วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

แผลถลอกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

วิธีรักษาแผลถลอกที่ควรรู้ ทำอย่างไรไม่ให้กลายเป็นแผลเป็น
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 23 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แผลถลอกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลถลอกเป็นบาดแผลที่ผิวหนังชั้นนอกหลุดลออก หรือถูกทำลายออกไป ส่วนมากเป็นบาดแผลระดับที่จะไม่ทิ้งแผลเป็นเอาไว้บนผิวหนัง
  • แผลถลอกแบ่งได้ตามลักษณะและสาเหตุการเกิดแผล ได้แก่ แผลที่เกิดจากการครูดกับผิวขรุขระ แผลที่เกิดจากการกระแทกซึ่งตั้งฉากกับผิวหนัง แผลที่เกิดจากการเสียดสีกับวัตถุ แผลที่เกิดจากรอยข่วนเล็บ
  • ระยะของแผลถลอกแบ่งได้ 3 ระยะ เริ่มจากระยะแรกคือ บาดแผลมีเพียงรอยข่วน ระยะที่ 2 คือ บาดแผลมีผิวหนังที่ลึกลงไปหลุดลอกออก และระยะที่ 3 คือ บาดแผลที่ชั้นผิวหนังเกือบทั้งหมดหลุดลอกออกไปเกือบทั้งหมด
  • บาดแผลถลอกเป็นบาดแผลที่ทำความสะอาดและรักษาได้ง่าย แต่หากดูแลแผลไม่มากพอ แผลก็อาจติดเชื้อจนบวม เป็นหนอง หายช้า และทำให้รู้สึกเจ็บปวดแผลมากกว่าเดิมได้
  • ดูแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่

เชื่อว่า ทุกคนต้องเคยเกิดบาดแผลตามร่างกายไม่บริเวณใดก็บริเวณหนึ่ง โดยบาดแผลแบ่งออกได้หลายชนิด ความรุนแรงของบาดแผลก็แตกต่างกัน ในทีนี้เราจะพูดถึง “แผลถลอก” แผลอีกชนิดที่หลายคนเคยเผชิญ หรืออาจกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ 

แผลถลอกเป็นแผลที่มีวิธีรักษาได้ไม่ยาก แต่ทุกคนควรรู้สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และดูแลแผลอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ หรืออักเสบลุกลามจนกลายเป็นอาการบาดเจ็บร้ายแรงกว่าเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความหมายของแผลถลอก

แผลถลอก (Abrasion wound) คือ บาดแผลที่มีลักษณะผิวหนังชั้นนอกสุด หรือผิวหนังชั้นตื้น (Superficial layer) หลุดลอก หรือถูกทำลายออกไป เป็นชนิดของบาดเแผลที่เมื่อแห้ง หรือหายดีแล้วจะไม่มีรอยแผลเป็นในภายหลัง 

แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นผิวหนังที่ถูกทำลาย

ประเภทของของแผลถลอก

ประเภทของแผลถลอกแบ่งออกได้หลักๆ 4 ชนิด โดยจะแบ่งออกตามลักษณะ และสาเหตุที่ทำให้เกิดแผล ได้แก่

  1. แผลที่เกิดจากผิวหนังไปครูดกับพื้นผิวขรุขระ (Scrape or brush abrasions) ลักษณะของแผลจะเป็นรอยถลอกคล้ายถูกขนแปรงแข็งครูดผิวหนัง ความลึกของแผลชนิดนี้จะแตกต่างไปตามความคม และความขรุขระของพื้นผิว

    ส่วนมากแผลชนิดนี้มักเกิดจากอุบัติเหตุทางจราจร หรือการหกล้ม จนส่วนใดของร่างกายถูลากไปกับพื้นถนน หรือพื้นผิวที่ขรุขระ

  2. แผลที่เกิดจากแรงกระแทกซึ่งตั้งฉากกับผิวหนัง (Impact abrasions) แผลมักเกิดบริเวณส่วนนูนของกระดูกซึ่งถูกกระแทกกับพื้นผิวโดยตรง เช่น คาง ข้อศอก หัวเข่า

    สาเหตุของการเกิดแผลชนิดนี้อาจเกิดจากการหกล้ม หรือการกระเด็น ร่างกายกระแทกอย่างแรงกับพื้นผิว

  3. แผลที่เกิดจากการเสียดสี หรือการประทับของวัตถุกับผิวหนัง (Patterned abrasions) เป็นแผลถลอกซึ่งเกิดจากการถูเสียดสีซ้ำๆ หรือการกดทับระหว่างวัตถุกับผิวหนังจนกลายเป็นรอยแผล เช่น รอยเชือก รอยตะเข็บเสื้อ ลักษณะรอยแผลจะใกล้เคียงกับลักษณะพื้นผิววัตถุที่เสียดสีจนทำให้เกิดแผล

  4. แผลที่เกิดจากรอยเล็บข่วน (Fingernail marks) เป็นรอยแผลถลอกชนิดพิเศษที่เกิดจากเล็บจิก หรือข่วนจนผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออก

นอกจากนี้ยังมีชนิดของแผลถลอกที่เกิดแมลงกัดต่อย หรือกัดแทะเป็นอาหาร เช่น มด แมลงสาบ ส่วนมากแผลชนิดนี้มักเกิดในร่างกายผู้เสียชีวิตแต่ยังค้นหาร่างกายไม่เจอจึงทำให้มีแมลงต่างๆ มากัดแทะร่าง 

และอาจทำให้ผลการชันสูตรศพออกมาผิดว่า เป็นแผลที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บได้

ระยะอาการของแผลถลอก

ระยะของแผลถลอกแบ่งได้ 3 ระยะ ซึ่งระยะที่เกิดขึ้นของแผลถลอกในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของการเกิดแผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • แผลระยะที่ 1 เป็นระยะที่ผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออกส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด แต่จะไม่มีเลือดออก แผลระยะนี้เรียกได้อีกชื่อว่า “รอย หรือแผลขีดข่วน”
  • แผลระยะที่ 2 เป็นระยะที่ผิวหนังชั้นซึ่งลึกลงไปจากผิวหนังชั้นนอกหลุดลอกออก ในระยะนี้บาดแผลอาจมีเลือดออกบ้าง
  • แผลระยะที่ 3 เป็นระยะที่ชั้นผิวหนังเกือบทั้งหมดหลุดลอกออกไป เรียกได้อีกชื่อว่า “แผลหลุดหาย (Avulsion wound)” แผลในระยะนี้จะมีเลือดออกมาก และควรรีบปฐมพยาบาล หรือพาไปพบแพทย์ฉุกเฉิน

อาการแทรกซ้อนของแผลถลอก

ถึงแม้แผลถลอกจะเป็นชนิดของแผลที่ไม่ร้ายแรง แต่หากผู้ได้รับบาดเจ็บไม่ทำความสะอาดแผลให้สะอาด หรือรักษาแผลไม่เหมาะสม ก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ร้ายแรงขึ้นได้ เช่น

  • แผลหายช้า หรือขยายใหญ่ขึ้น อาจเกิดจากการไม่ทายารักษาแผลให้หาย หรือใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสม การเช็ดบาดแผลแรงๆ จนทำให้ปากแผลขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิม วิธีรักษาแผลที่ผิดๆ เหล่านี้จะเข้าไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวที่กำลังเกิดใหม่ให้เติบโตช้าลง

  • การติดเชื้อ บาดแผลที่ไม่ได้รับการทำความสะอาด ถูกกดทับ หรือมีคราบสิ่งสกปรกติดอยู่ที่ปากแผลนั้นจะง่ายต่อการติดเชื้อมาก และทำให้แผลเกิดบวม มีหนอง ส่งกลิ่นเหม็น อีกทั้งทำให้ยากต่อการรักษาให้ปากแผลปิด และแห้งได้

  • รู้สึกเจ็บปวดแผลกว่าเดิม หากไม่รีบทำความสะอาด และปฐมพยาบาลเพื่อปิดปากแผล ผู้ได้รับบาดเจ็บจะยิ่งรู้สึกเจ็บแสบแผลกว่าเดิมได้
  • เกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง (traumatic tattoo) ควรล้างบาดแผลเพื่อก้าจัดสิ่งแปลกปลอมในบางครั้งอาจต้องใช้แปรงขัดเพื่อกำจัดเศษดิน หรือสารแปลกปลอมเพื่อป้องกันการเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง (traumatic tattoo) เพราะถ้าทิ้งไว้สิ่ง แปลกปลอมนี้จะลึกลงในชั้นผิวหนังมากขึ้นเรื่อย ๆ

หากไม่แน่ใจว่า แผลถลอกของคุณ หรือคนที่คุณรัก เข้าข่ายมีอาการแทรกซ้อนหรือไม่ หรือต้องดูแลรักษาอย่างไรเพื่อให้แผลหายดี อาจใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ บริการนี้สามารถเปิดวิดีโอคอลเพื่อให้แพทย์ได้เห็นสภาพบาดแผลได้ด้วย 

เมื่อเห็นบาดแผลและซักประวัติคร่าวๆ จากคุณ แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นได้ว่า บาดแผลถลอกของคุณมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน รักษาต่อเองได้ไหม หรือต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือไม่  

วิธีรักษาแผลถลอก

ขั้นตอนการดูแลรักษาแผลถลอกมีดังต่อไปนี้

  • ล้างมือให้สะอาดเพื่อเริ่มทำความสะอาดแผล จากนั้นทำความสะอาดแผลด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อนๆ หรือใช้น้ำเกลือ น้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างแผลอีกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อโรคซึ่งอยู่ที่บริเวณปากแผล
  • หากแผลมีขนาดเล็ก ไม่ได้มีเลือดออก และผิวหนังไม่ได้หลุดลอกมาก ให้เปิดปากแผลทิ้งไว้ให้แห้ง ไม่จำเป็นต้องปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าก๊อซสะอาด  แต่หากแผลมีเลือดไหล ให้ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าพันแผลปิดแผลเพื่อให้เลือดหยุดไหล
  • ทายาฆ่าเชื้อ หรือครีมยาปฏิชีวนะ สำหรับรักษาแผลถลอกลงที่แผลเบาๆ แล้วปิดแผลด้วยผ้าพันแผล หรือผ้าก๊อซสะอาด 
  • ทำความสะอาดแผลทุกวัน 
  • หมั่นทายาหลังทำความสะอาดแผลวันละ 1-2 ครั้ง

หากทำตามขั้นตอนต่อไป โดยปกติแผลถลอกจะหายและกลายเป็นตกสะเก็ดหลุดลอกออกไปภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากแผลมีขนาดใหญ่ หรือผิวหนังที่หลุดลอกลึกมากกว่าปกติ ก็อาจใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม หากได้รับบาดแผลถลอกแล้วพยายามห้ามเลือด แต่เลือดไม่หยุดไหลภายใน 5 นาที หรือผู้ได้รับบาดเจ็บมีอาการบาดเจ็บบริเวณอื่นๆ อีก ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันไม่ให้แผลถลอกกลายเป็นแผลเป็น

แผลเป็นแบ่งออกได้หลายชนิดและไม่มีใครอยากให้เกิดแผลเป็นบนร่างกายแน่ เพราะจะทำให้ผิวหนังมีรอยคล้ำที่มีขนาดตามแผลถลอกในช่วงแรก และยังใช้เวลารักษานานอีก

การป้องกันแผลถลอกไม่ให้เกิดเป็นแผลเป็นนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะแผลถลอกไม่ใช่แผลในระดับร้ายแรง ดังนั้นการนวดและกดแผลที่ตกสะเก็ดแล้วบ่อยๆ ร่วมกับทายารักษาแผลเป็นอย่างสม่ำเสมอก็สามารถช่วยให้แผลถลอกไม่กลายเป็นแผลเป็นได้

อีกทั้งในปัจจุบันยังมีนวัตกรรมเลเซอร์รักษารอยแผลเป็น ซึ่งสามารถไปใช้บริการได้ตามโรงพยาบาล หรือคลินิกเสริมความงามต่างๆ 

ส่วนระยะเวลาสำหรับเลเซอร์ที่จะช่วยรักษาแผลถลอกที่ตกสะเก็ดไม่ให้กลายเป็นแผลเป็น หรือช่วยให้ความเข้มของแผลเป็นจางลงจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องเลเซอร์และรุ่นนั่นเอง

แต่หากแผลถลอกดังกล่าวมีขนาดใหญ่และลึก วิธีรักษาแผลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นในภายหลังก็อาจต้องเปลี่ยนเป็นการฉีดยาสเตียรอยด์ ซึ่งมักใช้เพื่อรักษาแผลเป็นนูน หรือแผลคีลอยด์ ซึ่งต้องรักษาด้วยแพทย์เท่านั้น

หรือการรักษาอีกแบบก็คือ การผ่าตัด แต่ส่วนมากมักใช้รักษาแผลเป็นขนาดใหญ่และลึก หรือต้องมีการเย็บปิดปากแผลเพื่อลดขนาดแผลให้ดูแลได้ง่ายขึ้น

แผลถลอกเป็นระยะของแผลที่ไม่ได้รุนแรง และยังสามารถรักษาให้หายได้โดยไม่เหลือริ้วรอยใดๆ ไว้บนผิวหนัง ขอเพียงรู้วิธีดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ได้รับการจ่ายยาจากแพทย์อย่างเหมาะสม และใช้ยารักษาแผลอย่างสม่ำเสมอ 

เพียงเท่านี้แผลถลอกก็สามารถหายได้สนิท ไม่เกิดอาการแทรกซ้อนใดๆ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพทั่วไป จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stacy Sampson, Everything You Should Know About Skin Abrasions (https://www.healthline.com/health/abrasion), 18 August 2020.
Peacock EE, Cohen IK. Wound Healing. In: Mc Carthy, editor. Plastic surgery. Philadelphia W.B.Saunder; 1990. P.161-185.
Cohen IK, Diegelmann RF, Crossland MC. Wound care and wound healing. In: Schwartz, editor. Priciples of Surgery 6thed. Singapore: Mc Graw-Hill; 1994. p. 279-303.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม