ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง หรือซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง (Sebaceous Cyst) เป็นอีกโรคเกี่ยวกับถุงน้ำที่พบได้บ่อย ซึ่งการรักษาโรคนี้ทำได้ด้วยการผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออกเท่านั้น แต่โรคนี้เกิดจากอะไร มีความอันตรายหรือไม่ เรามาทำความเข้าใจพร้อมๆ กัน
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง
ภาวะซีสต์ไขมันผิวหนังเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยที่พบส่วนมาก มักเกิดจากการที่ปุ่มรากผมบวม ทำให้เซลล์ที่เคลื่อนตัวลึกลงไปในผิวไม่หลุดออกไป แต่กลับเพิ่มจำนวนขึ้นจนก่อให้เกิดเป็นก้อนซีสต์ขึ้นมา
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
และเมื่อเซลล์เหล่านั้นสัมผัสกับโปรตีนเคราติน จึงก่อให้เกิดหนองในซีสต์ และส่งกลิ่นเหม็นออกมา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น
- กรรมพันธุ์ โดยจะมีเซลล์ผิวหนังที่อยู่ผิดตำแหน่งมาตั้งแต่กำเนิด เป็นผลให้เกิดซีสต์ไขมันผิวหนังได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
- การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น เกิดแผล ผิวถลอก หรือเมื่อผิวหนังได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ก็อาจนำไปสู่การเกิดไขมันอุดตันใต้ผิวหนังได้เหมือนกัน
- แสงแดด เมื่อสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดซีสต์ไขมันผิวหนังได้ และยังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้สูงอีกด้วย
- ท่อไขมัน หรือต่อมเหงื่อ เมื่อเกิดการอุดตัน รวมถึงกรณีที่ท่อต่อมไขมันผิดปกติ และผิดรูปร่างไปจากเดิมด้วย
- การผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ไขมันผิวหนังออก ทั้วแบบเอาออกทั้งหมด หรือเอาออกแค่บางส่วน
- การผ่าตัดซีสต์ด้วยการใช้เลเซอร์
นอกจากนี้ ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังยังพบได้ในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และพบได้มากในคนที่มีอายุ 30-40 ปีมากกว่าวัยอื่น
อาการของภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง
อาการที่สังเกตได้ชัดของภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง คือ พบก้อน หรือตุ่มขนาดเล็กนูนขึ้นมาบนผิวหนัง มีลักษณะเป็นก้อนกลม ขอบเรียบ และมีสีเดียวกันกับผิว ส่วนมากจะพบได้มากตามใบหน้า ลำคอ ศีรษะ และบริเวณหน้าอก
นอกจากนี้ ซีสต์บางก้อนก็อาจมีรูเปิด และมีสารสีขาวภายในไหลออกมา ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอีกด้วย
อย่างไรก็ตามซีสต์ส่วนมากจะไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด และไม่เป็นอันตราย จึงไม่ต้องกังวลมากนัก นอกจากว่าก้อนไขมันใต้ผิวหนังมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ
เพราะนั่นอาจเป็นซีสต์ไขมัน หรือเป็นก้อนมะเร็งร้ายได้ เนื่องจากจะมีลักษณะที่คล้ายกันมากจนแทบแยกไม่ออกนั่นเอง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีรักษาภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง
เนื่องจากภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง ไม่เป็นอันตราย และอาจสลายไปได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่หากเกิดการติดเชื้อ ที่ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และต้องการที่จะกำจัดก้อนซีสต์ออกไป
แพทย์จะพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสมตามลักษณะไขมันที่อุดตัน ซึ่งส่วนมากจะรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนซีสต์ออก ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา
โดยทั้งนี้ หากมีอาการบวม แพทย์ก็จะให้ยาสเตียรอยด์ และให้ยาทาลดรอยแผล เพื่อป้องกันการเกิดรอยแผลเป็นหลังผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง มักจะเกิดจากการที่ซีสต์มีการอักเสบ และแตกจนทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมา ซึ่งจะต้องรีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที เพราะอาจจะเป็นอันตรายได้
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยการผ่าตัดก้อนซีสต์ออกไป ก็อาจเกิดซีสต์ซ้ำอีกได้เหมือนกัน
การป้องกันภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนัง
คุณสามารถป้องกันภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังได้ แต่จะไม่เต็มประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากไขมันอุดตัน หรือซีสต์ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า "ถุงน้ำ" นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงทำได้เพียงลดโอกาสการเกิดซีสต์ให้น้อยลง ซึ่งมีวิธีการดังนี้
- รักษาความสะอาดของผิวหนังอยู่เสมอ หากเกิดแผลก็ให้รีบรักษาให้หาย
- ควรเลือกใช้เครื่องสำอางแบบที่ปลอดไขมันโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของท่อไขมัน จนเกิดเป็นซีสต์ได้นั่นเอง
- พยายามอย่าโดนแสงแดดมากเกินไป ซึ่งหากจำเป็น ควรทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง
ภาวะไขมันอุดตันใต้ผิวหนังอาจเป็นโรคที่เป็นอันตราย แต่หากไขมันที่อุดตันเกิดการอักเสบ หรือแตก ก็จะก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
และเนื่องจากก้อนไขมันมีลักษณะที่คล้ายกับก้อนมะเร็ง จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจก่อนจะดีที่สุด ว่าตนเองไม่ได้มีเชื้อมะเร็ง แต่เป็นเพียงก้อนไขมันอุดตันเท่านั้นเท่านั้น
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android