วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนเป็นอย่างไร รักษาอาการท้องเสียได้จริงหรือไม่

รวมข้อมูลยาแก้ท้องเสียคาร์บอน รับประทานยังไงจึงจะเหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ธ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนเป็นอย่างไร รักษาอาการท้องเสียได้จริงหรือไม่

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาแก้ท้องเสียคาร์บอน เป็นยาบรรเทาอาการท้องเสียที่มีส่วนผสมของถ่าน หรือธาตุคาร์บอน
  • คุณสมบัติของยาแก้ท้องเสียคาร์บอนคือ ช่วยดูดซึมสารพิษที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย บรรเทาอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนสามารถบรรเทาให้อาการท้องเสียทุเลาลง แต่ไม่สามารถรักษาอาการนี้ให้หายได้ และไม่ทำให้หยุดถ่ายด้วย
  • ผู้ที่ต้องรับประทานยาโรคประจำตัว ควรรับประทานยานั้นก่อนยาแก้ท้องเสียคาร์บอน 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนไปดูดซึมตัวยาดังกล่าว ทำให้การออกฤทธิ์ของยาเบาเกินไป อาจทำให้โรคประจำตัวกำเริบ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

เชื่อว่า หลายคนคงจะพกยาแก้ท้องเสียติดตัวไว้ยามต้องเดินทางไกล เนื่องจากเมื่อเกิดอาการขึ้นมาแล้ว นอกจากจะทำให้ถ่ายเหลวหลายครั้ง ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมาน ปวดท้อง อ่อนเพลีย ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมระหว่างวันได้ตามปกติด้วย

หนึ่งในยาแก้ท้องเสียยอดนิยมที่หลายคนมักรู้จัก หรือมักซื้อไว้พกพา หรือเป็นยาประจำบ้าน เป็นยาฉุกเฉินเมื่อเกิดอาการท้องเสีย ก็คือ ยาแก้ท้องเสียคาร์บอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณสมบัติของยาแก้ท้องเสียคาร์บอนสามารถรักษาอาการท้องเสียได้จริงหรือไม่ มาดูพร้อมๆ กัน

ความหมายของยาแก้ท้องเสียคาร์บอน

ยาแก้ท้องเสียคาร์บอน (Activated Charcoal) คือ ยาที่มีส่วนผสมของผงถ่าน หรือธาตุคาร์บอนที่ผ่านกระบวนการเคมีเพื่อนำมาใช้รักษาอาการท้องเสีย

คุณสมบัติของยาแก้ท้องเสียคาร์บอน

ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนมีฤทธิ์ช่วยดูดซับสารพิษที่ส่งผลทำให้เกิดอาการท้องเสีย จึงทำให้อาการบรรเทาลง นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย มีแก๊สในกระเพาะอาหารจนเกิดอาการปวดท้องได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนยังไม่จัดว่า เป็นยารักษาอาการท้องเสียและไม่ได้ทำให้หยุดถ่ายได้ เพียงแค่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียให้ดีขึ้นเท่านั้น

นอกจากนี้ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนยังช่วยดูดซึมสารยาที่รับประทานเข้าไปเกินขนาดได้อีกด้วย แต่ควรสั่งจ่ายโดยแพทย์เพื่อความปลอดภัย หรือหากไม่แน่ใจปัจจุบันอาจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ก่อนใช้ยาเพื่อความปลอดภัยและมั่นใจในผลลัพธ์ของยา

วิธีรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอน

เมื่อเกิดอาการท้องเสีย อย่าเพิ่งรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอนในทันที เพราะยานี้เป็นยาฉุกเฉิน ควรใช้ก็ต่อเมื่อถ่ายมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปแล้วอาการท้องเสียยังไม่ดีขึ้น หรือหากเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนคล้ายกับอาหารเป็นพิษ ก็สามารถรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอนได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากเกิดอาการท้องเสียขึ้นมา อย่างแรกที่ควรทำคือ ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยสารน้ำที่สูญเสียไปกับอุจจาระ

ส่วนวิธีรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอน ควรรับประทานขณะท้องว่าง หรือ 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร เพื่อไม่ให้ตัวยาเข้าไปรบกวนการดูดซึมอาหารที่รับประทานเข้าไป

โดยปกติผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ และเด็กอายุมากกว่า 3 ขวบ สามารถรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอนได้ครั้งละ 3-4 เม็ด ทุกๆ 4 ชั่วโมงเมื่อมีอาการท้องเสีย 

แต่ด้วยปริมาณของสารคาร์บอนในยาชนิดนี้แต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน ผู้รับประทานจึงต้องอ่านฉลาก หรือสอบถามเภสัชกรเสียก่อน เพื่อให้รู้วิธีการรับประทานยาที่เหมาะสม

โดยส่วนมากปริมาณยาแก้ท้องเสียคาร์บอนที่คนทั่วไปรับประทานกันจะอยู่ที่ 50-100 กรัม ส่วนในเด็กอายุมากกว่า 1 ขวบ จะอยู่ที่ 10-25 กรัม

ข้อควรระวังในการรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอน

ผู้ที่มียารักษาโรคประจำตัวอยู่ ควรรับประทานยาก่อน 2 ชั่วโมงก่อนที่จะรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอน เพื่อไม่ให้ตัวยาไปรบกวนการทำงานของยารักษาโรคประจำตัวของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรงดดื่มนม อาหารที่มีส่วนประกอบของนมในระหว่างรับประทานแก้ท้องเสียคาร์บอน หรือหากต้องรับประทานจริงๆ ก็ให้รับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอนหลังจากดื่มนมไปแล้ว 2 ชั่วโมง

เนื่องจากอาหารประเภทนมจะมีประจุของแคลเซียมอยู่ ซึ่งสามารถไปรบกวนการดูดซึมสารพิษของคาร์บอนในยาได้

ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอน

ผู้ป่วยอาจอุจจาระเป็นสีดำเมื่อรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอน แต่นั่นไม่ได้เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพราะสีดำที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสีจากสารคาร์บอนเท่านั้น

สำหรับอาการอื่นๆ ผู้ป่วยอาจมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้จากฤทธิ์ยาที่ไปดูดซึมสารภายในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม หากคุณรับประทานยาแก้ท้องเสียคาร์บอนแล้วยังมีอาการถ่ายเหลวอย่างต่อเนื่อง อุจจาระมีมูก หรือมูกเลือดปน รวมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง มีไข้มากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส รู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การใช้ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนในหญิงตั้งครรภ์

ยังไม่มีผลการศึกษา หรือการวิจัยที่บอกว่า ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยเป็นหญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะได้จ่ายยาแก้ท้องเสียที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และไม่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

ยาแก้ท้องเสียคาร์บอนเป็นยาที่สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการท้องเสียได้ แต่จำไว้ว่า ยาตัวนี้ไม่สามารถรักษาอาการท้องเสียให้หายขาดได้แต่อย่างใด 

หากคุณมีอาการท้องเสียและรับประทานยาบรรเทาอาการเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ขอรับการตรวจวินิจฉัยอย่างเหมาะสม และรับยารักษาอาการที่ช่วยให้หายขาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Uclahealth, Does Activated Charcoal Help with Gas and Bloating? (https://connect.uclahealth.org/2018/10/22/does-activated-charcoal-help-with-gas-and-bloating/), 6 December 2020.
Rama Channel, Better to know ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง? (https://www.youtube.com/watch?v=7VZMID4X6XE), 19 พฤศจิกายน 2563.
Mayo Clinic, Charcoal, Activated (Oral Route) (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/charcoal-activated-oral-route/proper-use/drg-20070087), 6 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม