ชื่อท้องถิ่น : ฟ้าทลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) , หญ้ากันงู (สงขลา) ,ฟ้าสาง (พนัสนิคม) , เขยตายยายคลุม (โพธาราม) , สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) , เมฆทลาย (ยะลา) , ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ลักษณะของพืช
ฟ้าทลายโจรเป็นพืชล้มลุก สูง 1 – 2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งเล็กด้านข้างจำนวนมากใบสีเขียว ตัวใบรียาว ปลายแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาว มีขอบกระสีม่วงแดง ฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดในสีน้ำตาลอ่อน
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยาเก็บ : ในช่วงเริ่มออกดอก ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย : รสขม
วิธีใช้
ใบฟ้าทลายโจรใช้รักษาอาการท้องเสียและอาการเจ็บคอ มีวิธีใช้ 3 วิธีดังนี้คือ
- ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทลายโจรสด 1 – 3 กำมือ (แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ) ต้มกับน้ำนาน 10 – 15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ ยาต้มฟ้าทลายโจรมีรสขมมาก
- ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทลายโจรสด ล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ควรผึ่งในร่มที่มีอากาศโปร่งห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นเมล็ดยาลูกกลอน ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 เซนติเมตร ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้งและมิดชิด รับประทานครั้งละ 3 – 6 เมล็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
- ยาดองเหล้า นำใบฟ้าทลายโจรแห้ง ขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้วใช้เหล้าโรง 40 ดีกรี แช่พอให้ท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวด หรือคนยาวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3 – 4 ครั้ง ก่อนอาหาร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท