กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไอกรน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 พ.ย. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไอกรน

โรคไอกรน (Whooping cough หรือ pertussis) คือภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอดและทางเดินหายใจที่ติดต่อได้ ภาวะนี้ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังนานสองถึงสามอาทิตย์ขึ้นไป และอาจมีความรุนแรงมากในเด็กเล็กกับทารก

โรคไอกรนแพร่กระจายผ่านทางละอองสารคัดหลั่งที่ออกจากการไอหรือจามของผู้ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของโรคไอกรน

อาการแรกของโรคไอกรนนั้นคล้ายกับไข้หวัด เช่นคัดจมูก ตาแดงและมีน้ำตาไหล เจ็บคอ และมีไข้

อาการไอต่อเนื่องจะเริ่มขึ้นหลังจากผู้ป่วยมีอาการข้างต้นไปแล้วประมาณหนึ่งสัปดาห์

การไอแต่ละครั้งมักจะกินเวลานานไม่กี่นาที และมักจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงกลางคืน

การไอจะขับเอาเสมหะเหนียวข้นออกมา และอาจตามมาด้วยการอาเจียนได้

ระหว่างการไอ คุณหรือลูกของคุณอาจต้องหยุดและหายใจเข้าเสียงดังจนทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่า whooping cough กระนั้นก็ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกรายจะส่งเสียงดังขณะหายใจเข้าเช่นนั้น

แรงไอจะทำให้หน้าของผู้ป่วยแดงมาก และอาจมีการเลือดออกเล็กน้อยใต้ผิวหนังหรือที่ดวงตาของพวกเขา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เด็กเล็กอาจมีใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหากว่าพวกเขาหายใจลำบาก แม้ว่าอาการเช่นนี้จะดูน่ากลัว แต่การหายใจของพวกเขาจะกลับมาเป็นปกติหลังจากนั้นอย่างรวดเร็วเอง

สำหรับทารกที่อายุน้อยมาก ๆ การไออาจจะสังเกตเห็นได้ยาก แต่ก็อาจจะมีช่วงเวลาสั้น ๆ ที่พวกเขาจะหยุดหายใจ

อาการไอมักจะค่อย ๆ มีความถี่น้อยลงและมีความรุนแรงน้อยลงตามกาลเวลา แต่หากต้องใช้เวลานานไม่กี่เดือนกว่าอาการไอจะหายไปโดยสมบูรณ์

ใครมีความเสี่ยงต่อโรคไอกรนมากที่สุด?

โรคไอกรนสามารถเกิดได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย รวมไปถึง:

  • เด็กทารกและเด็กเล็ก: ทารกอายุต่ำกว่าหกเดือนจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคไอกรนมากเป็นพิเศษ
  • เด็กโตและผู้ใหญ่: มักจะมีความรุนแรงไม่มาก แต่ก็อาจก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและน่ารำคาญบ้าง
  • ผู้ที่เคยเป็นโรคไอกรนมาก่อน: โรคนี้จะไม่ทำให้ร่างกายคุณก่อภูมิคุ้มกันขึ้น ทำให้คุณสามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้อีกครั้ง กระนั้นการเจ็บป่วยครั้งใหม่ก็อาจจะมีความรุนแรงน้อยลง
  • ผู้ที่ได้รับวัคซีนไอกรนมาเมื่อยังเด็ก: การป้องกันโรคไอกรนด้วยวัคซีนนั้นมักจะเสื่อมฤทธิ์ไปเองตามกาลเวลา (เพียงไม่กี่ปี)

คุณสามารถติดโรคไอกรนจากผู้ป่วยที่อยู่ใกล้ชิดกับคุณได้ โดยผู้ป่วยจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่หกวันแรกหลังติดเชื้อไปจนถึงสามอาทิตย์หลังจากเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง

การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสามารถลดระยะเวลาแพร่เชื้อของผู้ป่วยลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ควรติดต่อหรือเข้าพบแพทย์หากว่าคุณหรือลูกของคุณ:

  • มีอาการของโรคไอกรน
  • ประสบกับอาการไอยาวนานกว่าสามสัปดาห์
  • ประสบกับอาการไอที่มีความรุนแรงกว่าปกติ หรือทรุดลงเรื่อย ๆ

รีบไปยังศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน (A&E) ที่สถานพยาบาลใกล้เคียงทันทีที่คุณหรือลูกของคุณ:

มีอาการหายใจลำบากค่อนข้างรุนแรง อย่างเช่นหายใจไม่ออกเป็นระยะเวลานานหรือสำลัก ช่วงหายใจสั้น มีช่วงที่หยุดหายใจ หรือผิวหนังเปลี่ยนสีคล้ำจากการขาดอากาศ

เริ่มมีสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนจากโรคไอกรน อย่างเช่นชัก หรือปอดบวม

การรักษาโรคไอกรน

การรักษาโรคไอกรนจะขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาที่ผู้ป่วยติดเชื้อ

เด็กที่อายุต่ำกว่าหกเดือนที่ป่วยรุนแรงกับผู้ที่ประสบกับอาการรุนแรงจะต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้ออยู่ในระยะสามสัปดาห์แรกอาจจะได้รับยาปฏิชีวนะไปรักษาตนเองที่บ้าน โดยยากลุ่มนี้มีเพื่อหยุดการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น ไม่ได้มีเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ จากโรคนี้

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไอกรนนานกว่าสามสัปดาห์ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาโดยเฉพาะ เพราะเป็นช่วงที่ไมสามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นได้ อีกทั้งการใช้ยาปฏิชีวนะก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป

ในขณะที่คุณกำลังพักฟื้นตนเองที่บ้าน ควรพักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน้ำให้มาก ๆ กำจัดเสมหะจากปากของคุณหรือลูก และทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตตามอลหรืออิบูโพรเฟนเพื่อลดไข้

เลี่ยงการใช้ยาแก้ไอเพราะยาเหล่านี้ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก และก็มักจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าไรนัก

การหยุดการแพร่เชื้อโรคไอกรน

หากคุณหรือลูกของคุณกำลังใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมโรคไอกรน คุณต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้แพร่เชื้อแก่ผู้อื่น

  • ลาเรียนหรือหยุดงานไปจนกว่าจะใช้ยาปฏิชีวนะไปแล้วห้าวัน หรือภายหลังประสบกับอาการไอเรื้อรังสามอาทิตย์
  • ปิดปากและจมูกของตนเองหรือลูกของคุณด้วยกระดาษชำระเมื่อต้องไอหรือจาม
  • กำจัดกระดาษชำระที่ใช้แล้วทันที
  • ล้างมือของตนเองหรือลูกของคุณด้วยน้ำและสบู่

สมาชิกในครัวเรือนเดียวกันควรได้รับยาปฏิชีวนะและวัคซีนไอกรนที่ใช้หยุดการติดเชื้อพร้อมกับคุณ

วัคซีนสำหรับโรคไอกรน

จะมีวัคซีนป้องกันโรคไอกรนสามครั้งสำหรับเด็กเล็กและทารกคือ:

  • วัคซีนไอกรนในช่วงตั้งครรภ์: เพื่อป้องกันทารกระหว่างช่วงไม่กี่อาทิตย์หลังจากคลอดออกมา ช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่จะให้วัคซีนครั้งนี้คือช่วงที่ตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์
  • วัคซีน 5-in-1: มีให้กับทารกที่อายุ 8, 12 และ 16 สัปดาห์
  • วัคซีนกระตุ้น 4-in-1: วัคซีนที่ให้กับเด็กที่อายุ 3 ปี 4 เดือน

วัคซีนเหล่านี้ไม่ได้ให้ผลตลอดชีวิต แต่ก็สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อในช่วงที่เด็กมีอายุน้อยกับเด็กที่มีความอ่อนไหวต่อผลของการติดเชื้อได้

สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับวัคซีนตัวนี้ เว้นแต่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือมีโรคไอกรนระบาด

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไอกรน

ทารกและเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่าหกเดือนจะมีความอ่อนไหวต่อโรคไอกรนอย่างมาก พวกเขาจะมีความเสี่ยงต่อ:

  • ภาวะขาดน้ำ
  • หายใจลำบาก
  • น้ำหนักลด
  • ปอดบวม: การติดเชื้อที่ปอด
  • ชัก
  • ปัญหาไต
  • สมองเสียหายที่เกิดจากการขาดออกซิเจน
  • เสียชีวิต (เกิดขึ้นยากมาก) สำหรับอาการของโรคไอกรนในเด็กโตและผู้ใหญ่จะมีความรุนแรงไม่มาก แต่ก็มีความเสี่ยงประสบกับปัญหาเรื้อรังอย่างมีเลือดกำเดาออกจากการไอ ซี่โครงฟกช้ำ หรือไส้เลื่อน เป็นต้น

20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วัคซีน DTP คืออะไร? ฉีดอย่างไร? | HDmall (https://hdmall.co.th/c/what-is-dtp-vaccine).
WHO, Pertussis (Whooping Cough) (https://www.who.int/immunization/diseases/pertussis/en/).
Whooping cough. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/whooping-cough/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)