ชื่อท้องถิ่น : มะขามไทย (กลาง) , ขาม (ใต้) , คะลูบ (นครราชสีมา) , ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี) , อำเปียล (เขมร – สุรินทร์)
ลักษณะของพืช
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นหนาขรุขระ ใบประกอบด้วยใบย่อยเรียงกัน 10 – 15 คู่ บนก้านกลางใบ ดอกสีเหลืองส้ม มีจุดประสีแดง ออกเป็นช่อ ฝักมีเปลือกค่อนข้างแข็งแต่บางและเปราะเนื้อในมีทั้งชนิดเปรี้ยวปและชนิดหวาน เมล็ดแก่สีน้ำตาลไหม้
ส่วนที่เป็นยา : เนื้อฝักแก่ , เนื้อเมล็ดตาขามแก่
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาล
รสและสรรพคุณยาไทย : เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย ขับเสมหะ , เนื้อเมล็ดมะขามรสมัน ใช้ขับพยาธิ
วิธีใช้
ส่วนต่างๆ ของมะขามเป็นยารักษา
- อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกเปรี้ยว 10 – 20 ฝัก (หนัก 70 – 150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทานแล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือเติมน้ำคั้นใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม
- พยาธิไส้เดือนนำเอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกะเทาะเปลือกออกเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่มรับประทานครั้งละ 20 – 30 เมล็ด
- อาการไอ มีเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
