วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ติดเชื้อได้จากไหน รักษาอย่างไร

ทำความเข้าใจเชื้อแบคทีเรียนำโรคภัยที่พบได้รอบตัว นำมาสู่อาการติดเชื้อในหลายระบบ
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ติดเชื้อได้จากไหน รักษาอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa เป็นเชื้อแบคทีเรียที่สามารถพบได้รอบตัวเรา โดยเฉพาะที่ที่มีความชื้นสูงและไม่สะอาด รวมถึงสามารถพบได้ภายในร่างกายของคนเราด้วย 
  • ผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa คือ ผู้ที่มีแผลผ่าตัด ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือใส่สายสวน อุปกรณ์ในโรงพยาบาลที่ไม่สะอาดพอ เป็นโรคเบาหวาน โรคซิสติก ไฟโบรซิส มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
  • อาการของผู้ติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น หากติดเชื้อที่ตา จะมีอาการตาอักเสบ หนังตาบวม ตาแดง หากติดเชื้อที่ปอดจะมีไข้สูง ไอเรื้อรัง และหายใจลำบาก 
  • วิธีรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa โดยหลักๆ คือ การรับประทานยาปฏิชีวนะ และวิธีป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ดีที่สุด คือ รักษาความสะอาดร่างกายให้ดี รวมถึงอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้รอบตัว 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

เชื้อแบคทีเรียบนโลกใบนี้แบ่งออกได้เป็นล้านๆ ชนิดและมีอีกหลายชนิดที่เรายังไม่รู้จัก แบคทีเรียบางชนิดบ้างก็อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์อยู่แล้วไม่ได้ก่อให้เกิดโรค 

แต่แบคทีเรียหลายชนิดก็เป็นผู้ร้าย เมื่อสบโอกาสได้เข้าสู่ร่างกาย หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า "ร่างกายติดเชื้อ" ก็ทำให้เกิดโรคต่างๆ ความเจ็บป่วย หรือความผิดปกติตามมามากมาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หนึ่งในเชื้อแบคทีเรียที่มีอันตรายคือ “เชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa)” ซึ่งหากติดเชื้อจะก่อให้เกิดอันตรายขึ้นกับร่างกายหลายๆ ระบบ

เชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา คืออะไร?

เชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) คือ เชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น ดิน น้ำประปา พืช ผัก ผลไม้ รวมถึงในร่างกายของคน เช่น น้ำมันใต้ผิวหนัง 

นอกจากนี้ในสถานที่ซึ่งมีความชื้นสูงอย่างในห้องน้ำ อ่างอาบน้ำ ในห้องครัว หรือใต้อ่างล้างจาน ก็เป็นปัจจัยทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้เติบโตได้

อีกทั้งยังพบการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซามากในโรงพยาบาล เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถพบได้มากในเครื่องเพิ่มความชื้นซึ่งใช้ในโรงพยาบาล รวมถึงสายสวนปัสสาวะที่ทำความสะอาดไม่ดีพอ 

เมื่อผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้มีเชื้อแบคทีเรียอยู่ในร่างกาย ก็จะสามารถส่งต่อเชื้อไปไปสู่ผู้อื่นได้

สำหรับผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มากกว่าคนทั่วไป ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีแผลจากการผ่าตัด หรือแผลไฟไหม้
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจของโรงพยาบาล หรือกำลังใส่อุปกรณ์ช่วยชีวิตของโรงพยาบาล เช่น สายน้ำเกลือ สายสวนปัสสาวะ
  • เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคทางพันธุกรรมอย่างโรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis)
  • เป็นโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ติดโรคเอดส์ หรือเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งจนภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เช่น ทำเคมีบำบัด (Chemotherapy)

อาการผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา

อาการของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เชื้อเข้าไปเติบโต โดยเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสามารถเข้าไปก่ออาการได้แทบทุกระบบ และทุกบริเวณของร่างกาย

โดยอาการหลักๆ ของร่างกายแต่ละส่วนที่เกิดการติดเชื้อจะมีต่อไปนี้

  • ติดเชื้อในระบบไหลเวียนเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลียอย่างหนัก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการความดันโลหิตต่ำลงด้วย
  • ติดเชื้อที่ระบบย่อยอาหาร มีอาการปวดศีรษะ ท้องเสีย ท้องร่วง
  • ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
  • ติดเชื้อในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับโรคปอดบวม เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก
  • ติดเชื้อใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมขนอักเสบ (Folliculitis) เช่น มีอาการผิวแดง เป็นผื่นแดงขึ้นตามตัว เป็นฝี
  • ติดเชื้อที่กล้ามเนื้อ และกระดูก มีอาการกล้ามเนื้อบวม ปวดเจ็บบริเวณคอ และหลัง
  • ติดเชื้อที่ตา มีอาการตาอักเสบ หนังตาบวม เจ็บตา ตาขาวแดง การมองเห็นไม่มีประสิทธิภาพ
  • การติดเชื้อที่หู มีอาการหูบวม เจ็บหู รู้สึกคันระคายเคืองภายในหู การได้ยินไม่มีประสิทธิภาพ

หากมีความกังวลใจว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเอง หรืออาการแสดงบางอย่างที่เป็นอยู่อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา แต่ยังไม่มีเวลาไปพบแพทย์ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ 

ปัจจุบันผู้ให้บริการทางสุขภาพหลายๆ แห่งก็มีบริการปรึกษาแพทย์ผ่านโทรศัพท์ หรือวีดีโอคอล ไว้รองรับแล้ว เป็นช่องทางที่สะดวกสบายและช่วยให้คุณได้รับคำแนะนำเบื้องต้น 

วิธีรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา

วิธีรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซาโดยหลักๆ คือ การรับประทานยาปฏิชีวนะ แต่วิธีรักษานี้อาจยากในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากในโรงพยาบาล เพราะเชื้อจากโรงพยาบาลส่วนมากจะมีอาการดื้อต่อยา 

ผลมาจากสภาพแวดล้อมที่เชื้อเติบโตนั้นเต็มไปด้วยสารต่อต้านแบคทีเรียเต็มไปหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จึงใช้ยาปฏิชีวนะตัวอื่นที่แรงกว่า เพื่อให้สามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ และในระหว่างใช้ยาดังกล่าวรักษาการติดเชื้อ แพทย์จะนัดหมายผู้ป่วยให้เข้ามาตรวจความคืบหน้าของอาการว่า ตัวยาปฏิชีวนะนั้นๆ ได้ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หรือไม่

ตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Antipseudomonal antibiotic) ได้แก่

  • เซฟตาซิดิม (Ceftazidime)
  • ปิเปอราซิลลิน (Piperacillin)
  • เจนตามัยซิน (Gentamicin)
  • ยากลุ่มคาร์บาพีเนม (Carbapenem)

ประเภทของยาปฏิชีวนะก็จะแตกต่างกันไปตามบริเวณที่ร่างกายเกิดการติดเชื้อด้วย เช่น หากติดเชื้อที่ตา ยารักษาก็จะเป็นยาหยอดตา หากติดเชื้อที่หู ยารักษาก็จะเป็นน้ำยาล้างหู

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเชื้อ Pseudomonas aeruginosa เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาง่ายมาก 

นอกจากนี้ เชื้อ P. aeruginosa ที่ดื้อยา Carbapenem ยังเป็นเชื้ออันตรายอันดับต้นๆที่องค์การอนามัยโลกให้ความใส่ใจมาก

วิธีป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา

หัวใจหลักที่สามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ คือ การรักษาความสะอาดอุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้รอบตัวให้ปราศจากความชื้น และคราบสิ่งสกปรก

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลยังต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ทุกชนิด และมีการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกชนิดอีกครั้งหลังทำความสะอาดแล้วให้เรียบร้อย เพื่อให้คนไข้ใช้งานอุปกรณ์ทุกอย่างได้อย่างปลอดภัย

ผู้ที่เจ็บป่วยจนต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ควรนั่งให้ห่างจากผู้ป่วยรายอื่น และเมื่อกลับจากโรงพยาบาล ให้อาบน้ำให้สะอาด เปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคจากโรงพยาบาลที่ติดมาตามเสื้อผ้า

นอกจากโรงพยาบาลแล้ว สระว่ายน้ำก็เป็นอีกแหล่งเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซาได้ ดังนั้นผู้ที่ไปว่ายน้ำที่สระว่ายน้ำสาธารณะ หลังว่ายเสร็จแล้วควรอาบน้ำให้สะอาด อย่าเพียงแค่ล้างตัวเพื่อเอาสารคลอรีนออกเท่านั้น 

อีกทั้งควรทำความสะอาดรูหูซึ่งยังมีน้ำจากสระว่ายน้ำติดค้างอยู่ข้างในด้วย

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา คือ ความสะอาดของสิ่งของรอบตัว รวมถึงการรักษาสุขอนามัยของตัวเองที่ไม่ดีพอ

ดังนั้นคุณจึงต้องรู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกายของตัวเอง และข้าวของเครื่องใช้รอบตัว รวมถึงรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเมื่อไปอยู่ในสถานที่เสี่ยงติดเชื้ออย่างโรงพยาบาล สระว่ายน้ำ พื้นที่ใช้งานสาธารณะร่วมกับผู้อื่น 

เพียงเท่านี้คุณก็จะลดโอกาสการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ รวมถึงเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, WHO publishes list of bacteria for which new antibiotics are urgently needed (https://www.who.int/news-room/detail/27-02-2017-who-publishes-list-of-bacteria-for-which-new-antibiotics-are-urgently-needed), 9 October 2020.
WebMD, Pseudomonas Infection (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/pseudomonas-infection#), 9 September 2020.
Graham Rogers, Pseudomonas Infections (https://www.healthline.com/health/pseudomonas-infections), 9 September 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม