พยุงมดลูก ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะและไส้ตรง
เมื่อตั้งครรภ์ไปเรื่อยๆ ทารกของคุณก็จะเริ่มโตจนไปเบียดอวัยวะอื่นๆ สะโพกและอุ้งเชิงกราน ซึ่งก็เป็นการเพิ่มแรงที่กระทำต่อทุกสิ่งด้วยเช่นกัน
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการหน่วงในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ก็คือฮอร์โมน relaxin ซึ่งจะช่วยหย่อนเส้นเอ็นเมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดมากขึ้น แต่ก็อาจจะส่งผลต่อข้อต่อที่เชิงกรานเช่นกัน ผู้หญิงบางคนมีอาการปวดใกล้กับกระดูกเชิงกรานและรู้สึกขาสั่น
แล้วมันส่งผลต่ออะไรบ้าง
ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกนั้นล้วนแต่ได้รับผลกระทบเวลาที่ตั้งครรภ์ และอาการหน่วงนั้นก็มักจะไม่หายไปจนกว่าจะคลอด ในความจริงแล้ว อาจจะมีอาการรุนแรงขึ้นด้วยซ้ำในช่วงที่ทารกเคลื่อนตัวลงต่ำเพื่อเตรียมคลอด
คุณอาจจะรู้สึกหน่วงและปวดเล็กน้อยเวลาที่มีการเคลื่อนไหวเนื่องจากการเดิน เดินขึ้นบันได หรือแม้แต่เวลานั่งรถที่ผ่านเนินนั้นจะทำให้ทารกถูกเบียดได้
อาการปวดในระยะแรกของการตั้งครรภ์
หากคุณมีอาการหน่วงที่ช่องคลอดหรืออุ้งเชิงกรานในระหว่างไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์หรือช่วงต้นของไตรมาสที่ 2 อย่าเพิ่งโทษว่ามาจากทารก ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของการตั้งครรภ์ ทารกนั้นมักจะตัวเล็กเกินกว่าที่จะทำให้เกิดอาการดังกล่าว แต่มีหลายอย่างที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการได้
อาการปวดในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์นั้นอาจจะเกิดจากการที่มดลูกขยายตัว ควรสังเกตว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่หากมีอาการปวดหน่วงดังกล่าว และถ้าหากมีเลือดออกควรไปพบแพทย์ เพราะอาการปวดหน่วงนั้นเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ที่แท้งบุตร
อาการท้องผูกนั้นก็สามารถทำให้รู้สึกปวดหน่วงได้เช่นกัน และเมื่อฮอร์โมนเพิ่มขึ้นในระหว่างที่ตั้งครรภ์ และได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น (จากวิตามินบำรุงครรภ์) จะทำให้ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร อาการหน่วงที่เชิงกรานนั้นอาจจะเป็นอาการที่แสดงว่าร่างกายอยากถ่าย
หากเกิดจากสาเหตุดังกล่าว ควรดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง และปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาระบายที่ปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์
วิธีการบรรเทาอาการ
หากต้องการบรรเทาอาการในทันที ให้ลองนอนตะแคงและตั้งสมาธิอยู่ที่การหายใจ หรืออาจจะลองใช้วิธีต่อไปนี้
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานเช่นการเอียงและหมุน
- พยายามผ่อนคลายด้วยการแช่น้ำอุ่น (ไม่ใช่น้ำร้อน). หรืออาจจะยืนอาบน้ำฝักบำและให้น้ำเข้าทางด้านหลังก็ได้
- ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงร่างกายขณะตั้งครรภ์ ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อพยุงท้องและช่วยบรรเทาอาการที่สะโพก เชิงกรานและหลังส่วนล่าง
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วหากเป็นไปได้ พยายามอย่าบิดเอว แต่ให้ค่อยๆ หมุนร่างกายทั้งหมดไปพร้อมกันอย่างช้าๆ
- พยายามนั่งให้มากที่สุดและยกขาให้สูงถ้าเป็นไปได้
หากคุณออกกำลังกายเป็นประจำก่อนที่จะตั้งครรภ์ อย่าหยุด ให้ปรับตามความจำเป็นแต่ควรจะออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากคุณไม่แน่ใจว่าจะปรับอย่างไรให้ลองถามแพทย์