วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ปัสสาวะไม่ออก หนึ่งในอาการเกี่ยวกับการขับถ่ายที่หลายคนเผชิญ

ปัสสาวะไม่ออกเกิดจากอะไร แตกต่างจากปัสสาวะขัดยังไง เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หรือไม่ มาดูกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ปัสสาวะไม่ออก หนึ่งในอาการเกี่ยวกับการขับถ่ายที่หลายคนเผชิญ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การปัสสาวะไม่ออกคือ ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถปล่อยปัสสาวะออกมาได้เลย มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โรคต่อมลูกหมากโต การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง ภาวะเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ภาวะท่อปัสสาวะตีบ
  • ความแตกต่างระหว่างอาการปัสสาวะไม่ออกและปัสสาวะขัดคือ ผู้ป่วยที่ปัสสาวะขัดจะยังปัสสาวะได้บ้าง แต่อาจปริมาณน้อย และมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้องน้อย มีเลือดปนในปัสสาวะ ส่วนอาการปัสสาวะไม่ออกคือ อาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้เลยแม้แต่นิดเดียว
  • ปัจจัยทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่ออกบางอย่างก็ยากต่อการควบคุมไม่ให้เกิด เช่น การใช้ยาบางชนิด กล้ามเนื้อหูรูดเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น การคลอดบุตร
  • การรักษาอาการปัสสาวะไม่ออกจะเป็นการรับประทานยา การใช้สายสวน หรือท่อระบายเพื่อเอาปัสสาวะที่สะสมอยู่ออกมา หรืออาจเป็นการผ่าตัด กรณีที่ไม่สามารถใช้สายสวนได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทุกวัย

การปัสสาวะเป็นการขับถ่ายเอาของเสียออกมาเป็นน้ำทุกวัน วันละประมาณ 3-4 ครั้ง และควรต้องเกิดขึ้นทุกวันเพื่อไม่ให้ร่างกายสะสมของเสียไว้มากเกินไป

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่สุด หรือปัสสาวะไม่ออกเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของอาการปัสสาวะไม่ออก

อาการปัสสาวะไม่ออก (Urinary Retention) คือ ภาวะที่ไม่สามารถปล่อยปัสสาวะออกมาได้ตามปกติถึงแม้จะรู้สึกปวดปัสสาวะอยู่ก็ตาม หรืออาจต้องใช้แรงขับปัสสาวะมากกว่าปกติจึงจะมีปัสสาวะออกมา เป็นอาการที่พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

สาเหตุของอาการปัสสาวะไม่ออก

อาการปัสสาวะไม่ออกมักมีสาเหตุมาจากโรค หรือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder Stone) เกิดจากการสะสมของตะกอนเกลือแร่ในน้ำปัสสาวะ เช่น แคลเซียม กรดยูริค จนกลายเป็นผลึกก้อนอยู่ในทางเดินปัสสาวะ และอุดกั้นไม่ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้ตามปกติ
  • โรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia: BPH) ขนาดของต่อมลูกหมากที่โตขึ้นสามารถไปกัดทับทำให้ท่อปัสสาวะตีบลง ส่งผลให้ผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออกได้
  • การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง (Spinal Cord Injury: SCI) อาการบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังไปจนถึงรากประสาทสามารถส่งผลให้ระบบประสาทที่สั่งการระบบทางเดินปัสสาวะทำงานผิดปกติ จนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้
  • ภาวะท่อปัสสาวะตีบ (Urethral stricture) เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เกิดอุบัติเหตุบริเวณกระดูกเชิงกรานจนส่งผลต่อท่อปัสสาวะ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคหนองใน
  • อาการท้องผูก (Constipation) อุจจาระที่สะสมจนอัดอยู่ในทวารหนักสามารถไปกดท่อปัสสาวะจนทำให้ขับปัสสาวะไม่ออกได้
  • อาการชา (Anethesia) ในกรณีนี้รวมไปถึงการให้ยาชา หรือการดมยาสลบด้วย ซึ่งส่งผลกระทบให้ระบบประสาทที่สั่งการระบบทางเดินปัสสาวะหยุดทำงานชั่วคราว
  • ภาวะเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (Pelvic floor issues) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลั้นปัสสาวะโดยตรง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ เช่น การคลอดบุตร จึงส่งกระทบต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท ทำให้ปัสสาวะไม่ออกได้
  • ภาวะหูรูดท่อปัสสาวะบีบรัดตัวผิดปกติ (Overactive Bladder: OAB) มักพบในผู้ที่เคยผ่าตัดทางทวารหนัก เช่น เป็นริดสีดวงทวาร ไขสันหลังเคยได้รับบาดเจ็บ

อาการปัสสาวะไม่ออก

ผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะไม่ออกมักจะมีระยะเวลาของอาการมากกว่า 1 เดือนไปจนถึงหลายปี และยังอาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นได้อีก เช่น

  • ต้องการปัสสาวะซ้ำอีกครั้ง แม้จะเพิ่งปัสสาวะเสร็จไป
  • ต้องออกแรงขับปัสสาวะมากจึงจะปัสสาวะออก
  • ไม่รู้ว่าตนเองปวดปัสสาวะ ความรู้สึกปวดปัสสาวะขาดหายไป
  • มักปัสสาวะบ่อยภายในระยะเวลาสั้นๆ
  • ปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน
  • ต้องตื่นนอนกลางดึกบ่อยๆ เพื่อปัสสาวะ
  • มีปัสสาวะรั่วไหลระหว่างวัน
  • รู้สึกไม่สบายตัวหลังจากขับปัสสาวะเสร็จ หรือรู้สึกว่า ยังปัสสาวะไม่สุดทั้งๆ ที่ขับปัสสาวะหมดแล้ว
  • อาจพบก้อนอยู่เหนือหัวหน่าวเมื่อกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะเต็มแล้ว แต่ไม่สามารถปัสสาวะออกได้

อาการปัสสาวะไม่ออกที่อยู่ในระยะร้ายแรง และควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ มิฉะนั้นอาจทำให้มีการอุดตันของกระเพาะปัสสาวะมากกว่าเดิม จนลุกลามทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ได้แก่

  • ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้อีก และไม่มีปัสสาวะออกมาเลยแม้แต่นิดถึงแม้จะพยายามเบ่งขับอย่างแรงแล้ว
  • เมื่อต้องการปัสสาวะ จะมีอาการปวดปัสสาวะอย่างรุนแรงผิดปกติ
  • ท้องน้อยบวม หรือรู้สึกเจ็บท้องน้อย

อาการแทรกซ้อนของอาการปัสสาวะไม่ออก

ผู้ที่มีอาการปัสสาวะไม่ออกจนทำให้น้ำปัสสาวะสะสมอยู่ในร่างกายสามารถเกิดอาการไตวายตามมาได้ ซึ่งจะทำให้ระบบการกรองของเสียทำงานบกพร่อง และยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีของเสียในร่างกายสะสมมากกว่าเดิม 

เมื่อของเสียสะสมบางขึ้นๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวซีด มีภาวะเลือดเป็นกรด โพแทสเซียมในเลือดสูง เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลียได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้เพราะน้ำปัสสาวะเป็นของเสีย หากน้ำปัสสาวะยังค้างอยู่ในร่างกายก็ไม่ต่างจากการมีสิ่งสกปรกสะสมอยู่ในร่างกายจึงทำให้เกิดอาการติดเชื้อได้ บางรายอาจปัสสาวะออกมาเป็นน้ำสีขุ่นและมีหนองปน

ผู้ป่วยที่ไม่มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะและมีอาการปัสสาวะไม่ออก ก็อาจเกิดนิ่วในภายหลังได้ เนื่องมาจากน้ำปัสสาวะที่คั่งอยู่ข้างในจะสะสมกลายเป็นก้อนนิ่วในภายหลัง

นอกจากนี้อาจพบภาวะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเบ่งปัสสาวะโตผิดปกติ หรือฝ่อ เกิดกระเปาะในกระเพาะปัสสาวะซึ่งทำให้มีการติดเชื้อได้ง่าย

ความแตกต่างระหว่างอาการกระเพาะปัสสาวะไม่ออกกับอาการปัสสาวะขัด

หลายคนอาจสับสนกับ “อาการปัสสาวะไม่ออก” และ “อาการปัสสาวะขัด”ว่า แตกต่างกันอย่างไร

คำตอบคือ อาการปัสสาวะขัดเป็นอาการที่ผู้ป่วยสามารถปัสสาวะได้บ้าง แต่เป็นไปโดยยาก หรือมีปริมาณปัสสาวะกะปริบกะปรอย นอกจากนี้ปัสสาวะผู้ป่วยยังอาจมีเลือดปน หรือปวดหน่วงท้องน้อยระหว่างปัสสาวะด้วย แต่ก็ยังปัสสาวะออกได้บ้าง

ในขณะที่อาการปัสสาวะไม่ออกนั้น ผู้ป่วยจะไม่สามารถขับปัสสาวะออกมาได้เลย จนทำให้เกิดการคั่งค้างของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีรักษาอาการปัสสาวะไม่ออก

เป้าหมายสำคัญในการรักษาอาการปัสสาวะไม่ออกคือ ปล่อยให้น้ำปัสสาวะที่สะสมอยู่ออกจากร่างกายให้หมด โดยอาจเป็นการใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อเอาน้ำปัสสาวะออกมา

ส่วนผู้ที่มีอาการปัสสาวะไม่ออกซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความผิดปกติ หรือโรคอื่นๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์ก็จะรักษาไปตามอาการโรคนั้นๆ เช่น

  • การรับประทานยาฆ่าเชื้อ ในกรณีปัสสาวะไม่ออกจากภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)
  • การขยายท่อปัสสาวะ แล้วใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อนำปัสสาวะออก ในกรณีเป็นภาวะท่อปัสสาวะตีบ
  • การผ่าตัด ในกรณีที่ไม่สามารถใช้สายสวนได้ หรือมีการอุดกั้นที่ท่อปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะตีบมาก ซึ่งเกิดจากนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ โรคต่อมลูกหมากโต โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือเกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele)
  • การใส่ท่อระบายเข้าไปในท่อปัสสาวะ เพื่อป้องกันการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะในอนาคต
  • การสวนล้างก้อนเลือด ในกรณีที่มีก้อนเลือดไปอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ จากนั้นแพทย์จะใช้ไฟฟ้าจี้เพื่อห้ามเลือด แล้วสวนล้างด้วยน้ำเกลือ

นอกจากนี้หากแพทย์มีการจ่ายยาเพื่อรักษาโรคที่ทำให้เกิดอาการปัสสาวะไม่ออก ผู้ป่วยก็ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเพื่อให้อาการบรรเทาได้เร็วยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการปัสสาวะไม่ออกก็เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่ยากจะควบคุม เช่น

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาหดหลอดเลือด ยาต้านฮิสตามีน
  • การคลอดบุตรซึ่งทำให้บริเวณอวัยวะเพศเกิดบาดแผล
  • กล้ามเนื้อหูรูดเสื่อมสภาพซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้น
  • ความเสียหายของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากบางโรค เช่น โรคเบาหวาน

ดังนั้นหากมีอาการปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะขัด หรือรู้สึกได้ว่า การปัสสาวะผิดปกติไปจากเดิม ให้รีบไปพบแพทย์โดยนำตัวยาที่กำลังรับประทานไปด้วย เพื่อประกอบการวินิจฉัย ที่สำคัญ เมื่อพบแพทย์ควรพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของตนเองอย่างละเอียด จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

นอกจากนี้การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกายยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงของโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะน้อยลง รวมถึงไม่ควรมีพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะเพราะมีโอกาสทำให้ติดเชื้อและเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะตามมาในภายหลัง

อาการปัสสาวะไม่ออกเป็นอาการที่ดูเหมือนไม่รุนแรง นอกจากจะสร้างความรำคาญและทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้แล้ว ยังอาจแฝงภาวะผิดปกติ หรือโรคได้ ดังนั้นจึงเมื่อมีอาการผิดปกติ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ.นพ.ไชยยงค์ นวลยง, ช่วยด้วย! ปัสสาวะไม่ออก (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1290), 1 กรกฎาคม 2563.
Sliwinski, A; D'Arcy, FT; Sultana, R; Lawrentschuk, N (April 2016). "Acute urinary retention and the difficult catheterization: current emergency management". European Journal of Emergency Medicine. 23 (2): 80–8. doi:10.1097/MEJ.0000000000000334. PMID 26479738.
Shilpa Amin, What to know about urinary retention (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327417#1), 1 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม