วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

กรดอะซิติกคืออะไร ดีต่อสุขภาพอย่างไร

รวมข้อมูลของกรดอะซิติก ข้อดี ข้อควรระวัง มีอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 4 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดอะซิติกคืออะไร ดีต่อสุขภาพอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กรดอะซิติกเป็นสารประกอบที่ใช้ในการผลิตน้ำส้มสายชู และใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย เช่น อุตสาหกรรมผลิตยางแผ่นรมควัน อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมผลิตวัสดุงานศิลปะ
  • กรดอะซิติกมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับความดันโลหิต ฆ่าเชื้อเมื่อเป็นภาวะหูติดเชื้อ เชื้อราที่เล็บ เป็นโรคเหาและโรคหูด ที่น่าสนใจคือช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ข้อนี้ผลลัพธ์มักไม่ชัดเจนนักยังต้องได้รับการศึกษา 
  • กรดอะซิติกสามารถเข้าไปลดประสิทธิภาพของยาบางชนิดได้ เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาขับปัสสาวะ และสามารถทำให้เกิดอาการแน่นท้อง เบื่ออาหาร หากรับประทานมากเกินไป
  • กรดอะซิติกเป็นสารวัสถุไวไฟจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง เก็บไว้ในที่แห้ง อุณหภูมิไม่สูง และเก็บให้พ้นมือเด็ก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป

เมื่อพูดถึง “กรดอะซิติก” หลายคนคงไม่รู้จัก หรือคุ้นชื่อนี้มากนัก ซึ่งความจริงแล้วกรดอะซิติกเป็นสารประกอบที่อยู่ในอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่หลายคนใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง

เรามาดูกันว่า กรดอะซิติกคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อสุขภาพบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของกรดอะซิติก

กรดอะซิติก (Acetic acid หรือ ethanoic acid) หรือกรดน้ำส้มคือ สารประกอบเคมีที่เกิดจากสังเคราะห์ของกรดคาร์บอกซิลิก (Carboxylic acids) กับสารต้านเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterial) มีสูตรโมเลกุล คือ CH3COOH หรือ CH3CO2H 

กรดอะซิติกมีลักษณะเป็นของเหลวสีใส มีความเป็นกรด มีกลิ่นฉุนปนเปรี้ยว และระเหยได้ช้า

กรดอะซิติกมักใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตหลายอย่าง อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่

  • อุตสาหกรรมผลิตน้ำส้มสายชู กรดอะซิติกจัดเป็นสารตั้งต้นในการสกัดหัวกรดน้ำส้ม เพื่อนำไปผลิตน้ำส้มสายชูเทียมต่อไป ความเข้มข้นของกรดอะซิติกจะอยู่ที่ประมาณ 4-7%
  • อุตสาหกรรมผลิตยางแผ่นรมควัน กรดอะซิติกจัดเป็นสารตัวจับยางสำคัญที่ทำให้ยางมีความยืดหยุ่น และหนืดดีขึ้น
  • อุตสาหกรรมผลิตแว่นตา กรดอะซิติกสามารถนำไปผลิตเป็น “มีทอล อาซีเตด (Metal acetate)” ซึ่งเป็นของแข็งคล้ายพลาสติกที่นิยมใช้ทำเป็นขาแว่นในปัจจุบัน
  • อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ ผลิตป้ายไวนิล ล้างฟิล์มถ่ายภาพ กรดอะซิติกใช้ในการผลิต “ไวนิล อาซีเตด (Vinyl acetate) ซึ่งเป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ แผ่นป้ายต่างๆ
  • อุตสาหกรรมผลิตวัสดุงานศิลปะ โดยจะใช้กรดอะซิติกในการผลิต “บิวทิว อาซีเตด (Butyl acetates) ซึ่งเป็นสารตัวทำละลายที่ใช้การผลิตเรซิน สีทาภาพ และแลกเกอร์

ประโยชน์ต่อสุขภาพของกรดอะซิติก

การรับกรดอะซิติกเข้าร่างกายจะอยู่ในรูปของอาหาร ซึ่งจะอยู่ในน้ำส้มสายชูเป็นหลัก นอกจากนี้ยังสามารถพบกรดอะซิติกได้ในน้ำสลัด ซอสปรุงรสบางชนิดด้วย

โดยประโยชน์ของกรดอะซิติกที่มีต่อร่างกาย โดยหลักๆ ได้แก่

  • ฆ่า และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดวัณโรค (Tuberculosis) และโรคเรื้อน (Leprosy)
  • ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคในกรณีเกิดภาวะหูติดเชื้อ (Ear infections) เชื้อราที่เล็บ (Nail fungus) โรคหูด (Warts) เป็นเหา (Lice)
  • ลดระดับความดันโลหิตที่สูงเกินไป ซึ่งเสี่ยงเกิดโรคหัวใจในภายหลังได้ ผ่านการลดระดับเอนไซม์เรนิน (Renin) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับระดับความดันโลหิตโดยตรง
  • ช่วยลดน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โดยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและระดับสารอินซูลินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของกรดอะซิติกที่มีต่อร่างกายที่กล่าวไปข้างต้นนั้นค่อนข้างเล็กน้อยและต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากรับแต่เพียงกรดอะซิติกอย่างเดียวเพื่อบำรุงสุขภาพมักจะไม่เห็นผลชัด หรืออาจไม่เห็นผลลัพธ์เลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นการใช้กรดอะซิติกเพื่อรักษาโรคจะต้องทำร่วมกับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรับประทานยารักษาโรค และความผิดปกติที่เกิดขึ้นด้วย ผลลัพธ์จากการใช้กรดอะซิติกเพื่อบำรุงสุขภาพจึงจะได้ผลดีที่สุด

ข้อควรระวังในการใช้กรดอะซิติก

กรดอะซิติกอาจมีประโยชน์หลายด้านต่อสุขภาพ แต่หากรับเข้าร่างกายอย่างไม่เหมาะสม หรือรับในปริมาณมากเกินไปก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ 

อันตรายจากการใช้กรดอะซิติกไม่เหมาะสม มีดังนี้

  • เกิดอาการแน่นท้อง รู้สึกเบื่ออาหาร จากการรับประทานน้ำส้มสายชูและเครื่องปรุงที่มีกรดอะซิติกมากเกินไป ผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ หรือมักเกิดอาการแน่นท้องควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำส้มสายชูมากกว่า 1 ช้อนชาต่อครั้ง และไม่ควรรับประทานต่อเนื่องกัน

  • อาจเกิดอาการผิวไหม้ ระคายเคืองผิวหนัง หากทา หรือสัมผัสสารกรดที่ผิวหนังโดยตรง

  • ชั้นเคลือบฟันสึกกร่อน โดยมักเกิดจากการรับประทานน้ำส้มสายชูมากเกินไป ร่วมกับการดื่มน้ำผลไม้บ่อยๆ ทำให้ชั้นเคลือบฟันที่ป้องกันไม่ให้ฟันผุสึกกร่อนลง จากความเป็นกรดของเครื่องดื่มชนิดดังกล่าวและกรดจากน้ำส้มสายชู

  • เจ็บคอ เพราะน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์เป็นกรดที่เข้าไปสร้างความระคายเคืองให้กับหลอดอาหารได้

  • ทำให้ประสิทธิภาพของยาบางชนิดลดลง โดยยาที่มักทำปฏิกิริยากับกรดอะซิติกจนประสิทธิภาพในการรักษาโรคลดลง ได้แก่ ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดระดับโพแทสเซียมในเลือดอย่างยาไดจอกซิน (Digoxin) ยาขับปัสสาวะ

  • เกิดอาการแพ้สารอะซิติก แต่มักเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม หากคุณรับประทานน้ำส้มสายชู หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของกรดอะซิติก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกรดอะซิติกแล้วมีอาการระคายเคืองผิว คลื่นไส้อาเจียน หายใจไม่ออก ซึ่งเป็นอาการแพ้สารอะซิติก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที 

นอกจากนี้หากต้องการความมั่นใจในเรื่องการแพ้อาหาร เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงการรับประทาน ป้องกันไม่ให้เกิดการแพ้ตามมา ปัจจุบันหลายแห่งมีบริการตรวจภูมิแพ้อาหารและตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงแล้ว 

  • กรดอะซิติกเป็นสารวัตถุไวไฟ หากที่อยู่อาศัย หรือสถานที่ทำงานมีกรดชนิดนี้อยู่ ให้ระมัดระวังในระหว่างปฏิบัติงานให้มาก โดยเก็บไว้ในที่มิดชิด แห้ง อุณหภูมิไม่สูง และเก็บให้พ้นมือเด็ก

กรดอะซิติกเป็นกรดที่มีส่วนบำรุงสุขภาพได้ แต่เพราะคนส่วนมากรับสารนี้เข้าร่างกายในรูปแบบของเครื่องปรุง ซึ่งเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อย จึงอาจยังไม่เห็นผลลัพธ์จากการใช้สารนี้มากมาย 

นอกจากนี้อาหารชนิดอื่นที่รับประทานร่วมเข้าไปก็อาจกดการออกฤทธิ์ของกรดอะซิติกได้ จึงทำให้ไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพชัดเจน

กรดอะซิติกยังมีผลกระทบต่อร่างกายได้หากใช้อย่างไม่เหมาะสม ทางที่ดีหากคุณมีโรคประจำตัว หรือมีภาวะความผิดปกติใดๆ ในร่างกาย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีรักษาจะดีที่สุด ไม่ควรรักษาด้วยตนเองอย่างเด็ดขาด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
William H. Brown, Acetic acid (https://www.britannica.com/science/acetic-acid), 25 December 2020.
Rachel Link, Acetic Acid: A Powerful Compound in Vinegar with Health Benefits (https://draxe.com/nutrition/acetic-acid/), 25 December 2020.
Kris Gunnars, 6 Health Benefits of Apple Cider Vinegar, Backed by Science (https://www.healthline.com/nutrition/6-proven-health-benefits-of-apple-cider-vinegar), 25 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม