แผนการแทรกแซงพฤติกรรม (Behavior Intervention Plan-BIP) เกิดจากการสังเกตในกระบวนการวิเคราะห์พฤติกรรม และเปลี่ยนให้กลายเป็นแผนการเพื่อใช้จัดการกับพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่ง BIP อาจรวมถึงการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว เสริมสร้างแรงจูงใจทางบวกเพื่อสนับสนุนพฤติกรรมที่ดี ใช้วิธีเพิกเฉยเพื่อหลีกเลี่ยงการสนับสนุนพฤติกรรมที่ไม่ดี และให้การสนับสนุนตามที่นักเรียนต้องการเพื่อจะได้ไม่เกิดความกดดันให้แสดงออกเนื่องจากความคับข้องใจหรือความเหนื่อยล้า
ดูตัวอย่างแผนปรับพฤติกรรม: แผนเหล่านี้รวมถึงสำหรับผู้มีภาวะออทิสติก โรคไบโพลาร์ ผลกระทบจากแอลกอฮอล์ต่อทารกในครรภ์ พฤติกรรมก้าวร้าว และพฤติกรรมก่อกวนในห้องเรียน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สิ่งนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อแผนการจัดการพฤติกรรม แผนการสนับสนุนทางพฤติกรรม แผนการสนับสนุนพฤติกรรมในทางบวก
ส่วนหนึ่งของแผนการแทรกแซงทางพฤติกรรม
เมื่อสร้างแผนการดังกล่าว ขั้นตอนแรกคือค้นหาความจริงเพื่อบรรยายปัญหาของพฤติกรรม เช่น ในลักษณะที่สามารถวัดได้ และเป็นการสอดส่องเหตุการณ์ในชีวิตของนักเรียนที่อาจเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมด้วย ซึ่งจะค้นหาความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นของพฤติกรรม หรือทำให้มีพฤติกรรมเป็นผลที่ตามมา และข้อความที่พฤติกรรมนั้นไม่ได้สื่อ สิ่งเหล่านี้จะถูกตรวจสอบในการประเมินและเลือกพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้นแทน
หลังจากนั้นจะใช้ข้อมูลสร้างเอกสารแผนการดังกล่าว ซึ่งประกอบไปด้วย
- พฤติกรรมของเป้าหมาย
- วัตถุประสงค์ที่วัดได้
- การแทรกแซงที่มีรายละเอียดว่าจะทำอย่างไร
- จะเริ่มต้นการแทรกแซงเมื่อใดและบ่อยแค่ไหน
- วิธีการประเมิน
- ผู้ที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการแทรกแซงและการประเมิน
- ข้อมูลที่ได้จากการประเมิน
เอกสารดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบจากกลุ่ม IEP ซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครองและผู้บริหารโรงเรียน เช่นเดียวกันกับครูที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติตามแผน
ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนของการสร้างแผน หลังจากนั้นแผนจะถูกนำไปใช้ปฏิบัติ
การใช้แผนการแทรกแซงพฤติกรรม
เมื่อแผนการได้รับความเห็นชอบแล้ว ทางโรงเรียนและครูก็มีหน้าที่ต้องทำตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากโรงเรียนและครูไม่ทำตามก็ไม่ควรจะกล่าวโทษนักเรียนเรื่องผลที่ตามมาจากพฤติกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับข้อกำหนดมากมายในกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กด้อยความสามารถ IDEA (Individual with disabilities education act ) สิ่งนี้อาจต้องใช้ความเอาใจใส่ การสนับสนุน และการต่อสู้จากผู้ปกครองอย่างมากเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ปฏิบัติตามแผนการนี้ทำตามแนวทางที่วางไว้โดยสมบูรณ์
อย่าคาดหวังว่าแผนการดังกล่าวจะถูกอธิบายให้ครูพละ ครูศิลปะ ครูดนตรี หรือเจ้าหน้าที่ในโรงอาหารทราบ ยืนยันเรื่องนี้กับกลุ่ม IEP ของคุณ หรือจัดการเรื่องการแจกจ่ายกระดาษแผนการด้วยตัวของคุณเอง
เมื่อลูกของคุณโตขึ้น มีการพัฒนา และเปลี่ยนห้องเรียนและโรงเรียน แผนการดังกล่าวก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน สิ่งนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะทำขึ้นเพื่อหลงลืมมันไปเฉย ๆ แม้แต่การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เพื่อนร่วมห้องคนใหม่ที่เข้ามาก่อกวนลูกของคุณหรือการลาคลอดของครูก็ทำให้ต้องมีการวางกลยุทธ์กันใหม่อีกครั้ง
เมื่อใดก็ตามที่มีคำตำหนิเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของลูก ให้ถามเสมอว่ามีการทำตามแผนการดังกล่าวหรือไม่ และทำไมจึงไม่ได้ผลในสถานการณ์ดังกล่าว