กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

สัปดาห์ที่ 26-30 ของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สัปดาห์ที่ 26-30 ของการตั้งครรภ์

ในช่วงสัปดาห์ที่ 26-30 ทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีการเปลี่ยนท่าทาง และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น ได้แก่ เสียง ความเจ็บปวด และแสง ในช่วงนี้มารดาจะเริ่มเดินลำบากและเชื่องช้าขึ้น เพราะว่าทารกมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นมาก

สัปดาห์ที่ 26

ทารก: ระบบการได้ยินของทารกพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ทารกจะตอบสนองต่อเสียง ซึ่งสังเกตได้จากหัวใจเต้นเร็วขึ้น ลูกน้อยของคุณจะมีการขยับร่างกายไปตามจังหวะของดนตรี ปอดยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ในช่วงนี้ ลักษณะของคลื่นสมองของทารกในช่วงนี้จะเหมือนกับทารกแรกเกิดตามกำหนดคลอด นอกจากนั้นลูกน้อยของคุณยังมีรูปแบบการนอนหลับและตื่นนอนอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณแม่: ในช่วงเวลานี้ควรได้รับการประเมินการเคลื่อนไหวของทารกว่ายังมีอย่างต่อเนื่องเช่นเดิมหรือไม่ น้ำหนักที่ควรจะเพิ่มในช่วงนี้จะอยู่ที่ประมาณ 0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ คุณอาจรู้สึกปวดกระดูกซี่โครงเนื่องจากลูกน้อยของคุณเติบโตขึ้นและดันขึ้นที่ด้านบนกระดูกซี่โครง ทำให้มีอาการปวดได้ นอกจากนี้แรงดันนี้อาจทำให้มีอาการอาหารไม่ย่อยและกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอกได้ และคุณอาจรู้สึกปวดเหมือนถูกเข็มทิ่มที่บริเวณด้านข้างของหน้าท้องอันเนื่องมาจากกล้ามเนื้อมดลูกยืดขยายออกด้วย

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: หากคุณกำลังวางแผนที่จะกลับไปทำงาน คุณอาจต้องเริ่มตรวจสอบแล้วว่าแถวที่คุณอยู่นั้นมีสถานรับดูแลเด็กหรือไม่ และให้เปิดใจเกี่ยวกับการจัดการดูแลเด็กที่อาจแตกต่างกันได้ตามแต่ละสถานที่

สัปดาห์ที่ 27

ทารก: มือของทารกจะทำงานได้ดีในช่วงนี้ ทารกจะดูดนิ้วหัวแม่มือตนเอง กล้ามเนื้อของแก้มและขากรรไกรจะแข็งแรงขึ้นในช่วงนี้ นอกจากนี้ทารกจะเริ่มร้องไห้ได้ในช่วงเวลานี้

คุณแม่: คุณอาจเห็นผิวแตกลายบริเวณหน้าท้องอันเนื่องมาจากมดลูกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้ส่วนใหญ่แล้วน้ำหนักตัวจะเพิ่มประมาณ 7.26 – 9.98 กิโลกรัม ทำให้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวร่างกายเปลี่ยนไปจากเดิม เพราะท้องมีขนาดใหญ่มากขึ้น

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์นี้ คุณควรพูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์เกี่ยวกับการเตรียมตัวคลอดที่กำลังจะมาถึงในเร็วๆ นี้ ซึ่งทั้งแพทย์หรือพยาบาลจะให้คำแนะนำกับคุณเกี่ยวกับวิธีการสังเกตสัญญาณเตือนของการคลอด เพื่อให้คุณเดินทางมาโรงพยาบาลได้ทัน

สัปดาห์ที่ 28

ทารก: ทารกจะมีขนาดประมาณ 10 นิ้ว (วัดจากกระหม่อมจนถึงก้นของทารก) หรือหากวัดเป็นความยาวโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 15.75 นิ้ว (วัดจากหัวจรดเท้า) และมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.09 กิโลกรัม ทารกจะมีคลื่นสมองที่เรียกว่า rapid eye movement (REM) ขณะนอนหลับ นั่นหมายความว่าทารกอาจมีการฝันเกิดขึ้น ตาของทารกกำลังเปิดในช่วงนี้ และปอดจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คุณแม่: มดลูกขยายตัวมากขึ้นสูงกว่าสะดือของคุณแล้ว เนื่องจากช่วงนี้ทารกจะตัวใหญ่และแข็งแรงขึ้น ทำให้คุณอาจมีอาการตะคริวที่ขา บวมเล็กน้อยที่ข้อเท้าและเท้า นอนหลับยาก หายใจเหนื่อย หายใจลำบากขึ้น ปวดท้องส่วนล่าง เคลื่อนไหวร่างกายลำบาก เชื่องช้า หรือมีอาการเจ็บท้องเตือนบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งเกิดจากการหดและคลายตัวของมดลูก เหมือนกับว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด และในช่วงนี้คุณอาจกลับมามีอาการปัสสาวะบ่อยอีกครั้ง เพราะมดลูกขยายตัวมากจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะนั่นเอง

สัปดาห์ที่ 29

ทารก: ตาของทารกจะสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างแสงแดด หรือ แสงไฟที่ส่องผ่านผนังมดลูกเข้ามาได้แล้ว ทารกจะเคลื่อนไหวร่างกายได้ลดลง เพราะพื้นที่ในมดลูกแคบขึ้น แต่ทารกจะยังมีการเตะและยืดเหยียดร่างกายอยู่ 

คุณแม่: น้ำหนักของคุณจะเพิ่มอยู่ที่ 8.6-11.3 กิโลกรัม ในช่วงนี้คุณต้องเตือนตัวเองเสมอว่า สัญญาณเตือนของการคลอดก่อนกำหนดมีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่ อาการหดเกร็งคล้ายมีประจำเดือน หรือ ปวดหลังส่วนล่าง, พบเห็นน้ำคร่ำไหลออกทางช่องคลอด, หรือมีน้ำสีชมพู หรือสีน้ำตาลไหลออกมา หากเกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ เพราะแพทย์ชะลอการคลอดในช่วงนี้ได้โดยการให้นอนพักผ่อน การใช้ยา หรือให้นอนโรงพยาบาล  

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: โดยทั่วไปความดันโลหิตอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณเดือนที่ 7 ของการตั้งครรภ์ ให้แจ้งแพทย์ทราบ หากคุณมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง, มองเห็นภาพไม่ชัด, บวมที่มือ เท้า และข้อเท้าอย่างรุนแรง หรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มอย่างมาก เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ซึ่งเป็นภาวะอันตรายร้ายแรง ซึ่งจะมีความดันโลหิตสูงและมีโปรตีนในปัสสาวะสูงระหว่างตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 30

ทารก: ทารกจะมีความยาวประมาณ 17 นิ้ว (จากหัวจรดเท้า) และมีน้ำหนักตัวประมาณ 1.36 กิโลกรัม ทารกจะตัวใหญ่ขึ้นมาก และเริ่มควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตนเองได้แล้ว ขนคิ้วและขนตาพัฒนาอย่างเต็มที่ และผมบนศีรษะจะเริ่มหนาขึ้น ศีรษะและลำตัวจะเป็นสัดส่วนเหมือนกับทารกแรกเกิดแล้ว มือเป็นรูปเป็นร่าง และเล็บมือเริ่มขึ้นแล้ว

คุณแม่: มดลูกจะโตขึ้นและจะอยู่สูงกว่าสะดือประมาณ 4 นิ้ว และอาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่า คุณยังมีเวลาตั้งครรภ์อีกประมาณ 10 สัปดาห์ ซึ่งจะมีแรงเบียดจากทารกมาที่ซีโครงของคุณ คุณอาจรู้สึกไม่สบายตัวที่บริเวณอุ้งเชิงกรานและที่บริเวณช่องท้อง ช่วงนี้คุณจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

เคล็ดลับสำหรับช่วงสัปดาห์นี้: ถุงน้ำคร่ำที่หุ้มรอบตัวทารกในช่วงนี้จะยังไม่แตกจนกว่าจะเริ่มเข้าสู่ระยะเริ่มต้นของการคลอด แต่ถ้าถุงน้ำคร่ำเกิดแตกก่อนเวลา จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ ถ้าเกิดกรณีเช่นนี้ให้ไปพบแพทย์ทันที

ในช่วงนี้เกิดอะไรขึ้นในร่างกายคุณบ้าง

ทารกจะเปลี่ยนท่าทางบ่อยครั้ง และตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นได้ ได้แก่ เสียง ความเจ็บปวด และแสง เมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 7 จะเริ่มมีไขมันสะสมที่ร่างกายของทารกแล้ว และในช่วงเดือนนี้น้ำคร่ำที่ล้อมรอบตัวทารกจะเริ่มลดน้อยลง

https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-26-30#1


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
30 Weeks Pregnant: Symptoms, Baby Development, and More. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/30-weeks-pregnant-4159146)
Your Pregnancy Week by Week: Weeks 26-30. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/guide/your-pregnancy-week-by-week-weeks-26-30#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม