วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

อะไรคือตัวไรฝุ่น สัมผัสแล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

ไรฝุ่นคืออะไร รวมอาการจากภูมิแพ้ไรฝุ่น วิธีรักษา และกำจัด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อะไรคือตัวไรฝุ่น สัมผัสแล้วส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไรฝุ่นคือ สัตว์ตระกูลเดียวกับหิดและแมงมุม มีอาหารหลักเป็นละอองขี้ไคล รังแคจากมนุษย์ และสัตว์
  • คำว่า "ถูกไรฝุ่นกัด" ไม่ได้หมายถึง การถูกเขี้ยวไรฝุ่นกัดจนเกิดแผล แต่หมายถึงการสัมผัสถูกไรฝุ่นจนเกิดอาการภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล มีเสมหะ คันระคายเคืองคอ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีผื่นแดง
  • วิธีรักษาอาการภูมิแพ้ไรฝุ่นได้แก่ การรับประทานยาแก้แพ้ ยาหดหลอดเลือด รับวัคซีนภูมิแพ้ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
  • วิธีลดปริมาณไรฝุ่นโดยหลักๆ คือ อย่าปล่อยให้ภายในบ้านอับชื้น หมั่นทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ ทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนอยู่เสมอ ตากเครื่องนอน เครื่องใช้ในบ้านที่ทำจากผ้า หรือขนสัตว์ กับแดดจัดๆ เสมอ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

เมื่อพูดถึงไรฝุ่น หลายคนคงนึกถึงโรคภูมิแพ้ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไอจาม น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการสัมผัสไรฝุ่น

แล้วไรฝุ่นคืออะไร เป็นสัตว์หรือเปล่า มีรูปร่างลักษณะอย่างไร อาการแพ้จากไรฝุ่นกัดร้ายแรงขนาดไหน บทความนี้มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของไรฝุ่น

ไรฝุ่น (Dust mite) ถือเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกับหิด และแมงมุม สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาดเล็กเพียงประมาณ 1.3 มิลลิเมตร ต้องส่องดูผ่านกล้องจุลทรรศน์เท่านั้น

อาหารหลักของไรฝุ่นคือ ละอองขี้ไคล รังแคจากมนุษย์ และสัตว์ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ไรฝุ่นมีแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกที่ โดยเฉพาะในห้องนอน เพราะไรฝุ่นจะเติบโต และชอบอาศัยอยู่ในที่มืด อับชื้น

นอกจากนี้ภายในห้องนอนยังเต็มไปด้วยผ้า พรม เฟอร์นิเจอร์บางชนิดที่ง่ายต่อการจับตัวของละอองขี้ไคลกับรังแค จึงถือเป็นที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับไรฝุ่น

ไรฝุ่นที่มักก่ออาการภูมิแพ้ต่อมนุษย์จะแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

  • ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides pteronyssinus (DP)
  • ไรฝุ่นชนิด Dermatophagoides farinae (DF)

อาการแสดงเมื่อไรฝุ่นกัด

คำว่า “ไรฝุ่นกัด” ไม่ได้หมายความว่า ถูกเขี้ยวของไรฝุ่นกัดจนมีบาดแผล เพราะสัตว์ชนิดนี้จะไม่กัด ต่อย หรือแทงดูดเพราะปากของไรฝุ่นไม่ได้มีลักษณะแทงดูด (Piercing & sucking mouthpart) ซึ่งเป็นลักษณะปากของแมลงที่สามารถกัด หรือต่อยผิวหนังคนให้เกิดบาดแผลได้ เช่น

  • เพลี้ย
  • แมลงหวี่ขาว
  • ไรแดง

แต่ความจริงแล้ว การถูกไรฝุ่นกัด หมายถึง การสัมผัสถูกตัวไรฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากจนร่างกายเกิดปฏิกิริยาเป็นอาการภูมิแพ้ต่างหาก โดยภูมิแพ้ไรฝุ่น (Dust mite allergy) จะอาการแสดงโดยหลักๆ ต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ปวดตึงใบหน้าคล้ายกับอาการไซนัสอักเสบ
  • น้ำตาไหล
  • แสบเคืองตาจนตาแดง หรือตาบวม
  • คัดจมูก มีน้ำมูกมากผิดปกติ
  • หายใจลำบาก
  • มีเสมหะในคอ
  • คันระคายเคืองคอ
  • จาม ไอผิดปกติ
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • คันระคายเคืองผิวหนัง
  • มีผื่นแดงขึ้น

ส่วนมากอาการภูมิแพ้จากไรฝุ่นจะหนักมากขึ้นในช่วงกลางคืน ทำให้ผู้ป่วยต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพราะอาการภูมิแพ้เกิดกำเริบ เมื่ออาการนี้เป็นเรื้อรังบ่อยๆ ขึ้นก็จะส่งผลเสียทำให้ร่างกายผู้ป่วยอ่อนเพลียมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพักผ่อนไม่เพียงพอ 

วิธีรักษาอาการภูมิแพ้ไรฝุ่น

อาการภูมิแพ้ไรฝุ่นสามารถรักษาได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การรับประทานยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) เพื่อไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้ต่อต้านอาการแพ้ไรฝุ่น โดยยาแก้แพ้ที่นิยมจ่ายเพื่อรักษาอาการนี้ ได้แก่ ยาซีร์เทค (Zytec®) แคลระทิน (Claritin®) ยาเบนาดริล (Benadryl®)
  • การรับประทานยาหดหลอดเลือด (Decongestants) ซึ่งเป็นยาช่วยลดอาการคัดจมูก น้ำจมูกไหล ปวดศีรษะจากอาการไซนัสอักเสบได้
  • การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Intranasal steroids) เพื่อลดอาการอักเสบในเยื่อบุโพรงจมูก รวมถึงเป็นยารักษาอาการภูมิแพ้ได้ด้วย เช่น ยาโฟลนาส (Flonase®) ยานาโซเน็กซ์ (Nasonex®) แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแล และสั่งจ่ายโดยแพทย์
  • รับวัคซีนภูมิแพ้ (Allergy shots) หรือวัคซีนรักษาโรคไรฝุ่น เพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายขึ้นมาใหม่เพื่อต่อต้านอาการแพ้ไรฝุ่น โดยแพทย์จะฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้งเป็นระยะเวลา 3-6 เดือน โดยเริ่มจากปริมาณเล็กน้อย และค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น

นอกจากนี้ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ไรฝุ่นก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจภูมิแพ้ เพื่อให้แน่ใจว่า ร่างกายไม่ได้มีความผิดปกติ หรือภาวะแพ้อื่นๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน

วิธีกำจัดไรฝุ่น

เพื่อป้องกันการเกิดภูมิแพ้ไรฝุ่น คุณควรกำจัดปริมาณไรฝุ่นออกไปจากบริเวณบ้านให้ได้มากที่สุด ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • อย่าปล่อยให้ภายในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณห้องนอนอับชื้น หรือร้อนจัด แต่ควรเปิดหน้าต่างให้อากาศในห้องถ่ายเท มีลมเข้าออกเสมอ
  • ทุกครั้งที่ตื่นนอน หรือเก็บที่นอน ให้หาผ้าคลุมเตียงไว้ทุกครั้ง
  • หมั่นทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ด้วยเครื่องดูดฝุ่น ตามด้วยผ้าชุดน้ำหมาดๆ หรือพยายามให้ในบ้านมีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้า บุหนัง หรือขนให้น้อยที่สุด และควรหลีกเลี่ยงการมีพรมปูพื้น ผ้าม่านที่ง่ายต่อการจับตัวของไรฝุ่น
  • ทำความสะอาดเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดไรฝุ่น และเชื้อโรคที่ติดอยู่บนเนื้อผ้า
  • ตากเครื่องนอน เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้านที่ทำจากผ้า หรือขนกับแดดจัดๆ เพื่อให้ไข่ไรฝุ่นที่กำลังฟักตัวฝ่อ และทำให้ไรฝุ่นที่อยู่บนผ้าตาย
  • ใช้ที่นอนที่ทำจากวัสดุป้องกันไรฝุ่น
  • ใช้แผ่นกรองอากาศที่ทำจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส หรือเรียกอีกชื่อว่า “แผ่นกรองอากาศ HEPA” เพื่อช่วยกรองฝุ่นละออง และไรฝุ่นที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

การกำจัดไรฝุ่นภายในบ้านเป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้ฝุ่นเท่านั้น แต่หากคุณมีอาการของโรคภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว ก็ต้องเข้ารับการรักษาอาการนี้กับแพทย์ควบคู่ไปกับการจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้ปลอดไรฝุ่นด้วย

ไรฝุ่นอาจไม่ได้สร้างอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นร้ายแรง แต่ก็สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิต และอาการภูมิแพ้ไรฝุ่นก็เป็นอาการเรื้อรังที่จะต้องใช้เวลาในการรักษา มักไม่สามารถหายได้ในระยะเวลาอันสั้น

เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองต้องเผชิญกับโรคเรื้อรังชนิดนี้ คุณจึงควรศึกษาวิธีกำจัดไรฝุ่นออกไปจากบ้านให้ได้มากที่สุด เพื่อที่ตนเองจะได้ไม่ต้องตกเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกไรฝุ่นกัด และเกิดอาการแพ้ตามมา

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Justin Choi, Dust Mite Allgies (https://www.healthline.com/health/allergies/dust-mites), 30 November 2020.
Alana Biggers, What Dust Mite Bites Look Like and How to Get Rid of Them (https://www.healthline.com/health/dust-mites-bites), 30 November 2020.
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน และรศ.พญ. อัญชลี ตั้งตรงจิตร, ลดไรฝุ่น...สารก่อภูมิแพ้อันดับ 1 (https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1056), 30 พฤศจิกายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป