ชื่อท้องถิ่น : ขิงเผือก (เชียงใหม่) , ขิงแคลง , ขิงแดง (จันทบุรี) , สะเอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะของพืช
ขิงเป็นพืชล้มลุกมีแง่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว ลำต้นที่อยู่เหนือต้นงอกจากแง่งตั้งตรงยาวราว 2 – 3 ศอก ใบสีเขียว เรียวแคบ ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่องขนากเล็กก้านดอกสั้น ดอกสีเหลืองและจะบานจากโคนไปหาส่วนปลาย
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1188 บาท ลดสูงสุด 7500 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่สด
ช่วงเวลาที่เป็นยา : เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11 – 12 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย : รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
วิธีใช้
เหง้าขิงใช้เป็นยารักษาอาการต่างๆ ดังนี้
- อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และอาการคลื่นไส้อาเจียน เนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถ เมาเรือ โดยใช้เหง้าแก่สดขยาดเท่าหัวแม่มืด (ประมาณ 5 กรัม) ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม
- อาการไอ มีเสมหะ ฝนกับน้ำมะนาว รหือใช้เหง้าสดตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและแทรกเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ