Palliative Care สามารถทำได้ที่ไหน

ความจริงแล้ว สามารถทำได้ทุกที่
เผยแพร่ครั้งแรก 7 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
Palliative Care สามารถทำได้ที่ไหน

Palliative Care สามารถทำได้ทุกที่ทั้งที่โรงพยาบาล เช่น ผู้ป่วยในไอซียู วอร์ดสามัญ หรือห้องฉุกเฉินและที่บ้าน โดยอาจจะมีการย้ายไปมาระหว่างโรงพยาบาลและบ้าน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจจะอยากอยู่โรงพยาบาลจนใกล้เสียชีวิตแล้วจึงขอย้ายกลับไปอยู่ที่บ้านในช่วงสุดท้ายเพื่อให้ได้อยู่กับครอบครัวแบบพร้อมหน้าพร้อมตา ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องการอยู่ที่บ้านให้นานที่สุด แล้วค่อยขอกลับมาที่โรงพยาบาลในช่วงสุดท้าย เนื่องจากญาติอาจรู้สึกไม่มั่นใจในการดูแลผู้ป่วย สถานที่ที่ผู้ป่วยแต่ละคนต้องการใช้เวลาในการรักษาจึงไม่เหมือนกัน และเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรสอบถามจากผู้ป่วยโดยตรง

จะเห็นได้ว่าในการดูแลผู้ป่วย Palliative Care นั้น มีหลายอย่างที่ผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรทางการแพทย์สามารถ “ทำได้” หากผู้ป่วยและครอบครัว เข้าใจเป้าหมายการดูแลที่เป็นไปเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในเวลาที่เหลืออยู่ และเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งของผู้ป่วยและครอบครัวเอง นอกจากนี้ประสบการณ์จากการดูแลผู้ป่วย Palliative Care จะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง ได้เห็นความจริงและความงามด้านอื่นๆ ของชีวิต เห็นความรักความผูกพัน ความปรารถนาดี และให้อภัยต่อกัน ทำให้ผู้ที่ทำงานด้าน Palliative Care ได้มีโอกาสย้อนกลับมาดูชีวิตของตนเองให้ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทและทำทุกวันให้มีค่ามากที่สุด 

 

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Where you can be cared for. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/end-of-life-care/where-you-can-receive-care/)
What Are Palliative Care and Hospice Care?. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/what-are-palliative-care-and-hospice-care)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)