พ.ญ. บุฑบท พฤกษาพนาชาติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
เขียนโดย
พ.ญ. บุฑบท พฤกษาพนาชาติ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ทำอย่างไรเมื่อเด็กๆ ต้องพบจิตแพทย์

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 20 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 2 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำอย่างไรเมื่อเด็กๆ ต้องพบจิตแพทย์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เด็กที่มาพบจิตแพทย์ไม่จำเป็นต้องป่วยเสมอไป แต่อาจต้องการปรึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง สร้างความมั่นใจ ปรับปรุงสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับเพื่อน หรือบางกรณีอาจมีปัญหาด้านอารมณ์ สมาธิสั้น ซึมเศร้า วิตกกังวล ก็ได้
  • สัญญาณที่บอกว่าควรพาลูกไปพบจิตแพทย์คือ เมื่อลูกร้องขอ เพราะลูกกำลังหาวิธีที่เหมาะกับตัวเอง เมื่อพ่อแม่หรือคนรอบข้างสังเกตได้ เช่น ลูกทำร้ายตัวเอง ก้าวร้าว  หวาดกลัวเกินเหตุ ซึมลง แยกตัว ไม่เล่นกับเพื่อน
  • การเตรียมตัวก่อนพบจิตแพทย์ ควรเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะขอคำปรึกษา เช่น หากสงสัยว่าลูกมีภาวะซึมเศร้า ควรสังเกตพฤติกรรมทั้งที่บ้าน โรงเรียน ขอข้อมูลการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ จากครู 
  • จิตแพทย์มักจะเน้นการพูดคุย ถามประวัติ อาจมีการแยกคุยส่วนตัวเฉพาะกับเด็กหรือผู้ปกครองบางช่วง อาจมีการตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค และวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ปกครอง เช่น พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัด ดนตรีบำบัด
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้ที่นี่

คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจพบว่าลูกมีปัญหาในจิตใจบางอย่าง จนแสดงออกมาทางพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว ซึม ปลีกตัว ไม่ชอบเข้าสังคม ฯลฯ แม้คิดว่าการพบจิตแพทย์น่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม 

แต่คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจไม่ทราบว่าควรจะเริ่มต้นอย่างไร หรือมีความกังวลเพราะไม่ทราบว่าการพาลูกไปพบจิตแพทย์นั้นจะต้องเจอกับอะไรบ้าง จริงๆ แล้วการพาลูกไปปรึกษาแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเลย และแม้กระทั่งเด็กที่อายุน้อยมากๆ ก็อาจต้องการการช่วยเหลือจากจิตแพทย์ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ลูกยังเล็กอยู่เลย ถึงกับต้องพบจิตแพทย์เลยหรือ?

ก่อนอื่น อยากให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจก่อนว่า เด็กๆ ที่มาพบจิตแพทย์นั้นไม่จำเป็นต้องป่วยเสมอไป ปัญหาของเด็กๆ อาจมาในรูปแบบต่างๆ กัน ในบางกรณีอาจต้องการเพียงคำปรึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความมั่นใจ ปรับปรุงสัมพันธภาพระหว่างตัวเองกับเพื่อนๆ หรือในอีกกรณีคือเด็กๆ อาจต้องการความช่วยเหลือเนื่องจากโรคทางจิตเวชจริง เช่น มีปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรม เป็นโรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งการพาเด็กพบจิตแพทย์อย่างทันท่วงทีจะเป็นประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เด็กๆ ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม

การพบจิตแพทย์ แท้จริงคือการสร้างโอกาส

บางครอบครัวอาจยังมีความเชื่อว่า การพบจิตแพทย์เท่ากับเป็นโรคจิต กลัวเด็กจะถูกตีตรา จึงไม่กล้าพามาพบจิตแพทย์ แต่ที่จริงแล้ว การพาเด็กๆ มาพบกับจิตแพทย์นั้นเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้แก้ไขจุดบกพร่อง และสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่

3 ตัวช่วยบ่งบอกว่าลูกควรพบจิตแพทย์

  1. เมื่อลูกร้องขอ ข้อนี้สำคัญมาก เนื่องจากเด็กๆ ยุคนี้ส่วนใหญ่คือนักค้นคว้าตัวยง เมื่อเกิดความผิดปกติกับตัวเอง เขาจะเริ่มสังเกตและค้นข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต เพื่อเปรียบเทียบความเข้ากันได้ของอาการที่ตัวเองเป็น กับโรคต่างๆ ที่เขาหาข้อมูลได้ เพราะฉะนั้นเมื่อลูกร้องขอ จงอย่าเพิกเฉยต่อคำร้องขอนั้น
  2. เมื่อพ่อแม่สังเกตได้ เด็กๆ อาจไม่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาได้ทั้งหมด โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ การใช้ความช่างสังเกตของผู้ใกล้ชิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อพ่อแม่สามารถสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม อารมณ์ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะนำเด็กพบจิตแพทย์และเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตนั้นได้แก่ เด็กมีพฤติกรรมถดถอย ร้องงอแง เอาแต่ใจ ทำร้ายตัวเอง ก้าวร้าว ซน ไม่เชื่อฟัง ดื้อ ต่อต้าน หวาดกลัวเกินเหตุ ซึมลง แยกตัว ไม่เล่นกับเพื่อนๆ เป็นต้น
  3. เมื่อคนรอบข้างมองเห็น หลายครั้งที่พ่อแม่อาจมองข้ามจุดสำคัญๆไปได้เพราะใกล้ชิดกับเด็กมาก การสังเกตของคนรอบข้างจึงอาจมีน้ำหนักในการช่วยเหลือ สำหรับเด็กๆ คนรอบข้างที่สำคัญ คือคุณครู เพราะเด็กส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ที่โรงเรียนเป็นเวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของช่วงที่ตื่นนอน คุณครูจึงเป็นผู้สังเกตการณ์ที่เก่งกาจมากๆ

อยากพบจิตแพทย์จะเริ่มตรงไหนดี?

คุณพ่อคุณแม่ที่สนใจพาลูกไปพบจิตแพทย์ สามารถค้นหาสถานพยาบาลที่มีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย (ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด ตุลาคม 2561 )ได้จาก Facebook Fanpage “ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย” หรือตามลิงก์นี้ https://web.facebook.com/thaichildpsy/ เมื่อเลือกสถานพยาบาลที่สะดวกหรือตรงกับสิทธิการรักษาแล้ว สามารถโทรศัพท์เพื่อนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้าพบได้เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ก่อนพบจิตแพทย์ ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

อันดับแรกคือ ทำใจให้สบาย เตรียมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะนำไปพบจิตแพทย์และขอคำปรึกษา เช่น หากสงสัยว่าลูกมีปัญหาสมาธิสั้น ควรสอบถามข้อมูลจากคุณครู ขอบันทึกพฤติกรรมและผลการเรียน หากสงสัยว่าลูกมีภาวะซึมเศร้า ควรสังเกตพฤติกรรมทั้งที่บ้าน โรงเรียน ข้อมูลการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และข้อสำคัญคือ ผู้ที่พาเด็กไปพบแพทย์ควรเป็นบุคคลใกล้ชิดที่อาศัยอยู่กับเด็ก และทราบข้อมูลของตัวเด็กมากที่สุด

เมื่อพบจิตแพทย์จะต้องเจออะไรบ้าง?

การพาเด็กพบจิตแพทย์ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว โดยทั่วไปจิตแพทย์จะเน้นการพูดคุย สอบถามประวัติ โดยอาจมีการแยกคุยส่วนตัวเฉพาะกับเด็กหรือผู้ปกครองเป็นบางช่วง ตามวิจารณญาณของแพทย์ผู้ให้การรักษา แพทย์จะทำการตรวจประเมินเบื้องต้น อาจมีการตรวจร่างกายหรือส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อการวินิจฉัยและวินิจฉัยแยกโรค เมื่อได้วินิจฉัยโรคแล้ว แพทย์จะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ปกครอง โดยรูปแบบการรักษาขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคและการตัดสินใจร่วมของผู้ปกครอง ทั้งการรักษาด้วยยา การบำบัดในรูปแบบต่างๆ เช่น พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัด ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ

สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ ความสม่ำเสมอในการรักษา เนื่องจากปัญหาทางจิตเวชส่วนใหญ่ต้องอาศัยเวลาในการบำบัดฟื้นฟู ดังนั้น การร่วมมือในการรักษาจึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เด็กๆ กลับสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงปกติได้มากที่สุด

ดูแพ็กเกจปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)