อาหารแต่ละชนิด เก็บไว้ในตู้เย็นได้นานแค่ไหน จึงจะไม่เสีย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาหารแต่ละชนิด เก็บไว้ในตู้เย็นได้นานแค่ไหน จึงจะไม่เสีย

a13.gif หลากหลายอาหาร วิธีการถนอมอาหารด้วยการแช่เย็น แต่เราผู้บริโภค จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับ ระยะเวลาของอาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็น ว่าเก็บไว้ได้นานแค่ไหนจึงจะไม่ทำให้อาหารเสื่อมสภาพ (มากเกินไป) แบ่งประเภทออกเป็น 4 ประเภทคือ อาหารปรุงสำเร็จ, อาหารสด, ไข่ เนื้อสัตว์ และพืชผัก

1. อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว

ควรแพ็กใส่กล่องหรือภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิดให้เรียบร้อย แต่ถ้าอาหารนั้นยังร้อนอยู่ก็ควรปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นลงก่อนใส่ตู้เย็น

2.อาหารสด

หากเป็นเนื้อสัตว์ที่ยังสดอยู่จะเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 2-5 วัน แต่ถ้าหากเป็นเนื้อสัตว์ที่สุกแล้วจะเก็บได้นาน 2-6 วัน ส่วนเนื้อสัตว์ที่สับหรือบดแล้วจะเก็บได้ไม่เกิน 1 วัน แต่ถ้านำไปทำให้สุกจะอยู่ได้ 2-4 วัน

3.ไข่

จะตรงกันข้ามกับเนื้อสัตว์ เพราะไข่สดจะเก็บได้นาน 3-4 สัปดาห์ ซึ่งจะนานกว่าไข่ต้มสุกที่อยู่ได้แค่ไม่เกินสัปดาห์เดียว ก็จะเริ่มมีกลิ่นแล้ว

4. ผักใบ

จะมีระยะในการเก็บในตู้เย็นประมาณ 1-3 วัน แต่ถ้าเป็นผักประเภทกะหล่ำจะอยู่นาน 5-7 วัน เพราะฉะนั้นอย่าเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นจนนานเกินไป อาจจะทำให้อาหารหมดอายุและทานเข้าไปแล้วไม่ได้คุณค่าของอาหารด้วยนะครับ.


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Which Foods From Your Fridge to Toss (and Which to Keep) After a Power Outage. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/which-foods-from-your-fridge-to-toss-and-which-to-keep-after-a-power-outage/)
Food and Water Safety During Power Outages and Floods. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/food/buy-store-serve-safe-food/food-and-water-safety-during-power-outages-and-floods)
How Long Can You Safely Store Meat?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/can-i-still-eat-it-meats)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)