วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมาจากไหน รักษาอย่างไรดี

การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะรักษาได้หรือไม่ เกิดจากอะไร อ่านข้อมูลได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะมาจากไหน รักษาอย่างไรดี

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะคือ ก้อนนิ่วที่สะสมจากไต หรือท่อไต แล้วไหลเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ หรือเป็นน้ำปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะจนตกตะกอนกลายเป็นของแข็ง
  • เมื่อเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง ปัสสาวะบ่อย ปวดท้องน้อย หรือเอวข้างที่มีนิ่ว ปัสสาวะมีเลือดปน
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วจะเกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายปัสสาวะเกือบทั้งหมด เช่น นิ่วในไต โรคต่อมลูกหมากโต ภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น ดื่มน้ำน้อย รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่มาก
  • ส่วนมากการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะจะเป็นการผ่าตัดนำนิ่วออก แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก แพทย์อาจให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ก้อนนิ่วออกมาจากร่างกายพร้อมน้ำปัสสาวะแทน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

หลายคนคงได้ยินคำว่า "นิ่ว" ในอวัยวะภายในมาก่อน แต่อาจยังไม่ทราบที่มาที่ไปว่า นิ่วเกิดจากอะไร แล้วมีความร้ายแรงต่อร่างกายมากขนาดไหน 

วันนี้เราจะมาเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะกันว่า มีสาเหตุทำให้เกิดมาจากอะไร วิธีรักษา และป้องกันได้อย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของนิ่ว

นิ่ว (Stone) คือ ก้อนของแข็งซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของหินปูน หรือเกลือแร่ในร่างกายซึ่งมีสาเหตุทำให้เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • อายุที่มากขึ้น โดยนิ่วในร่างกายมักพบในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้ป่วยหญิง โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
  • เป็นอัมพาต ซึ่งเป็นภาวะที่กล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และทำให้ไม่สามารถปัสสาวะออกจากร่างกายได้
  • ดื่มน้ำน้อย
  • ความไม่สมดุลของสารตกผลึกกับสารคอลลอยด์ในน้ำปัสสาวะ
  • ความผิดปกติของการเผาผลาญ และการขับเกลือแร่ในร่างกาย
  • การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ
  • การรับประทานอาหารที่มีสารก่อนิ่วอย่าง “สารออกซาเลท (Oxalate)” เช่น เนื้อสัตว์ ผักโขม มะเขือเทศ มันฝรั่ง

ความหมายของนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Bladder stone) คือ ก้อนนิ่วที่สะสมอยู่ในไต หรือท่อไตแล้วหลุดเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ และยังเกิดขึ้นได้จากการขับปัสสาวะไม่หมด หรือการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ จนทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะมากเกินไป 

เมื่อเวลาผ่านไป น้ำปัสสาวะก็จะตกตะกอนเป็นของแข็ง และกลายเป็นก้อนนิ่วในที่สุด

อาการของผู้ป่วยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะจะมีดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บอวัยวะเพศหลังจากปัสสาวะ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน
  • มีปัสสาวะกะปริบกะปรอย
  • ปวดเจ็บท้องน้อย หรือเอวข้างที่มีนิ่ว
  • ปัสสาวะมีเลือดปน

สาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นอกจากสาเหตุทำให้เกิดนิ่วที่กล่าวไปข้างต้น สาเหตุโดยเจาะจงที่ทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้แก่

  • ปัญหากระเพาะปัสสาวะหย่อน (Cystocele) จนส่งผลกระทบต่อการไหลออกของน้ำปัสสาวะ และทำให้ในกระเพาะปัสสาวะมีของเสียคั่งค้างอยู่ในปริมาณมาก

  • นิ่วในไต (Kidney Stones) ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า ก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถเกิดได้จากนิ่วที่อยู่ในไตก่อนหน้านี้ แล้วได้หลุดเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะภายหลัง

  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Bladder inflammation) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วแทบทุกชนิด ซึ่งการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะนั้นยังสามารถเกิดได้จากการรักษาทางรังสี (Radiation therapy) อีกด้วย เพราะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายใหญ่ขึ้น จนปัสสาวะตกค้างอยู่ได้ง่าย

  • โรคต่อมลูกหมากโต (Prostate enlargement) ซึ่งมีส่วนกดทับทางเดินปัสสาวะ และทำให้การไหลของน้ำปัสสาวะไม่คล่องอย่างที่ควรจะเป็น จนทำให้ปัสสาวะตกค้างกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ และเกิดเป็นนิ่วในภายหลัง

  • ระบบประสาทผิดปกติจนส่งผลต่อกระเพาะปัสสาวะ (Neurogenic Bladder: NB) ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือมีอาการหลอดเลือดสมอง จนทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะเสียหาย และทำให้ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด

  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง ขาดการบำรุงร่างกายด้วยวิตามินเอ และวิตามินบี มีส่วนทำให้เกิดก้อนนิ่วในร่างกายได้ ไม่เพียงแค่ในกระเพาะปัสสาวะเท่านั้น

การรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

หลังจากวินิจฉัยพบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแล้ว หากพบว่า ก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับก้อนนิ่วออกมาทางปัสสาวะเอง แต่หากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ ก็จำเป็นต้องใช้วิธีรักษาอื่น เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การผ่าตัด ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร เพื่อนำก้อนนิ่วออกจากกระเพาะปัสสาวะให้หมด โดยช่องทางที่จะนำก้อนนิ่วออกมีหลายทาง เช่น กรวยไต บริเวณหน้าท้องเหนือหัวหน่าว

  • การขบนิ่ว (Cystolitholapaxy) เป็นการทำลายก้อนนิ่วด้วยเลเซอร์ คลื่นเสียงความถี่สูง หรือการส่องกล้องเพื่อสลายก้อนนิ่วให้มีขนาดเล็กลง แล้วล้างออกจากกระเพาะปัสสาวะ

การสลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะอาจต้องทำหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาด ความแข็ง และจำนวนก้อนนิ่ว ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยจะต้องดูแลตนเองอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อน ร่างกายฟื้นฟูโดยเร็ว เช่น

  • งดยกของหนักประมาณ 1 สัปดาห์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้มากๆ ประมาณ 3-4 ลิตรต่อวัน เพื่อขับเศษนิ่วออกให้หมด
  • รับประทานยาแก้ปวดเมื่อปวดแผล

แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ในกรณีเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะร่วมกับมีอาการอักเสบ หรืออาจเป็นยารักษากรดด่างในปัสสาวะเพื่อรักษาอาการอื่นๆ เพิ่มเติม

หากตรวจพบว่า มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะก็ควรรีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะนิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถลุกลามทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรังได้ 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรังเป็นโรคที่ยากต่อการรักษาให้หายขาด ทั้งยังทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บอวัยวะเพศขณะปัสสาวะด้วย

นอกจากนี้นิ่วยังมีส่วนทำให้การทำงานของไตหนักขึ้นจนไตทั้ง 2 ข้างอาจเสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น และทำให้ขับของเสียลำบาก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

หากมีโอกาส ผู้ป่วยนิ่วในกระเพาะปัสสาวะควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตพื้นฐานควบคู่กันไป ก็จะเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคไตไปด้วยในตัว หรือช่วยให้รู้เท่าทันโรคมากยิ่งขึ้น   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจคัดกรองนิ่ว สลายนิ่ว รักษานิ่ว วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,930 บาท ลดสูงสุด 4,518 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะสามารถป้องกันได้ดังต่อไปนี้

  • ไม่กลั้นปัสสาวะ เมื่อปวดปัสสาวะให้รีบไปเข้าห้องน้ำ
  • เมื่อตรวจพบนิ่ว ให้รีบรักษาก่อนที่ปริมาณนิ่วจะเพิ่มมากขึ้นและก้อนนิ่วจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
  • ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อไม่ให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นเกินไป และอยู่ในปริมาณเจือจางเหมาะสมกับร่างกาย
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสม หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่เสี่ยงทำให้เกิดนิ่ว ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น หรือควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานเลยจะดีที่สุด
  • หากสังเกตว่า ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดท้องหลังขับปัสสาวะ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยทันที

การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณอวัยวะอื่นๆ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย และบางปัจจัยที่ทำให้เกิดนิ่วก็ยากต่อการควบคุมไม่ให้เกิดได้

ดังนั้นนอกจากคำแนะนำที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว คุณควรไปตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอประกอบกับการมีพฤติกรรมดูแลตนเองอย่างเหมาะสมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดนิ่วในร่างกายให้น้อยที่สุด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Minesh Khatri, What Are Bladder Stones? (https://www.webmd.com/kidney-stones/what-are-bladder-stones#2), 26 August 2020.
Judith Marcin, All about bladder stones (https://www.medicalnewstoday.com/articles/184998), 26 August 2020.
ผศ.นพ.เอกรินทร์ โชติกวาณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, มารู้จัก...นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ (https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1334), 28 กันยายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม