กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 27 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นชนิดของโรคมะเร็งที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลืองแบ่งตัวผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอก โรคมะเร็งชนิดนี้ยังสามารถพบได้ทุกบริเวณของร่างกายด้วย เพราะต่อมน้ำเหลืองเป็นต่อมที่กระจายทุกจุดของร่างกาย
  • ในระยะแรกของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก้อนเนื้อจะขึ้นบริเวณด้านเดียวกับกระบังลม จนเมื่อถึงระยะที่ 3 ก้อนเนื้อจะเริ่มกระจายตัวไปคนละด้านกับกระบังลม และกระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย
  • ก้อนเนื้อมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เวลาคลำแล้วจะไม่รู้สึกเจ็บ 
  • วิธีรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีตั้งแต่การรับประทานยาเคมีบำบัด การใช้รังสีรักษา การปลูกถ่ายไขกระดูก ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการผู้ป่วย รวมถึงขนาดของก้อนมะเร็งด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งทั่วไป

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) เกิดจากเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ภายในต่อมน้ำเหลืองแบ่งตัวผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้องอกบริเวณดังกล่าว 

ต่อมน้ำเหลือง เป็นต่อมที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกัน เนื่องจากมีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจึงสามารถเกิดขึ้นได้กับต่อมน้ำเหลืองทุกแห่งในร่างกาย และยังพบได้ในคนทุกวัยด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม โรงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรียบางชนิด

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจัดอยู่ในประเภทมะเร็งเม็ดเลือด สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่

1. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma: HL) 

เป็นประเภทของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกิดขึ้นในเม็ดเลือด และไขกระดูก บริเวณที่เกิดขึ้นมักอยู่ลำคอ และช่องอกโดยเกิดจากเซลล์ชื่อว่า "รีดส์ สเตนเบิร์ก (Reed-Sternberg)" ซึ่งเป็นเซลล์ในต่อมน้ำเหลืองเกิดความผิดปกติขึ้น 
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้มักพบในเด็ก และวัยรุ่น แต่มักพบได้น้อยกว่าประเภทที่ 2 

2. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin's Lymphoma: NHL) 

เป็นประเภทโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบได้บ่อยกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน และมักพบในผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง มะเร็งชนิดนี้เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) มีความผิดปกติ 

เซลล์ลิมโฟไซต์ 3 ชนิดที่สามารถทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน ประกอบไปด้วย

  • B-Cell เป็นเซลล์ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • T-Cell ทำหน้าที่ช่วย B-Cell สร้างภูมิคุ้มกัน
  • Natural Killer (NK) Cell ทำหน้าที่โจมตีเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส หรือเซลล์มะเร็ง

แม้มะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนมากจะจัดอยู่ในกลุ่มฮอดจ์กิน หรือนอนฮอดจ์กิน แต่มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดก็มีลักษณะโดดเด่นไม่เหมือนชนิดอื่น เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ผิวหนัง (Skin lymphoma) มีอีกชื่อหนึ่งว่า "มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Cutaneous T-Cell (Cutaneous T-Cell Lymphoma) " พบได้ประมาณ 2-3% ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน 
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็ก มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในเด็กพบได้ประมาณ 10-15% ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน และ 5% ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน 
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เกี่ยวข้องกับโรค AIDS มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ประมาณ 10% เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน
  • Waldenström macroglobulinemia (WM) เป็นมะเร็งที่เริ่มต้นจาก B-Cells ในระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์มะเร็งในโรคนี้มีลักษณะเหมือนกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดอีก 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน และ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัลติเพิลไมอิโลมา (Multiple Myeloma)

อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการลุกลามไปตามระยะของโรคซึ่งแบ่งออกได้ 4 ระยะดังนี้ 

  • ระยะที่ 1: เริ่มมีรอยโรคมะเร็ง (ก้อนมะเร็ง) ที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่น ลำคอ รักแร้ ช่องท้อง ขาหนีบ
  • ระยะที่ 2: มีรอยโรคมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 2 จุดขึ้นไป โดยรอยโรคจะอยู่ด้านเดียวกับกระบังลม เช่น คอข้างซ้าย รักแร้ซ้าย
  • ระยะที่ 3: มีรอยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือคนละด้านกับกระบังลม หรืออยู่ทั้ง และใต้กระบังลม 
  • ระยะที่ 4: เชื้อมะเร็งกระจายตัวออกไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ไขกระดูก ตับ ปอด สมอง 

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือยังจะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว เหงื่อออกมากในเวลากลางคืน มีไข้ หนาวสั่น หายใจไม่สะดวก ปวดศีรษะ และการคลำเจอก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองก็ไม่ได้สร้างอาการเจ็บปวดใดๆ ด้วย

หากคุณคลำเจอก้อนเนื้อบางอย่างแล้วไม่ได้รู้สึกเจ็บอะไร อย่าเพิ่งวางใจว่ามันไม่เป็นอันตราย

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

แพทย์จะซักประวัติสุขภาพเบื้องต้น จากนั้นอาจมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาต่อไป หรืออาจมีการย้อมชิ้นเนื้อด้วยน้ำยา การทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) บริเวณช่องท้อง รวมถึงเจาะไขกระดูกเพื่อหาระยะของโรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะ และการลุกลามของโรค แต่โดยทั่วไปแล้ว การรักษาที่นิยมที่สุด ได้แก่

  • การใช้ยา อาจเป็นยาเคมีบำบัดเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง หรือยาปฏิชีวนะ
  • การฉายรังสีรักษา (Radiation therapy) โดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ และรังสีโปรตอนเข้าไปกำจัดเซลล์มะเร็ง เป็นวิธีที่มักใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถทนยาเคมีบำบัดได้ หรือมีก้อนมะเร็งใหญ่มาก
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก โดยใช้ Stem Cell ไขกระดูกของผู้บริจาคที่เข้ากันได้เท่านั้น และยังต้องมีการใช้รังสีหรือยาเคมีเพื่อกดภูมิคุ้มกัน ไม่ให้ร่างกายต่อต้านเซลล์ที่ปลูกถ่ายเข้าไป

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การดูแลตนเองก็เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะในระหว่าง และหลังการรักษา เพราะจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และป้องกันไม่ให้เชื้อมะเร็งแพร่กระจายหรือกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยวิธีการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ได้แก่

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมไม่หักโหม เพราะอาจเสี่ยงหน้ามืดเป็นลมได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นผักผลไม้เป็นหลัก รวมถึงอาหารที่ให้พลังงานต่อร่างกาย เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารดิบ และอาหารหมักดอง
  • งดสูบบุหรี่ และงดบริโภคแอลกอฮอล์
  • รักษาสุขอนามัยร่างกายให้สะอาด โดยเฉพาะบริเวณช่องปาก และทวารหนัก
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็งทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lymphoma. The American Society of Hematology. (Available via: https://www.hematology.org/education/patients/blood-cancers/lymphoma)
Lymphoma. National Cancer Institute. (Available via: https://www.cancer.gov/types/lymphoma)
Lymphoma Information - Hodgkin Lymphoma - Non-Hodgkin Lymphoma. Leukemia & Lymphoma Society. (Available via: https://www.lls.org/lymphoma)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ต่อมน้ำเหลืองโตอาการเป็นไงครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีการปวดตามตัว คลำที่คอมีก้อนอยู่ด้านใน เวลาคลำรู้สึกเจ็บ จะเป็นต่อมน้ำเหลืองโตหรือปล่าวคะ เคียดมากๆค่ะตอนนี้
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)