วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

รู้จัก “โรคเท้าช้าง” เมื่อพยาธิทำให้อวัยวะบวมโตขึ้น

โรคเท้าช้างเป็นอย่างไร อะไรเป็นพาหะทำให้เกิดโรค วิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 15 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รู้จัก “โรคเท้าช้าง” เมื่อพยาธิทำให้อวัยวะบวมโตขึ้น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเท้าช้าง เป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักในประเทศเขตร้อน มีพยาธิฟิลาเรียเป็นตัวนำเชื้อ และมียุงเป็นพาหะนำโรค เมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายผู้ถูกยุงกัด ก็จะเข้าไปเติบโตในระบบทางเดินน้ำเหลือง แล้วปล่อยสารกระตุ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายตอบสนองออกมาเป็นอาการแพ้ 
  • อาการหลักๆ ของโรคเท้าช้าง ได้แก่ มีไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อวัยวะบางส่วนบวม และผิวหนังหยาบ เช่น แขน เต้านม ขา ขาหนีบ อาการจะเป็นๆ หายๆ ปีละ 5-6 ครั้ง แม้จะอยู่ระหว่างการรักษาก็ตาม
  • วิธีรักษาโรคเท้าช้างจะเป็นการรักษาแบบประคับประคอง เพราะอาการมักยังเกิดขึ้นอยู่แม้จะทำการรักษาอยู่แล้ว เช่น ทำกายภาพบำบัด ฝึกหายใจเข้าออกเพื่อปรับสมดุลการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง ทำความสะอาดอวัยวะที่บวม ใช้ยาปฏิชีวนะ และยารักษาโรคเท้าช้างโดยเฉพาะ
  • วิธีป้องกันการเกิดโรคเท้าช้างที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

เมื่อพูดโรคในประเทศเขตร้อน นอกจากมาลาเลียแล้วหลายคนคงจะคิดถึง “โรคเท้าช้าง” เป็นหนึ่งในนั้นด้วย โดยโรคนี้เป็นโรคที่ทางองค์การอนามัยโลกได้เคยกำหนดว่า ควรจะกำจัดให้หมดไปจากโลกภายในปี 2563

แต่จนถึงปัจจุบัน โรคเท้าช้างก็ยังคงมีระบาดอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยก็มีโครงการที่จะกำจัดโรคเท้าช้างให้หมดไปจากประเทศ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ซึ่งในปี 2560 ประเทศไทยก็ได้รับรางวัล Public Health Achievement จากองค์การอนามัยโลก ในฐานะที่สามารถกำจัดโรคเท้าช้างออกไปจนหมดประเทศเป็นผลสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม ทางกรมควบคุมโรคยังมีรายงานว่า พยาธิฟิลาเรียซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเท้าช้างในประเทศไทยนั้นก็ยังคงมีอยู่ และยังพบผู้ติดเชื้อโรคนี้อยู่ในบางพื้นที่ แต่จัดยังอยู่ในเกณฑ์จำนวนผู้ป่วยที่ต่ำมากอยู่

เรามาดูกันว่า โรคเท้าช้างคืออะไร อะไรกันแน่ที่เป็นพาหะนำโรคนี้จนทำให้กลายเป็นโรคที่คนไทยหลายคนต้องเผชิญ

ความหมายของโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง (Elephantiasis หรือ Lymphatic filariasis) คือ โรคติดต่อที่ระบาดหนักในประเทศเขตร้อนซึ่งเกิดจากการติดเชื้อพยาธิตัวกลม หรือพยาธิฟิลาเรีย 2 ชนิด โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ได้แก่

  • พยาธิวูเชอรีเรีย แบนครอฟไต (Wuchereria bancrofti) พบมากในจังหวัดที่ติดกับประเทศพม่า เช่น จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดแม่ฮ่องสอน มียุงลายป่า (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค และยังมักติดต่อได้จากแรงงานชาวพม่าที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทยด้วย

  • พยาธิบรูเกีย มาลาไย (Brugia malayi) พบมากในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย เช่น จังหวัดชุมพร จังหวัดนราธิวาส มียุงเสือ (Mansonia) เป็นพาหะนำโรค

นอกจากพยาธิฟิลาเรียทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีพยาธิฟิลาเรียอีกชนิดที่ก่อให้เกิดโรคเท้าช้างได้ ชื่อว่า “พยาธิบรูเกีย ไทมาริ (Brugia timari)

พยาธิฟิลาเรียทั้ง 3 ตัวนี้ไม่ได้ก่อโรคเท้าช้างแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงประเทศเขตร้อนอื่นๆ เช่น ประเทศแอฟริกา หมู่เกาะแปซิฟิก หรือทวีปอเมริกาใต้ด้วย ดังนั้นโรคเท้าช้างในประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ จึงไม่ได้แตกต่างกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของโรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้างจะเกิดขึ้นเมื่อยุงลายที่มีพยาธิฟิลาเรียเจริญเติบโตอยู่ข้างในตัวมากัดผิวหนังของเรา พยาธิจะเคลื่อนที่จากปากของยุงเข้าสู่กระแสเลือดผู้ถูกกัด และไปเจริญเติบโตอยู่ในระบบทางเดินน้ำเหลืองของร่างกายผู้ถูกยุงกัด

เมื่อพยาธิเจริญเติบโตเต็มที่ในหลอดน้ำเหลือง จากนั้นเมื่อเติบโตเต็มที่พยาธิก็จะปล่อยสารกระตุ้นที่ทำให้หลอดน้ำเหลืองขยายตัว มีแรงดันเพิ่มขึ้น ภูมิคุ้มกันร่างกายเกิดการตอบสนองออกมาเป็นอาการแพ้ ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • เบื่ออาหาร
  • เหงื่อออกมาก
  • อวัยวะบางส่วนบวม ซึ่งเกิดการอักเสบ และขยายตัวของหลอดน้ำเหลืองที่มีพยาธิเข้าไปเติบโต เช่น แขน เต้านม ขา ขาหนีบ อวัยวะเพศ เท้า ผิวหนังบริเวณที่บวมยังจะขรุขระ และหยาบผิดปกติด้วย

อาการของโรคเท้าช้างโดยปกติจะกินระยะเวลาเป็นปี หรืออาจหลายปี โดยโรคนี้มีอาการแบบเป็นๆ หายๆ ปีละประมาณ 5-6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 3-5 วัน แล้วอาการของโรคก็จะดีขึ้น แล้วก็จะกลับมามีอาการใหม่อีก

เนื่องจากโรคเท้าช้างเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น ในระหว่างที่อาการของโรคดำเนินอยู่ จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ เช่น

  • หลอดเลือดดำคั่ง โดยเป็นผลกระทบมาจากอวัยวะส่วนที่บวมมีการเคลื่อนไหวน้อย และระบบทางเดินน้ำเหลืองมีความผิดปกติ จนทำให้ความดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้น และจะยิ่งทำให้อวัยวะส่วนนั้นมีความบวม

  • การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ ซ้ำซ้อน ซึ่งมักเกิดจากอวัยวะส่วนที่บวมถูกแมลงกัด ติดเชื้อรา และการติดเชื้อแบคทีเรียอาจลุกลามไปถึงในกระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง ปวดศีรษะ รู้สึกหนาวสั่น และปวดเมื่อยตามตัวได้ด้วย

  • ปัสสาวะเป็นสีขาว มีน้ำเหลืองในช่องท้อง ซึ่งเกิดจากความดันในหลอดน้ำเหลืองสูงมากจนน้ำไหลเข้าไปในไต นอกจากนี้ยังทำให้ขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระลำบากด้วย

วิธีรักษาโรคเท้าช้าง

วิธีรักษาโรคเท้าช้างจะเป็นแนวทางการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ รวมถึงต้องมีการทำความสะอาดอวัยวะบริเวณที่บวมให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

คำแนะนำในการรักษาโรคเท้าช้างจะมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ทำกายภาพบำบัดอวัยวะส่วนที่บวม เพื่อให้เลือดไหลเวียนบริเวณอวัยวะดังกล่าวได้ดี และลดความดันในหลอดเลือด เช่น

    หากขาบวม ก็ให้หมั่นยกขาข้างที่บวมให้สูงเพื่อเพิ่มการไหลเวียน และลดความดันโลหิตในหลอดเลือดดำ โดยให้ยกขาขึ้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตรเหนือระดับหัวใจ ทำทุกวัน วันละ 2-4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที

  • ฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วกลั้นหายใจชั่วครู่หนึ่ง ก่อนจะผ่อนออกทางปาก เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองในร่างกายทำงานได้ดี และสมดุลยิ่งขึ้น

  • หมั่นใช้น้ำสะอาด และสบู่ทำความสะอาดอวัยวะที่บวม หากมีอาการติดเชื้อรา ก็อาจไปพบแพทย์เพื่อขอให้จ่ายยาทาฆ่าเชื้อราให้ด้วย

  • ทำกายภาพบำบัด หากอวัยวะที่บวมส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

  • ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำเพื่อฆ่าเชื้อ ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย

  • ให้ยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด หากผู้ป่วยมีอาการปวดตามตัว มีไข้สูง หรือหนาวสั่น

  • รับประทานยารักษาโรคเท้าช้างซึ่งสั่งจ่ายโดยแพทย์ ซึ่งปัจจุบันยารักษาโรคนี้มีอยู่ 2 ตัวได้แก่ ยาไดเอทิลคาร์บามาซีน (Diethyl- Carbamazine: DEC) และยาอัลเบนดาโซล (Albendazole)

    ยารักษาโรคเท้าช้างจำเป็นต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น เพราะมีข้อบ่งใช้ในการรักษาตามชนิดของพยาธิที่ทำให้เกิดโรคเท้าช้าง

    ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึ่งเกิดจากพยาธิฟิลาเรียตัวอื่นห้ามใช้ยารักษาโรคเท้าช้างมารักษาอาการของตัวเองเด็ดขาด เพราะสามารถส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้ เช่น ตาอักเสบ เกิดภาวะสมองอักเสบ

นอกจากการรักษาด้วยยา และการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเพื่อตัดแต่ง หรือศัลยกรรมอวัยวะที่เคยบวมโตที่คืนสภาพกลับมาขนาดเท่าเดิม แต่มีรูปร่างไม่สวยงาม หรือพื้นผิวหนังไม่เนียนเหมือนแต่ก่อนให้ออกมาสวยงามขึ้น

นอกจากนี้การผ่าตัดยังรวมถึงตัดแต่ง หรือศัลยกรรมอวัยวะใกล้เคียงที่เสียหายหนักจากอาการบวมของโรคเท้าช้าง เช่น ถุงอัณฑะ

โรคเท้าช้างหากไม่เข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะส่งผลให้อวัยวะส่วนที่บวมขึ้นเสียรูปร่างจนอาจไม่สามารถกลับมามีลักษณะปกติเหมือนแต่ก่อนได้อีก ทั้งยังอาจทำให้ผู้ป่วยต้องตัดต่อมน้ำเหลืองทิ้งเพื่อลดผลกระทบจากโรคนี้

นอกจากนี้โรคเท้าช้างที่ไม่รับการรักษายังจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย ผู้ป่วยบางรายจะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกดังเดิม หรือบางรายอาจเคลื่อนไหวไม่ได้เลยหากอวัยวะบวมมาก และยังทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักมากขึ้นจากอาการบวมมากถึง 10-20 กิโลกรัม

วิธีป้องกันโรคเท้าช้าง

วิธีป้องกันโรคเท้าช้างที่ดีที่สุด คือ อย่าให้ยุงกัดเราได้ เพราะยุงเป็นพาหะสำคัญที่นำพยาธิฟิลาเรียเข้าสู่ร่างกาย คุณจึงต้องระมัดระวังอย่าให้มียุงชุกชุมในที่อยู่อาศัย หมั่นกำจัดลูกน้ำตามแหล่งน้ำในภายในบ้าน รวมถึงวัชพืช และพืชน้ำซึ่งเป็นที่เพาะพันธุ์ลูกน้ำได้

นอกจากนี้หากต้องไปในสถานที่ที่มียุงชุกชุม ก็ควรพกสเปรย์กันยุง หรือโลชั่นป้องกันยุงกัดติดตัวไปด้วย

โรคเท้าช้างเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา และประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น และมีแรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมากจึงถือเป็นประเทศกลุ่มเสี่ยงที่มีการระบาดของโรคเท้าช้างอยู่จนถึงปัจจุบัน

คุณจึงต้องระมัดระวังอย่าให้ยุงกัดได้ และหากมีอาการอวัยวะบวมเกิดขึ้น ร่วมกับมีอาการไข้ขึ้น อ่อนเพลีย ก็อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคเท้าช้างหรือไม่ จะได้รีบทำการรักษา ก่อนที่ตัวพยาธิจะเข้าไปทำอันตรายต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายมากกว่าเดิม

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศิรญา ไชยะกุล, สุรางค์ นุชประยูร, การรักษาโรคเท้าช้างในปัจจุบัน (http://clmjournal.org/_fileupload/journal/206-4-4.pdf), 8 มกราคม 2564.
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, โรคเท้าช้าง (https://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/hospital-p-filariasis-th.php), 8 มกราคม 2564.
รศ.เวช ชูโชติ, โรคเท้าช้าง (Elephantiasis, Filariasis) (https://w1.med.cmu.ac.th/parasite/ความรู้เกี่ยวกับโรคปรส/4717/), 8 มกราคม 2564.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
8 เมนูอาหารเย็นที่ดีสำหรับการลดน้ำหนัก
8 เมนูอาหารเย็นที่ดีสำหรับการลดน้ำหนัก

แนะนำ 8 เมนูอาหารเย็น พร้อมส่วนประกอบของอาหารอย่างละเอียด เพื่อการลดน้ำหนักที่ยั่งยืนและเห็นผลจริง

อ่านเพิ่ม
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคที่พบบ่อยในวัยทำงาน
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคที่พบบ่อยในวัยทำงาน

ทำความเข้าใจความหมาย อาการ ความรุนแรง วิธีการรรักษา และการฟื้นฟูอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท พร้อมไขคำตอบ ถ้าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้วผ่าตัด จะเดินไม่ได้อีกจริงหรือ?

อ่านเพิ่ม