วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

อุณหภูมิร่างกายปกติเป็นอย่างไร วิธีวัดมีกี่วิธี อะไรทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้

รวมข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิร่างกาย มีกี่ชนิด วัดได้อย่างไรบ้าง ในแต่ละช่วงวัยต้องอุณหภูมิเท่าไรจึงจะปกติ อะไรทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
อุณหภูมิร่างกายปกติเป็นอย่างไร วิธีวัดมีกี่วิธี อะไรทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงได้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อุณหภูมิร่างกายคือ สมดุลความร้อนในร่างกายที่สามารถผันแปรไปตามปัจจัยรอบตัวได้ตลอดเวลา เช่น อายุ เวลาระหว่างวัน เพศ ความเครียด กิจกรรมที่ทำอยู่ ณ เวลานั้น รูปร่าง อาหาร หรือเครื่องดื่มที่รับประทาน 
  • อุณหภูมิปกติของร่างกายคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส คนแต่ละวัยก็จะมีตัวเลขอุณหภูมิเฉลี่ยซึ่งแตกต่างกันไป
  • ความผิดปกติของร่างกายที่มักตรวจวินิจฉัยได้จากอุณหภูมิร่างกายคือ เป็นไข้ ภาวะตัวร้อนผิดปกติ ภาวะตัวเย็นผิดปกติ เป็นลมแดด อาการขาดน้ำ
  • เครื่องมือวัดอุณหภูมิร่างกายที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบันมี 4 แบบ คือ ปรอทแก้ววัดไข้ ปรอทวัดไข้ดิจิตอล ปรอทวัดไข้ทางหู เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด 
  • ช่องทางบนร่างกายที่มักใช้วัดอุณหภูมิมีอยู่ 5 ช่องทางหลักๆ คือ ทางปาก รักแร้ ทวารหนัก หู และหน้าผาก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

อุณหภูมิร่างกายเป็นอีกตัวที่สามารถวัดความผิดปกติในร่างกายและจะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่า อุณหภูมิร่างกายที่ปกติและไม่ปกตินั้นอยู่ที่ประมาณเท่าไรกันแน่

นอกจากนี้ยังมีคนจำนวนมากที่ไม่รู้วิธีการวัดอุณหภูมิร่างกายอย่างถูกต้อง และไม่รู้ว่า มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจนอาจเข้าใจผิดว่า ตนเอง หรือคนใกล้ชิดกำลังป่วยอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เรามาดูข้อมูลพร้อมกันว่า อุณหภูมิร่างกายปกตินั้นเป็นอย่างไร แล้วมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไรว่า อุณหภูมิร่างกายของคนเราอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

อุณหภูมิร่างกายคืออะไร?

อุณหภูมิร่างกาย (Body Temperature) คือ ระดับสมดุลความร้อนในร่างกายซึ่งจะมีความผันแปรไปตามปัจจัยรอบตัว รวมไปถึงเกิดจากการสร้างความร้อนของกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกาย

อุณหภูมิร่างกายจะมีศูนย์ควบคุมสำคัญอยู่ที่สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะตั้งอุณหภูมิร่างกายปกติอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส 

สมองส่วนไฮโปทาลามัสยังมีหน้าที่ควบคุมระบบบางส่วนของร่างกายให้ทำงานเป็นปกติ เพื่อให้อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมด้วย ได้แก่

  • การไหลเวียนของเลือดไปสู่ผิวหนังทั่วร่างกาย
  • การสร้างความร้อนภายในร่างกาย
  • การตั้งชันของเส้นขน
  • การขับเหงื่อของร่างกาย รวมถึงอาการหอบ

ชนิดของอุณหภูมิร่างกาย

แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  1. Surface Temperature เป็นอุณหภูมิร่างกายบริเวณผิวหนังของร่างกาย
  2. Core Temperature เป็นอุณหภูมิในส่วนแกนกลางของร่างกาย รวมถึงภายในระบบไหลเวียนเลือด ได้แก่ ทรวงอก ช่องท้อง หัวใจ หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดแดง

อุณหภูมิร่างกายของแต่ละช่วงวัย

อุณหภูมิร่างกายปกติของคนแต่ละช่วงวัยสามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • วัยทารก และเด็กเล็ก ควรมีอุณหภูมิร่างกายประมาณ 36.6-37.2 องศาเซลเซียส
  • วัยผู้ใหญ่ ควรมีอุณหภูมิร่างกายประมาณ 36.1-37.2 องศาเซลเซียส
  • วัยสูงอายุ หรือผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ควรมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 36.2 องศาเซลเซียส

ปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง

ทุกกิจกรรม รวมถึงภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นของเรามีผลต่ออุณหภูมิของร่างกายทั้งนั้น ได้แก่

  • อายุ สภาพร่างกายของคนแต่ละช่วงวัยจะไม่เหมือนกัน เช่น ผู้สูงอายุจะมีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และปริมาณไขมันน้อยลงกว่าคนวัยอื่น จึงมักมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าคนวัยอื่น

  • เวลาระหว่างวัน ในระหว่างทำกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวัน อุณหภูมิร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ประมาณ 1 องศาเซลเซียส โดยช่วงเวลาที่อุณหภูมิร่างกายสูงที่สุดจะอยู่ในช่วงประมาณ 8 โมงเช้าถึงเที่ยงวัน และจะอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงนอนหลับคือ ช่วงตี 4 ถึง 6 โมงเช้า

  • เพศ โดยปกติอุณหภูมิร่างกายของผู้หญิงจะเปลี่ยนแปลงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงมีประจำเดือน อุณหภูมิร่างกายอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5 องศาเซลเซียส

  • กิจกรรมที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น หากคุณกำลังออกแรง หรือออกกำลังกาย อัตราการเผาผลาญของร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นไปด้วย

  • สภาพแวดล้อม การนั่งอยู่ในบริเวณที่แดดจัด อบอ้าว หรืออยู่ในห้องแอร์ย่อมส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายมีการเพิ่ม หรือลดลงแตกต่างกันไป เหมือนเหงื่อที่ออกเวลาเราร้อน กับผิวที่เย็นเมื่อนั่งอยู่ในห้องที่อากาศหนาวนานๆ

  • รูปร่าง ผู้ที่มีรูปร่างผอมจะมีชั้นไขมันใต้ผิวหนัง รวมถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังน้อย ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลงได้ง่ายกว่า

  • อาหาร การรับประทานอาหารร้อนจัด หรือเครื่องดื่มร้อนๆ ย่อมส่งผลให้อุณหภูมิในช่องปากเพิ่มมากขึ้นได้
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย การใช้ยาบางชนิด เหล่านี้ซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนและยากจะวินิจฉัยให้แม่นยำถูกต้องได้

นอกจากปัจจัยเหล่านี้แล้ว เชื่อไหมว่า "ความเครียด" ก็มีผลต่อระดับอุณหภูมิของร่างกายเช่นเดียวกัน ผู้ที่มีระดับความเครียดสูงกว่าปกติ จะทำให้อัตราการเผาผลาญในร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย และทำให้ร่างกายผลิตความร้อนมากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ความเครียดมีหลายระดับและหลากหลายรูปแบบ บางคนก็เครียดโดยไม่รู้ตัว แต่ปัจจุบันมีบริการตรวจวิเคราะห์ความเครียด (Stress) ตามสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลต่างๆ จุดมุ่งหมายเพื่อให้คุณรู้ว่า "คุณกำลังมีความเครียดอยู่หรือไม่" 

หากพบว่า มีความเครียดจะต้องจัดการ หรือแก้ไขความเครียดที่เกิดขึ้นอย่างไร ให้ถูกต้องและเหมาะสม นั่นเอง

โรค หรือความผิดปกติที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า อุณหภูมิร่างกายคือ ตัวบ่งบอกความผิดปกติที่เกิดขึ้นของร่างกายได้ ซึ่งโรค หรือความผิดปกติที่มักเป็นปัจจัยทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่

  • เป็นไข้ เป็นหนึ่งในอาการของหลายๆ โรค เช่น โรคไข้หวัด โรคปอดอักเสบ โรคไข้เลือดออก เป็นอาการที่อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นกว่าปกติ โดยอยู่ที่ประมาณ 38 องศาเซลเซียส ซึ่งหากมีไข้สูงถึง 39 องศาเซลเซียส ควรรีบพาไปพบแพทย์ก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการช็อก

  • ภาวะตัวร้อนผิดปกติ (Hyperthermia) เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ อาจเกิดจากการออกกำลังกายหนักเกินไป การติดเชื้อ หรืออวัยวะภายในเกิดการอักเสบ จนทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส

  • ภาวะตัวเย็นผิดปกติ (Hypothermia) เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียความร้อน หรืออยู่ในสถานที่เย็นเกินไป จนอุณหภูมิร่างกายลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส รวมถึงระบบการหายใจลดต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นลง

  • เป็นลมแดด (Heat Stroke) เป็นอาการที่ร่างกายจะอุณหภูมิสูงขึ้นกว่า 40.5 องศาเซลเซียส มีสาเหตุจากการอยู่ในที่ร้อนจัด หรือสัมผัสแดดจัดนาน รวมถึงไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ รวมกับมีอาการกระหายน้ำ คลื่นไส้อาเจียน มึนงง

  • อาการขาดน้ำ (Dehydration) เป็นอาการที่ร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอจนผิวหนังแห้ง อ่อนเพลีย อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นกว่าเดิม และชีพจรเต้นเร็ว

วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายอย่างเหมาะสม

อุปกรณ์วัดอุณหภูมิร่างกายในปัจจุบันที่นิยมใช้กันได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ปรอทแก้ววัดไข้
  • ปรอทวัดไข้ดิจิตอล
  • ปรอทวัดไข้ทางหู
  • เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด

การวัดอุณหภูมิร่างกายสามารถวัดได้หลักๆ 5 ช่องทาง ได้แก่

  • ทางปาก จะใช้ปรอทแก้ววัดไข้ หรือปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลสอดไว้ใต้ลิ้นแล้วหุบปากให้สนิท ก่อนจะทิ้งไว้ประมาณ 2 นาที แล้วนำออกมาเช็ดปลายปรอทด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ แล้วอ่านค่าระดับอุณหภูมิร่างกาย

  • ทางรักแร้ ใช้ปรอทวัดไข้ชนิดเดียวกับที่ใช้ทางปาก โดยให้หนีบปรอทไว้ที่ซอกรักแร้ ให้กระเปาะปรอทอยู่กึ่งกลางของรักแร้ แล้วหนีบให้แน่นเป็นเวลา 5-10 นาที จากนั้นนำออกมาอ่านค่าระดับอุณหภูมิ แล้วค่อยทำความสะอาด

  • ทางทวารหนัก จะใช้ปรอทวัดไข้สำหรับสอดเข้าทางทวารหนักโดยเฉพาะ โดยจะใช้เจลทาที่ทวารหนักก่อน แล้วสอดปรอทเข้าไปในทวารหนักลึกประมาณ 1 นิ้ว เป็นเวลา 2 นาที นำออกมาทำความสะอาด แล้วจึงอ่านค่าระดับอุณหภูมิ วิธีนี้นิยมตรวจเฉพาะในเด็กเล็ก

  • ทางหู มักตรวจโดยใช้ปรอทวัดไข้ทางหูโดยเฉพาะ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด ผ่านการใช้วิธีจ่ออุปกรณ์วัดใกล้กับรูหูผู้เข้าตรวจ แล้วตัวเลขค่าอุณหภูมิร่างกายจะแสดงออกมาทางจอบนเครื่อง

    สำหรับปรอทวัดไข้ทางหู ทางผู้ตรวจจะต้องดึงใบหูผู้เข้าตรวจขึ้น และดึงไปด้านหลังเพื่อให้ง่ายต่อการสอดอุปกรณ์เข้าไปในรูหูเพื่อวัดอุณหภูมิด้วย

  • ทางหน้าผาก จะตรวจโดยใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดเช่นเดียวกัน โดยผู้ตรวจจะหันปลายเครื่องวัดที่หน้าผากผู้เข้าตรวจแล้วกดปุ่มวัด จากนั้นตัวเลขค่าอุณหภูมิจะแสดงออกมาทางจอบนเครื่อง

สำหรับความแม่นยำในการตรวจวัดอุณหภูมินั้น การตรวจทางหูและทวารหนักจะเป็นการตรวจที่บอกค่าอุณหภูมิร่างกายถูกต้องที่สุด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้การวัดอุณหภูมิออกมาแม่นยำนั้นมีหลายอย่าง เช่น

  • คุณภาพของอุปกรณ์ตรวจ
  • ผู้เข้าตรวจอาบน้ำอุ่น ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำเย็นมาก่อนตรวจวัด
  • ผู้เข้าตรวจออกกำลังกายมาก่อนตรวจวัดอุณหภูมิ
  • ผู้เข้าตรวจมีเหงื่อออกระหว่างตรวจ
  • ผู้เข้าตรวจขยับตัว ไม่อยู่นิ่งขณะวัดอุณหภูมิ
  • สภาพแวดล้อมรอบตัวผู้เข้าตรวจหนาว หรือร้อนจัด
  • ผู้เข้าตรวจมีภาวะขาดน้ำขณะตรวจวัด

อุณหภูมิร่างกายเป็นค่าตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ด้วยปัจจัยรอบตัวซึ่งล้วนสามารถส่งผลทำให้ค่าอุณหภูมิเปลี่ยนไปได้ คุณไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลกับค่าอุณหภูมิที่แสดงออกมาเวลาตรวจวัด เพียงแค่รักษาระดับสมดุลความร้อนให้อยู่ในเกณฑ์ไม่ผิดปกติก็พอ

หรือหากรู้ว่า ตนเองมีอาการหนาวสั่น รู้สึกตัวร้อนผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่า ร่างกายมีความผิดปกติในส่วนใด จะได้แก้ไข หรือทำการรักษาได้ทันท่วงที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sabrina Felson, What Is Normal Body Temperature (https://www.webmd.com/first-aid/normal-body-temperature#2), 2 September 2020.
Del Bene VE. Temperature. In: Walker HK, Hall WD, Hurst JW, editors. Clinical Methods: The History, Physical, and Laboratory Examinations. 3rd edition. Boston: Butterworths; 1990. Chapter 218. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK331/), 10 October 2020.
Cleveland Clinic. Thermopeters: How to take your temperature. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9959-thermometers-how-to-take-your-temperature), 10 October 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม