วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

แพ้ถั่วเหลืองเป็นอย่างไร รักษา และป้องกันอย่างไรดี

ข้อมูลเกี่ยวกับอาการแพ้ถั่วเหลือง อาหารอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง วิธีรักษา ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
แพ้ถั่วเหลืองเป็นอย่างไร รักษา และป้องกันอย่างไรดี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แพ้ถั่วเหลืองคือ อาการของโรคภูมิแพ้อาหารที่ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง
  • ประเทศแถบเอเชียมักมีส่วนประกอบอาหารและเครื่องปรุงที่มีถั่วเหลือง ผู้ที่แพ้ถั่วเหลืองจึงต้องระมัดระวังอย่างมากในการเลือกอาหาร เช่น สอบถามส่วนประกอบของอาหารกับร้านอาหาร อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร ระวังอุปกรณ์เครื่องครัว ภาชนะใส่อาหารไม่ให้ปนเปื้อนถั่วเหลือง
  • อาการภูมิแพ้ถั่วเหลืองสามารถรุนแรงได้ถึงขั้นเป็นอาการ "ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง" หากไม่รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด หรือให้ผู้ป่วยฉีดยาอะดรีนาลิน ซึ่งเป็นยารักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรงทันเวลา ก็อาจเสียชีวิตได้
  • ไม่จำเป็นว่า หากมีอาการแพ้ถั่วเหลืองก็แสดงว่าจะแพ้ถั่วทุกชนิด ผู้ป่วยภูมิแพ้อาหารบางรายจะมีอาการแพ้ถั่วบางชนิดเท่านั้น แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่แพ้ถั่วทุกชนิดได้เหมือนกัน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง

เชื่อว่า หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาอาการแพ้อาหารบางชนิด จนต้องระมัดระวังอย่างมากในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้

โดยอาหารที่มักเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้แก่ อาหารทะเล นม ไข่ ธัญพืช ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงถั่วเหลืองด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของอาการแพ้ถั่วเหลือง

อาการแพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy) คือ อาการของโรคภูมิแพ้อาหารโดยผู้ป่วยจะมีอาการแพ้เกี่ยวกับอาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง มักพบในกลุ่มผู้ป่วยวัยทารก และเด็กเล็ก

ถั่วเหลืองจัดเป็นหนึ่งในพืชตระกูลถั่วซึ่งเป็นชนิดของอาหารที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ได้เป็นอันดับต้นๆ ในกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้อาหาร

อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่า หากมีอาการแพ้ถั่วเหลืองแล้วจะมีอาการแพ้ถั่วชนิดอื่นๆ ด้วย เพราะอาการแพ้อาหารของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันไป บางรายแพ้ถั่วชนิดเดียว บางรายก็อาจแพ้ถั่วทุกชนิด

ถั่วเหลืองจัดเป็นวัตถุดิบสำคัญของอาหารเกือบทุกชนิด รวมถึงเครื่องปรุงรสต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย ดังนั้นผู้ป่วยภูมิแพ้ถั่วเหลืองจึงต้องสังเกตส่วนผสมของอาหาร สอบถามวัตถุดิบปรุงอาหารกับร้านอาหารก่อนสั่งซื้อ 

รวมถึงรู้จักอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารให้เป็นว่า มีส่วนผสมของถั่วเหลืองหรือไม่

ตัวอย่างอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง

  • เต้าหู้
  • เต้าเจี้ยว
  • เนื้อเทียม
  • มิโซะ
  • ซอสโชยุ
  • ซอสปรุงรสถั่วเหลือง
  • ผลิตภัณฑ์โปรตีนเสริมที่มีถั่วเหลือง
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
  • นมถั่วเหลือง
  • โยเกิร์ต
  • ไอศกรีม
  • เต้าฮวย

นอกจากนี้ยังมีเมนูอาหาร หรือขนมหวานบางชนิดที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน แต่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย และไม่ได้สังเกตจนเผลอรับประทานเข้าไปจนมีอาการแพ้ถั่วเหลือง เช่น เบเกอรี อาหารเช้าซีเรียล โปรตีนแท่ง ขนมปังแครกเกอร์ อาหารกระป๋อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการแพ้ถั่วเหลือง

อาการแพ้ถั่วเหลืองจะมีลักษณะคล้ายกับอาการแพ้อาหารชนิดอื่นๆ ได้แก่

  • วิงเวียนศีรษะ
  • หายใจไม่ออก
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปากบวม ลิ้นบวม หรือบวมทั้งใบหน้า
  • ปวดท้องหายใจไม่ออก
  • ท้องเสีย
  • มีผื่นลมพิษขึ้นตามผิวหนัง

อาการแพ้ถั่วเหลืองอาจรุนแรงได้ถึงขั้นเป็นอาการ “ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (Anaphylactic shock)” ซึ่งเป็นอาการที่ร้ายแรงมาก หากไม่รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ก็อาจเสียชีวิตได้ โดยอาการหลักๆ จะได้แก่

  • รู้สึกมึนงง
  • หายใจมีเสียงวี๊ด
  • แน่นหน้าอก
  • อุจจาระราด หรือปัสสาวะราด
  • ผื่นลมพิษขึ้นทั้งตัว
  • ความดันโลหิตต่ำลง
  • ชัก
  • หมดสติ
  • ช็อก

วิธีรักษาอาการแพ้ถั่วเหลือง

วิธีปฐมพยาบาลหากผู้ป่วยมีอาการภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรงคือ การฉีดยาอะดรีนาลิน (Adrenaline) หรือยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) ซึ่งเป็นยารักษาภาวะแพ้อย่างรุนแรงเพื่อพยุงอาการ จากนั้นให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที

ส่วนวิธีรักษาอาการแพ้ถั่วเหลืองที่ไม่รุนแรง จะรักษาโดยให้รับประทานยาแก้แพ้ เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) รวมถึงอาจรับประทานยาตัวอื่นๆ เพิ่มเพื่อรักษาอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น ยาลดน้ำมูก ยารักษาโรคหอบ ในกรณีผู้ป่วยเป็นหอบหืด หรือหายใจไม่ทัน

วิธีป้องกันอาการแพ้ถั่วเหลือง

วิธีป้องกันอาการแพ้ถั่วเหลือง รวมถึงอาหารชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้คือ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นๆ ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานถั่วเหลือง และอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลืองทุกชนิด 

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำต่อไปนี้ 

  • อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารทุกครั้งที่ซื้อ และต้องระมัดระวังผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดที่ไม่ได้บอกส่วนประกอบการปรุงอาหารอย่างละเอียดด้วย โดยเฉพาะอาหารที่มีการปรุงรสชาติ 
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองรุนแรงมากๆ ต้องระมัดระวังไปจนถึงอุปกรณ์เครื่องครัว ภาชนะที่ใส่อาหาร รวมถึงน้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารไม่ให้มีการปนเปื้อนถั่วเหลือง 
  • เด็กที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองยังควรมีป้ายติดอกเสื้อ หรือสวมสายรัดข้อมือที่บอกรายละเอียดอาการแพ้อาหารเอาไว้ให้ทางโรงเรียนรู้ จะได้ช่วยดูแลไม่ให้เด็กเผลอรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองเข้าไป รวมถึงควรให้เด็กพกยาอีพิเนฟรินติดตัวไว้เป็นยาฉุกเฉินด้วย
  • ผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยแพ้ถั่วเหลืองควรรู้จักวิธีฉีด หรือใช้ยาอีพิเนฟริน เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองขึ้น 
  • หากไม่แน่ใจว่าตนเองแพ้ถั่วเหลืองหรือไม่ คุณสามารถไปรับการทดสอบโรคภูมิแพ้ที่โรงพยาบาลได้ โดยมักเป็นการทดสอบทางผิวหนังโดยการสะกิด (Skin prick test) แพทย์จะหยดน้ำยาที่มีสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังผู้ป่วย จากนั้นจะรอผลว่า ผู้ป่วยมีปฏิกิริยาแพ้เกิดขึ้นหรือไม่ หลังจากผลการตรวจภูมิแพ้ออกมาแล้ว คุณจะสามารถป้องกันตนเองจากอาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ได้ดียิ่งขึ้น

อาการแพ้อาหารสามารถเกิดขึ้นได้กับอาหารทุกชนิดและอาจเป็นอันตรายได้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากเคยมีอาการแพ้อาหารชนิดใดก็อย่าประมาทในการรับประทานอาหารทุกมื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองเผลอรับอาหารที่เป็นสารก่อภูมิแพ้เข้าไป

นอกจากนี้หากสงสัยว่า ตนเองมีความเสี่ยงจะแพ้อาหารชนิดใด ก็ควรไปรับการทดสอบภูมิแพ้ที่โรงพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ไว้ก่อน เพียงเท่านี้คุณก็จะมีความสุขกับการรับประทานอาหารทุกมื้ออย่างปลอดภัย ไร้กังวลเรื่องอาการแพ้อาหารได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nayana Ambardekar, MD, Living With a Soy Allergy (https://www.webmd.com/allergies/soy-allergy), 19 July 2020.
Judith Marcin, Soy Allergy (https://www.healthline.com/health/allergies/soy), 30 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป