วิธีทำน้ำให้สะอาดแบบ RO UV และ Ozone ต่างกันอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 18 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีทำน้ำให้สะอาดแบบ RO UV และ Ozone ต่างกันอย่างไร

การทำน้ำให้สะอาดเหมาะกับการใช้บริโภคมีหลายวิธีนับตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ไม่ว่าจะเป็นการต้มให้เดือดเพื่อใช้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคให้ตาย การกลั่นทำให้น้ำบริสุทธิ์และสะอาดที่สุด แต่กลับมีขั้นตอนยุ่งยากและค่าใช้จ่ายสูง น้ำที่ได้จึงเหมาะแก่การนำไปใช้ในวงการแพทย์ถึงจะคุ้มค่ากว่าการนำมาดื่ม ส่วนการกรองและการฆ่าเชื้อโรคก็นับว่าเป็นวิธีทำน้ำให้สะอาดอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับการนิยมอย่างสูง

วิธีทำน้ำให้สะอาดแบบ Reverse osmosis (RO)

เป็นการทำน้ำให้สะอาดด้วยการใช้วิธีอัดฉีดภายใต้แรงดันสูงผ่านเยื่อกรองน้ำที่เรียกว่า Membrane ซึ่งเป็นเยื่อพิเศษทำจากใยสังเคราะห์เซลลูโลสที่มีรูพรุนขนาดเล็ก และมีความละเอียดมากถึง 0.0001 ไมครอน เรียกว่ามีขนาดเล็กมากจนทำให้เชื้อโรค สารเคมี สารพิษ สารปนเปื้อน และแร่ธาตุต่างๆ ไม่สามารถเล็ดลอดผ่านเยื่อกรองนี้ได้ แต่มีเพียงแค่น้ำเปล่าบริสุทธิ์เท่านั้น สิ่งปนเปื้อนดังกล่าวจะถูกกำจัดออกไป โดยจะแยกคนละทางจากน้ำที่ผ่านการกรองได้ เพื่อป้องกันการสะสมของสิ่งสกปรกหรือสารตกค้างต่างๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีทำน้ำให้สะอาดแบบ Ultra Violet (UV)

เป็นการทำน้ำให้สะอาดโดยใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูง สามารถฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ได้ตามมาตรฐาน แต่ยังคงมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม ฟลูออไรด์ หรือแมกนีเซียม อีกทั้งยังเป็นแบบที่เราสามารถหาไส้กรองมาเปลี่ยนเองได้ง่าย ใช้กระแสไฟขณะทำงานแต่ไม่เปลืองไฟ ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับน้ำประปามากกว่าใช้กรองน้ำจากแหล่งอื่น และเป็นระบบที่ประหยัดน้ำมากกว่าระบบ RO

วิธีทำน้ำให้สะอาดแบบ Ozone

เป็นการฆ่าเชื้อในน้ำอีกประเภทหนึ่งด้วยโอโซน ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสี กลิ่น และความขุ่นได้ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้มากกว่าคลอรีนถึง 1 เท่า กำจัดสารตกค้างในน้ำได้ อีกทั้งโอโซนยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อฆ่าเชื้อโรคแล้วก็จะกลายเป็นก๊าซออกซิเจนเจน จึงทำน้ำให้สะอาดและมีก๊าซออกซิเจนมากขึ้นอีกด้วย

ความแตกต่างของวิธีทำน้ำให้สะอาดทั้ง 3 วิธี

1. Reverse osmosis (RO)

  • ให้น้ำดื่มที่มีคุณภาพสูงถึง 96 % เป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูงมากจนแทบไม่มีสารอะไรเหลืออยู่เลย รวมทั้งแร่ธาตุต่างๆ ที่จำเป็นก็ไม่มีด้วยเช่นกัน เหลือเพียงแค่น้ำเปล่าเท่านั้น หรือกล่าวได้ว่ามีคุณภาพเทียบเท่าน้ำกลั่น
  • ไม่สามารถกำจัดสีและกลิ่นได้
  • เป็นระบบที่ได้มาตรฐานสูงว่าน้ำกรองชนิดอื่นเป็นอย่างมาก
  • ใช้ดื่มได้แต่รสชาติไม่ดี อีกทั้งหากดื่ม RO เป็นประจำ ร่างกายอาจได้รับแร่ธาตุน้อยจนไม่เพียงพอ
  • อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำ

2. Ultra Violet (UV)

  • สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ แต่ขจัดคลอรีนไม่ได้
  • กลิ่นและรสชาติของน้ำไม่เปลี่ยน ไม่มีสารตกค้าง หรือไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง
  • สามารถฆ่าเชื้อโรคเฉพาะน้ำที่ผ่านก่อนการบรรจุใส่ภาชนะเท่านั้น จะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่มากับภาชนะได้
  • สำหรับเครื่องกรองน้ำวิธีนี้มีค่าซ่อมบำรุงต่ำ เนื่องจากเปลี่ยนไส้กรองเพียงปีละ 1 ครั้ง
  • อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับอายุของหลอดยูวี

3. Ozone

  • ให้น้ำดื่มที่ไม่มีสารตกค้างในน้ำ
  • รสชาติของน้ำไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อในน้ำ
  • มีผลเสียคือโอโซนมักจะทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ในน้ำ และอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องกรองน้ำชนิดนี้ ควรจำเป็นต้องมี Activated Carbon Filter เพื่อป้องกันสารก่อมะเร็งหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำ
  • เมื่อบรรจุน้ำเข้าไปในภาชนะ โอโซนในน้ำก็จะฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในภาชนะนั้นๆ ให้ตายไปด้วย
  • การซ่อมบำรุงทำได้สะดวกและมีค่าใช้จ่ายน้อย

นับว่าทั้ง 3 วิธีเป็นการทำน้ำให้สะอาดที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากเราจะเลือกเครื่องกรองน้ำมาใช้ ก็ควรจะมีความรู้พื้นฐานในเรื่องประเภทของเครื่องกรองน้ำด้วย ว่ามีการใช้งานที่เหมาะกับน้ำชนิดไหนและไส้กรองควรเปลี่ยนเมื่อใด เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น เนื่องจากน้ำดื่มที่สะอาดจะขึ้นอยู่กับเครื่องกรองน้ำด้วยเช่นกัน


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Stragier, Andre & Jadoul, Michel. (2005). Ultraviolet radiation to preserve high reverse osmosis water quality. Clinical nephrology. 63. 35-40. 10.5414/CNP63035. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/8052778_Ultraviolet_radiation_to_preserve_high_reverse_osmosis_water_quality)
Marron, Emily & Mitch, William & Gunten, Urs & Sedlak, David. (2019). A Tale of Two Treatments: The Multiple Barrier Approach to Removing Chemical Contaminants During Potable Water Reuse. Accounts of Chemical Research. 52. 10.1021/acs.accounts.8b00612. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/331461875_A_Tale_of_Two_Treatments_The_Multiple_Barrier_Approach_to_Removing_Chemical_Contaminants_During_Potable_Water_Reuse)
Bódalo, Antonio & Gómez, J.L. & Gomez, Enjelyn & Hidalgo, Asuncion & Alemán, A. (2005). Viability study of different reverse osmosis membranes for application in the tertiary treatment of wastes from the tanning industry. Desalination. 180. 277-284. 10.1016/j.desal.2005.02.008. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/228650295_Viability_study_of_different_reverse_osmosis_membranes_for_application_in_the_tertiary_treatment_of_wastes_from_the_tanning_industry)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)