กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อารมณ์แปรปรวนเกิดจากอะไรได้บ้าง ? มาดูกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อารมณ์แปรปรวนเกิดจากอะไรได้บ้าง ? มาดูกัน

เคยไหมกับการมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ จนทำให้คนรอบข้างพลอยทำตัวไม่ถูก ? มีหลายสิ่งที่สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ตลอดทั้งวัน และในบางครั้งการมีอารมณ์แปรปรวนสามารถเป็นอาการของการป่วยเป็นโรคทางจิต หรือเป็นการบอกใบ้ว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้นกับร่างกายของคุณ เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้คุณมีอารมณ์ไม่เสถียร

อารมณ์แปรปรวนเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

1. ความเครียดและความวิตกกังวล

การตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด และการเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ประหลาดใจ ล้วนแต่เปลี่ยนอารมณ์ของคุณได้ค่ะ เมื่อคุณอยู่ในช่วงอ่อนไหวง่าย คุณก็อาจตอบสนองต่อสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นหรือบ่อยมากกว่าคนอื่น นอกจากนี้ บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่สบายใจ กลัว และกังวลโดยไม่มีเหตุผล ถ้าคุณไม่สามารถควบคุมความกังวลของตัวเองในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยอย่างการมีปัญหากับการนอน ไม่แน่ว่าคุณอาจเป็นโรควิตกกังวล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. โรคไบโพลาห์

คนที่เป็นโรคไบโพลาห์มีอารมณ์ที่ขึ้นและลงอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นนานกว่าการมีอารมณ์แปรปรวนแบบทั่วไป นอกจากนี้ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการคึกมากถึงขนาดใช้เวลาหลายวันไปกับงานปาร์ตี้ ไม่นอน พูดมาก และทำเรื่องบ้าระห่ำ ซึ่งอาการที่ว่านี้คือช่วงที่อารมณ์ดีมากกว่าปกติ โดยจะเกิดสลับกับช่วงซึมเศร้า ทั้งนี้มีการค้นพบว่า ในแต่ละปีชาวอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่กว่า 3 % เป็นโรคไบโพลาห์

3. โรคซึมเศร้า


คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เช่นกัน พวกเขาจะรู้สึกเศร้า แล้วก็กลับมารู้สึกปกติ แต่จะไม่คึกเท่ากับคนที่เป็นโรคไบโพลาห์ ผู้ป่วยอาจรู้สึกแย่ในตอนเช้า และกลับมาร่าเริงในช่วงอื่นของวัน ถ้าคุณรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง และกระสับกระส่ายมากกว่า 2 สัปดาห์ การไปพบแพทย์ก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

4. ภาวะบุคลิกผิดปกติแบบก้ำกึ่ง

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีการเปลี่ยนอารมณ์แบบฉับพลันและรุนแรง เช่น จากวิตกกังวลเป็นโกรธ หรือจากซึมเศร้าเป็นวิตกกังวล แต่อาการไม่ได้รุนแรงเท่ากับคนที่เป็นโรคไบโพลาห์ ทั้งนี้คนที่ตกอยู่ในภาวะบุคลิกผิดปกติแบบก้ำกึ่งจะไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้ดี นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจต้องการทำร้ายตัวเองเมื่อรู้สึกไม่มั่นคงและโกรธ

5. โรคสมาธิสั้น

ในบางครั้ง การมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้อน และรู้สึกท้อแท้ง่ายสามารถเป็นอาการของโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการกระสับกระส่าย ย้ำคิดย้ำทำ และไม่มีสมาธิ

6. มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ฮอร์โมนเพศมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ ดังนั้นหากระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนไป มันก็สามารถทำให้อารมณ์แปรปรวนได้ค่ะ จึงไม่แปลกที่เราจะพบอาการที่ว่านี้ในวัยรุ่น ผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน คนท้อง และผู้หญิงหลังวัยทอง ซึ่งเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนเพศของผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเสถียรจนกระทั่งอายุ 30 ปี และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะเริ่มลดลงทีละนิด ซึ่งผู้ชาย 1/3 ที่มีอายุ 75 ปี และมากกว่านี้มีระดับของเทสโทสเตอโรนต่ำ และนั่นก็สามารถทำให้อารมณ์แปรปรวน หย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีปัญหากับการนอน และมีอาการร้อนวูบวาบ

หากการมีอารมณ์แปรปรวนไปขัดขวางการทำงาน ความสัมพันธ์ หรือส่วนใดๆ ของชีวิต คุณควรรีบนัดแพทย์เพื่อค้นหาว่าอะไรคือต้นเหตุที่ทำให้คุณมีอาการอย่างที่ว่า สำหรับวิธีง่ายๆ ที่อาจช่วยรับมือกับอารมณ์แปรปรวนในระดับเบา ตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การฟังเพลง การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ) หรือพฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy)


35 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Is the Difference Between an Epidemic and Pandemic?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/difference-between-epidemic-and-pandemic-2615168)
What's Bipolar Disorder? How Do I Know If I Have It?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/bipolar-disorder)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)