วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

โรคไม่ติดต่อคืออะไร โรคอะไรเสี่ยงบ้าง

รวมโรคไม่ติดต่อที่คนไทยเสี่ยงเป็น วิธีรักษา ป้องกัน ต้องทำอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 18 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 28 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
โรคไม่ติดต่อคืออะไร โรคอะไรเสี่ยงบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคไม่ติดต่อหมายถึง โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือการรับเชื้อโรคจากผู้อื่น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดลมอักเสบ โรคมะเร็ง โรคเหล่านี้มักเกิดมาจากการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม 
  • พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่นำไปสู่โรคติดต่อคือ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารเค็มจัด และการไม่ออกกำลังกาย
  • โรคไม่ติดต่ออันดับหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทยคือ โรคหลอดเลือดสมอง โดยเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 
  • โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่ติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย และยังพบได้มากขึ้นจากวิถีการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบัน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

นอกจากโรคติดต่อที่หลายคนคิดว่า เป็นโรคร้ายแรง สามารถส่งต่อถึงผู้อื่นได้ “โรคไม่ติดต่อ” ก็เป็นโรคที่สร้างอาการเจ็บป่วยรุนแรงและเรื้อรัง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ไม่ต่างกัน แถมบางโรคยังสามารถส่งต่อกันได้ทางพันธุกรรมด้วย

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อ หรือไม่ติดต่อ ทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้ตนเองมีความเสี่ยงเกิดโรคทั้ง 2 ประเภทนี้ทั้งนั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของโรคไม่ติดต่อ

โรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCDs) คือ โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือรับเชื้อโรคจากผู้อื่น และเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดต่อจากคนสู่คน แต่มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม หรือความผิดปกติภายในร่างกายผู้ป่วยเอง

ตัวอย่างของโรคไม่ติดต่อที่พบได้มากในกลุ่มคนทั่วไป ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็ง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคหลอดลมอักเสบและโรคถุงลมโป่งพอง

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อของทั่วโลกในตอนนี้

จากข้อมูลล่าสุดใน ค.ศ. 2018 ขององค์การอนามัยโลก ได้สรุปสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อเอาไว้ดังนี้

  • โรคไม่ติดต่อได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกถึงประมาณปีละ 41 ล้านคน หรือ คิดเป็น 70% ของอัตราการตายทั้งหมด
  • ช่วงอายุของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อจะอยู่ที่ประมาณ 30-69 ปี ซึ่ง 85% ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้มาจากประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา
  • ปัจจัยเสี่ยงในร่างกายที่มักทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
  • พฤติกรรมที่มักนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อมีอยู่ 4 ส่วนหลักๆ คือ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารเค็มจัด หรือมีโซเดียมสูง และการออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • โรคไม่ติดต่อที่พบได้มากที่สุดจากทั่วโลกคือ โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases)

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในประเทศไทย

จากสถิติ พ.ศ. 2562 ของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคไม่ติดต่อในประเทศไทยที่พบได้บ่อยสามารถแจกแจงได้ 5 โรคด้วยกัน โดยเรียงจากอัตราการตายของผู้ป่วยจากมากไปน้อย ดังต่อไปนี้

1. โรคหลอดเลือดสมอง 

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน ตีบ หรือแตก จนสมองขาดเลือด และทำให้เนื้อสมองตายในที่สุด

อาการหลักๆ ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ตาพร่ามัวมองไม่ชัด มุมปากข้างหนึ่งตก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด หรือไม่สามารถพูดได้เลย คลื่นไส้อาเจียน และไม่สามารถยกแขนข้างใดข้างหนึ่งได้ หรือแขนขาอ่อนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองมักมาจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่บ่อยๆ ความเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูงมักมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคเดิมมากกว่าคนทั่วไปด้วย

โรคหลอดเลือดหัวใจยังพบได้มากในผู้สูงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และผู้ที่เคยมีคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน

วิธีรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ทำให้สมองได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ หลอดเลือดไม่มีการอุดตัน หรือตีบ ก้อนเลือดไม่แข็งตัวเป็นลิ่ม โดยการใช้ยาดังต่อไปนี้ เช่น

  • ยาละลายลิ่มเลือด
  • ยาต้านเกล็ดเลือด
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

2. โรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด (Ischaemic heart disease) คือ โรคซึ่งเกิดจากเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ ทำให้มีอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ เหงื่อออกผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน หายใจถี่ รวมถึงรู้สึกเจ็บแน่น หรือแสบที่หน้าอกอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการเจ็บร้าวที่หัวไหล่

โรคหัวใจขาดเลือดมีปัจจัยมาจากโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหลายอย่าง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง

นอกจากนี้ความเครียด พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และการสูบบุหรี่เป็นประจำก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดจะคล้ายกับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง นั่นคือ การจ่ายยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาลดการบีบตัวของหัวใจ

แต่หากรักษาด้วยยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Surgery) หรือขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Coronary Angioplasty and Stenting) เพื่อทำให้หลอดเลือดกลับมาทำงานส่งเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจได้อีกครั้ง

3. โรคหลอดลมอักเสบและโรคถุงลมโป่งพอง

โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis) คือ โรคที่เกิดจากเยื่อบุหลอดลมซึ่งเป็นหลอดนำอากาศเข้าสู่ปอดเกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด รวมถึงรู้สึกเจ็บคอ แสบหน้าอก

โรคถุงลมโป่งพองคือ โรคที่เกิดจากถุงลมเกิดการขยายตัวมากผิดปกติจนทำให้ผิวปอดมีพื้นที่น้อยลง และทำให้หายใจไม่สะดวก

สาเหตุหลักๆ ของโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจทั้งสองโรคมีความคล้ายคลึงกันนั่นคือ การสูดเอาควันบุหรี่ ละอองสิ่งสกปรก หรือมลพิษเข้าไปในปอด จนเกิดความระคายเคืองขึ้น มีการสะสมของสิ่งสกปรกต่างๆ ภายในปอด และทำให้หลอดลมอุดตัน 

วิธีรักษาโรคหลอดลมอักเสบจะเป็นการปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมร่วมกับการรับประทานยารักษาไปตามอาการ เช่น งดสูบบุหรี่ งดอยู่ในที่อากาศเย็นจัด งดการสัมผัสลมเย็นจากเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมโดยตรง ทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ

ส่วนวิธีรักษาโรคถุงลมโป่งฟองมี 2 วิธีสำคัญ คือ การรักษาด้วยการใช้ยาขยายหลอดลม และการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การงดสูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงออกไปเผชิญมลภาวะสกปรก หรือเป็นพิษ การออกกำลังกายฟื้นฟูสุขภาพปอด

4. โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงคือ โรคที่เกิดจากแรงดันของเลือดที่ไหลเวียนอยู่ภายในร่างกายสูงกว่าปกติ มักมีปัจจัยมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จนทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่คล่องตัว หรือทำให้ความดันภายในหลอดเลือดสูงขึ้น เช่น

  • การรับประทานอาหารรสเค็มจัด มีไขมัน และน้ำตาลสูง
  • การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การสูบบุหรี่เป็นประจำ
  • ความเครียด

นอกจากนี้ความเสื่อมของหลอดเลือดในผู้สูงอายุก็มีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ส่วนอาการหลักๆ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะได้แก่ หน้ามืด ใจสั่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดตา ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่าย หอบหนัก

วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการหมั่นออกกำลังกายในปริมาณที่ไม่หักโหมเกินไป การลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลด หรือเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มจัด มีไขมัน หรือน้ำตาลสูง 

งดสูบบุหรี่ ทำจิตใจให้แจ่มใส และพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด

5. โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes) เกิดจากร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ หรือการตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป ทั้งนี้อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายสามารถนำไขมัน และน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานได้

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีปัจจัยหลักๆ มาจากพฤติกรรมติดการรับประทานอาหารที่มีไขมัน และน้ำตาลสูง รวมถึงบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยๆ สูบบุหรี่เป็นประจำ และไม่ออกกำลังกาย

นอกจากนี้โรคเบาหวานยังเป็นโรคทางพันธุกรรมที่หากคุณมีคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็มีความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคเบาหวานด้วยเช่นกัน ซึ่งควรจะต้องเข้ารับการตรวจโรคเบาหวาน เพื่อดูความเสี่ยงที่ตนเองจะเป็นโรคเบาหวานด้วย

โรคเบาหวานแบ่งออกได้ 3 ชนิด ได้แก่

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากร่างกายผู้ป่วยไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอต่อร่างกายได้ มักพบในเด็กซึ่งอาจเป็นแต่กำเนิด และพบในผู้ใหญ่อายุไม่เกิน 30 ปี

  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นประเภทโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมักเกิดจากกรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานเสี่ยงเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป และยังเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมด้วย

  3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่จะพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ มีสาเหตุมาจากการทำงานของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้เกิดการต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ อ่อนเพลียง่าย รู้สึกชาตามมือ เท้า กระหายน้ำ หิวบ่อย น้ำหนักลดผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย มีปื้นหนาสีคล้ำขึ้นที่ลำคอ รักแร้ และขาหนีบ

วิธีป้องกันโรคไม่ติดต่อ

จะเห็นได้ว่า โรคติดต่อมีปัจจัยทำให้เกิดหลักๆ มาจากการมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อได้ ได้แก่

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เสมอ จำกัดปริมาณรับประทานอาหารรสจัด เค็มจัด หวานจัด และอาหารที่มีไขมันสูงให้พอดี
  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละประมาณ 3-5 วัน วันละประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม อย่าปล่อยตนเองให้เสี่ยงเกิดภาวะอ้วน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก
  • หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
  • หมั่นไปตรวจสุขภาพทุกปี หรือหากมีความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ส่งต่อกันได้ทางพันธุกรรม ก็ควรเข้ารับการตรวจโรคนั้นโดยเฉพาะด้วย เช่น ตรวจโรคเบาหวาน ตรวจหัวใจและหลอดเลือด ตรวจปอด ตรวจสารบ่งชี้การก่อโรคมะเร็ง

โรคไม่ติดต่อมักเป็นโรคเรื้อรัง ต้องใช้เวลาในการรักษา หรือยากที่จะหายขาดเป็นปกติที่หายได้โดยง่าย เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากอาการเจ็บป่วยที่ยากจะหายขาดได้ คุณจึงควรรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ หากเกิดอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที

เพื่อที่หากมีการตรวจวินิจฉัยพบความผิดปกติ คุณจะได้เข้ารับการรักษาโรคดังกล่าวทันเวลา และได้รับคำแนะนำจากแพทย์ในการดูแลสุขภาพต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Non communicable diseases (https://www.who.int/health-topics/noncommunicable-diseases#tab=tab_1), 12 September 2020.
สถาบันทรวงอก กระทรวงสาธารณสุข, ความดันโลหิตสูงกับวิธีป้องกัน (https://www.ccit.go.th/news/health_detail.php?post_id=1359), 10 พฤศจิกายน 2563.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ปี 2557 (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1371), 10 พฤศจิกายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม