กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคอัลไซเมอร์

เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในโรคที่คุ้นหูกันดี หมายถึง ภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ดังนั้นจึงกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และเป็นอันตรายต่อชีวิต แม้ว่าผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็ตาม

บทนำ

โรคอัลไซเมอร์เป็นชนิดของกลุ่มโรคสมองเสื่อม (Dementia) ที่พบได้มากที่สุด โดยมีผลต่อผู้ป่วยประมาณ 850,000 คนในสหราชอาณาจักร และมีผลต่อประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคทางระบบประสาทที่พัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ และมีผลต่อการทำงานของสมองหลายส่วนรวมถึงความจำด้วย

สาเหตุที่แท้จริงของโรคอัลไซเมอร์นั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แม้ว่าจะมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ ได้แก่:

  • อายุที่มากขึ้น
  • ประวัติครอบครัวที่เคยเป็นโรคดังกล่าวมาก่อน
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  • ปัจจัยวิถีชีวิต และสภาวะทางร่างกายเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

เป็นที่เข้าใจกันกันมากขึ้นว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยจะสามารถเป็นได้ทั้งโรคอัลไซเมอร์ และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด (vascular dementia) พร้อม ๆ กัน หรือเรียกว่าภาวะสมองเสื่อมผสม (mixed dementia)

อาการและอาการแสดงของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะที่เกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งหมายความว่าอาการจะค่อยๆพัฒนาขึ้นและรุนแรงขึ้นได้โดยใช้เวลาเป็นหลายปี โรคนี้จะมีผลต่อการทำงานของสมองหลายด้านด้วยกัน

สัญญาณแรกของโรคอัลไซเมอร์นั้นมักเป็นปัญหาเรื่องความจำเล็ก ๆ น้อย ๆ ตัวอย่างเช่น อาจลืมเกี่ยวกับบทสนทนาหรือเหตุการณ์ล่าสุด หรือลืมชื่อของสถานที่และวัตถุ

เมื่อโรคดำเนินไปมากขึ้น ๆ ปัญหาเรื่องความจำก็จะเป็นรุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่อาการอื่น ๆ ต่อไปได้ เช่น:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • สับสน, มึนงง และหลงทางแม้จะอยู่ในสถานที่ที่คุ้นเคย
  • วางแผนหรือ ตัดสินใจสิ่งใดก็ยาก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดและการใช้ภาษา
  • ปัญหาในการเคลื่อนที่เองโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือ รวมไปถึงปัญหาการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน
  • การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ เช่น ก้าวร้าว เรียกร้องความสนใจ หรือระแวงคนอื่นมากขึ้น
  • เกิดอาการหลอด (เห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริง) และเกิดภาพลวงตา (เชื่อสิ่งที่ไม่จริง)
  • อารมณ์หดหู่ หรือมีความวิตกกังวล

ใครมักจะเป็นโรคนี้

โรคอัลไซเมอร์พบมากในคนที่อายุเกิน 65 ปีและส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย

ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น ๆ จะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยพบโรคอัลไซเมอร์อยู่ที่

  • ประมาณ 1 ใน 14 คนที่มีอายุเกิน 65 ปี
  • ประมาณ 1 ใน 6 คนที่มีอายุเกิน 80 ปี

อย่างไรก็ตาม ประมาณ 1 คนในทุก 20 คนของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีอายุอยู่ระหว่าง 40 ถึง 65 ปี

การวินิจฉัยโรค

เนื่องจากอาการของโรคอัลไซเมอร์คืบหน้าช้า ค่อยเป็นค่อยไป จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าตนเองมีปัญหาดังกล่าว หลายคนรู้สึกว่าปัญหาขี้หลงขี้ลืมนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแก่ตัวลง

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อย่างทันท่วงที อาจทำให้คุณมีโอกาสที่ดีที่สุดในการเตรียมและวางแผนสำหรับอนาคต ตลอดจนได้รับการรักษาหรือการสนับสนุนที่อาจช่วยชะลอบรรเทาโรคได้ดีขึ้น

หากคุณกังวลเกี่ยวกับเรื่องความจำของคุณ หรือคิดว่าคุณอาจเป็นโรคสมองเสื่อมคุณควรเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณ หากคุณกังวลว่าคนใกล้ตัวเป็นก็ควรกระตุ้นและชักชวนให้พวกเขาทำการนัดเข้าพบแพทย์ และเข้าพบแพทย์พร้อมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่มีการตรวจใดที่สามารถทดสอบเพียงครั้งเดียวทแล้วสามารถใช้ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ทันที แพทย์ทั่วไปจะถามคำถามเกี่ยวกับปัญหาใด ๆ ที่คุณประสบอยู่ และอาจทำการตรวจหรือทดสอบเพิ่มเติมเพื่อตัดภาวะที่อาจเป็นไปได้ออกไปเพื่อให้การวินิจฉัยแม่นยำที่สุด

หากสงสัยว่าคุณหรือคนใกล้ตัวนั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์ ก็อาจถูกส่งต่อไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อ:

  • พูดคุยถึงกระบวนการในการวินิจฉัย
  • จัดการตรวจและทดสอบ
  • สร้างแผนการรักษา

โรคอัลไซเมอร์รักษาอย่างไร

ไม่มีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด แต่สามารถทานยาได้เพื่อช่วยบรรเทาอาการบางอย่าง และชะลอการพัฒนาของโรคในคนบางคน

นอกจากนี้ ยังมีการดูแลรักษาแบบประคับประคองอย่างอื่นอีกมากมาย เพื่อช่วยให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มีชีวิตอยู่อย่างอิสระและไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบ้านของคุณเพื่อให้สามารถเดินได้สะดวก และจดจำสิ่งที่ต้องทำประจำวันได้ง่ายขึ้น

การบำบัดทางจิตวิทยา เช่น การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด (cognitive stimulation therapy) อาจถูกนำมาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนเรื่องความจำ ทักษะการแก้ปัญหา และความสามารถทางภาษาของคุณ

ภาพรวมของโรค

โดยเฉลี่ยแล้ว คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีชีวิตอยู่ได้อีกประมาณ 8 ถึง 10 ปีหลังจากเริ่มมีอาการ อย่างไรก็ตามช่วงเวลานี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนที่มีอาการอาจจะมีชีวิตอยู่ได้นานกว่านี้ แต่บางคนก็ไม่เป็นเช่นนั้น

โรคอัลไซเมอร์ถือเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายถึงชีวิต แม้หลายคนจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จะเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคอัลโซเมอร์โดยตรงก็ตาม

เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะการเสื่อมของระบบประสาทที่ค่อยเป็นค่อยไป จึงอาจทำให้เกิดปัญหาในการกลืนได้ เหตุนี้จึงอาจนำไปสู่การสูดสำลัก (อาหารสำลักเข้าไปในปอด) และทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์เกิดการติดเชื้อในทรวงอกได้บ่อยมาก นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยสำหรับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในเรื่องปัญหาการรับประทานอาหาร และความอยากอาหารลดลง

มีความตระหนักเพิ่มขึ้นว่าคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งต้องมาจากการสนับสนุนจากครอบครัว รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์เองด้วย

สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่?

เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงของโรคอัลไซเมอร์ยังไม่ชัดเจน จึงไม่มีทางใดที่จะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้ อย่างไรก็ตาม มีหลายสิ่งที่คุณสามารถทำได้ซึ่งอาจลดความเสี่ยงของคุณ หรือชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมเช่น:

  • งดสูบบุหรี่และลดปริมาณแอลกอฮอล์
  • ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม
  • ออกกำลังกายเสริมสร้างร่างกายและจิตใจให้แข็งแรง

คำแนะนำเหล่านี้ยังช่วยป้องกันภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และฟื้นฟูสุขภาพจิตใจโดยรวมของคุณ

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/alzheimers-disease


43 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alzheimer's disease. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/alzheimers-disease/)
Alzheimer's disease: Symptoms, stages, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/159442)
What is Alzheimer's Disease?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/aging/aginginfo/alzheimers.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป