เมื่ออากาศเย็นลง มีวิธีป้องกันหอบหืดอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมื่ออากาศเย็นลง มีวิธีป้องกันหอบหืดอย่างไร

เมื่ออากาศเย็นลง ระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หดตัวจึงมีโอกาสสูงที่โรคหอบหืดจะกำเริบ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ฉะนั้นจึงควรเพิ่มความระมัดระวัง หาทางป้องกันไม่ได้โรคหอบหืดกำเริบ เมื่ออากาศเย็น คนส่วนใหญ่มักจะเป็นหวัด และหวัดก็เป็นตัวการกระตุ้นให้เกิดหอบหืดได้ง่าย ฉะนั้นผู้ป่วยโรคหอบหืดจึงควรดูแลตัวเองไม่ให้เป็นหวัดด้วย

การป้องกัน

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่สาธารณะ สถานที่ที่มีคนแออัด สามารถลดโอกาสติดเชื้อหวัดอันเป็นสาเหตุของอาการหอบหืดได้
  2. สวมผ้าคาดปากหรือหน้ากากอนามัย จะช่วยรักษาอุณหภูมิและความชื้นในโพรงจมูกให้คงที่ อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้อีกด้วย
  3. รักษาความอบอุ่นของร่างกาย โดยสวมเสื้อผ้าหรือผ้าพันคอป้องกันไม่ให้เป็นหวัด
  4. ดื่มน้ำอุ่นและกินยาตามเวลา ทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดยาเพราะเห็นว่าอาการหอบหืดไม่กำเริบนานแล้ว
  5. ไม่ควรดื่มน้ำเย็น ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ไม่ควรดื่มน้ำเย็นหลังออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก
  6. รักษาอาการติดเชื้อ เมื่อมีการติดเชื้อ แม้จะมีอาการแสดงเพียงเล็กน้อย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาตัวแต่เนิ่น ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Asthma - Living with. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/asthma/living-with/)
Treatment for Winter Asthma and Allergies. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/winter-allergic-asthma-challenges-200559)
Cold-induced asthma: Causes and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325492)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป