ชวิน รวิทิวากุล
เขียนโดย
ชวิน รวิทิวากุล
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

เที่ยวช่วง COVID-19 อย่างไรให้ปลอดภัย?

เที่ยวช่วง COVID-19 ระบาดอย่างไรให้เสี่ยงติดเชื้อต่ำที่สุด รวมข้อควรรู้ต่างๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังกลับจากเที่ยวช่วง Covid-19
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 13 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
เที่ยวช่วง COVID-19 อย่างไรให้ปลอดภัย?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หากต้องการเดินทางไปต่างประเทศควรติดต่อสถานทูตประเทศนั้นๆ เพื่อสอบถามเงื่อนไขการเข้าประเทศ มาตรการป้องกันโรคอย่างไรบ้าง ณ ปัจจุบันก่อน เช่น เอกสารการตรวจโรค 
  • ต้องหาข้อมูลว่า การเดินทางในช่วงไหน ประเทศใด ควรฉีดวัคซีนอะไรก่อนเดินทางบ้าง เพื่อป้องกันการรับเชื้อต่างถิ่น เช่น ไข้เหลือง ไข้มาลาเรีย รวมถึงตรวจ COVID-19 ก่อนไปด้วยเพื่อลดโอกาสในการแพร่ระบาด
  • สิ่งสำคัญของการป้องกัน COVID-19 ระหว่างท่องเที่ยวคือ การสวมหน้ากากอนามัย รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และล้างมือให้ถูกวิธีบ่อยๆ เพราะเชื้อCOVID-19 สามารถอยู่บนพื้นผิวบางชนิดได้นานถึง 3 วัน และละอองฝอยสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 3 ชั่วโมง
  • หลังกลับจากการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงควรกักตัว 14 วัน วัดไข้และบันทึกอาการทุกวัน หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือใช้ของส่วนตัวร่วมกับคนอื่น หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ ด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเชื้อ COVID-19 

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลกยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นทำให้การปลดล็อกการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งในและต่างประเทศ ยังคงมีความเสี่ยงที่จะติด COVID-19 อยู่ 

อย่างไรก็ตาม หลายคนวางแผนการเดินทางล่วงหน้าไว้หลายเดือนในช่วงที่พื้นที่นั้นยังไม่มีการแพร่ระบาด (กรณีในประเทศ) แต่เมื่อถึงกำหนดเดินทางจริงกลับมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เพียงแต่การแพร่ระบาดอาจยังไม่รุนแรงถึงขั้นที่รัฐจัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดไม่อนุญาตให้เดินทางเข้า-ออกตามปกติ 

ในความเป็นจริงไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ไหน หากมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นก็ขอความความร่วมมือไม่ให้เดินทางเพื่อความปลอดภัยของทุคน แต่หากเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้เดินทางก็ต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี

เมื่อเป็นเช่นนั้นดังนั้นในบทความนี้จะมาพูดถึงข้อควรรู้ วิธีปฎิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการเดินทาง หรือท่องเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาด 

เที่ยวช่วง COVID-19 ต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนเดินทางท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามากกว่าภาวะปกติหลายรายการ ต่อไปนี้เป็นเช็กลิสต์คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนไปเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาด 

1. ตรวจสอบสถานที่เที่ยว

ก่อนไปเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาดควรตรวจสอบสถานที่ปลายทางก่อนว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นอย่างไรในรอบ 14 วันที่ผ่านมา

หากจำนวนผู้ติดเชื้อยิ่งมาก ความเสี่ยงที่คุณจะติด COVID-19 ก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจมีอาการรุนแรงเมื่อติด COVID-19 เช่น ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคปอด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบข้อกำหนดของสถานที่นั้นๆ ให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปต่างประเทศควรตรวจสอบข้อมูลจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ ว่า สามารถเดินทางได้หรือไม่ หากเดินทางได้จะมีมีเงื่อนไขในการเดินทางและท่องเที่ยวอย่างไร

สิ่งที่ควรเตรียมความพร้อมเบื้องต้น 

  • หนังสือเดินทาง (Passport) โดยปกติมีอายุ 10 ปี ควรแน่ใจให้หนังสือเดินทางของคุณยังมีอายุเหลืออีกอย่างน้อย 6 เดือน หลังจากกลับถึงบ้านแล้ว เพื่อความปลอดภัยในการอนุมัติเข้าประเทศ
  • หนังสือเดินทางสำหรับเด็ก โดยปกติมักมีอายุเพียง 5 ปีเท่านั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า หนังสือเดินทางยังไม่หมดอายุในระหว่างการท่องเที่ยว
  • วีซ่า (Visa) ควรติดต่อสถานทูตของประเทศที่ต้องการเดินทางไปเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการเที่ยวช่วง COVID-19 เพิ่มเติม
  • ยาประจำตัว ยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์บางชนิดรวมถึงยาที่สามารถซื้อได้ตามร้ายขายยาทั่วไปบางชนิด เพราะยาบางชนิดที่เราต้องใช้อาจเป็นยาผิดกฎหมาย หรือไม่มีจำหน่ายในประเทศอื่น จึงควรติดต่อสถานทูตเพื่อขอข้อมูลดังกล่าว
  • ใบอนุญาตขับขี่ต่างประเทศ (International Driving Permit: IDP) ติดต่อสถานทูตของประเทศทีต้องการเดินทางไปหากต้องการใช้ใบขับขี่

เอกสารเหล่านี้ควรทำสำเนาไว้อย่างละหลายฉบับในกรณีที่หน่วยงาน หรือสถานที่ให้บริการต่างๆ เรียกเก็บ เช่น โรงแรมที่พัก สถานที่กักตัว

2. ตรวจสอบสถานที่พัก

หากเดินทางไปเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาดติดต่อกันหลายวัน และต้องพักค้างคืนตามโรงแรม หรือที่พัก ควรวางแผนล่วงหน้าเพื่อให้มีเวลาสอบถามผู้ให้บริการถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • มาตรการป้องกันโรค สอบถามโรงแรมที่พักถึงมาตรการป้องกัน COVID-19 เช่น ผู้ให้บริการสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ มีจุดบริการเจลล้างมือไหม นโยบายเว้นระยะห่าง หรือลดความหนาแน่น เป็นอย่างไร
  • มาตรการลดการสัมผัส สอบถามการใช้บริการในที่พักถึงการปรับตัวเรื่องลดการสัมผัส เช่น มีบริการทำธุรกรรมทางออนไลน์ไหม ใช้แอปพลิเคชั่นยืนยันตัวตนแทนกุญแจได้หรือไม่
  • สอบถามปริมาณผู้เข้าพัก พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจำนวนมากมักเลือกช่วงวันหยุดยาวในการไปเที่ยวพร้อมๆ กัน ทำให้ที่พักอาจมีลูกค้าใช้บริการเป็นจำนวนมาก ทำให้การเที่ยวช่วง COVID-19 อาจต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

นอกจากนี้หากสถานที่ที่จะไปมีบริการส่วนกลาง เช่น ร้านทำผม ร้านทำเล็บ ร้านอาหาร ร้านหนังสือ ควรสอบถามถึงจำนวนผู้ใช้งานและมาตรการของส่วนบริการเหล่านี้ด้วย

3. ฉีดวัคซีนที่ได้รับคำแนะนำ

แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะยังไม่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้บริการเหมือนวัคซีนอื่นๆ ตามโรงพยาบาลทั่วไป แต่การฉีดวัคซีนอื่นๆ ตามคำแนะนำของ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for disease control and prevention: CDC) ก็อาจช่วยลดโอกาสในการรับเชื้อแปลกปลอมตอนเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาดได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กลุ่มวัคซีนที่ควรฉีดทุกคน

  • วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Chickenpox)
  • วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (Diphtheria-Tetanus-Pertussis)
  • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
  • วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน (Measles-Mumps-Rubella: MMR)
  • วัคซันป้องกันโปลิโอ (Polio)

กลุ่มวัคซีนที่คนส่วนใหญ่ควรฉีด

  • วัคซีนป้องกันตับอักเสบเอ (Hepatitis A)
  • วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ (Typhoid)

กลุ่มวัคซีนที่ควรฉีดเฉพาะบางคน

หากมีแผนจะเดินทางเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ควรปรึกษาแพทย์ล่วงหน้าถึงแผนกำหนดการท่องเที่ยว เพื่อให้แพทย์ประเมินว่า พื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่เสี่ยงโรคอะไรเป็นพิเศษหรือไม่

4. ตรวจโรคก่อนเที่ยวช่วง COVID-19

การตรวจโรคก่อนเดินทาง ถือเป็นหนึ่งในการลดโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ได้ โดยเฉพาะหากเดินทางกลับไปเยี่ยมครอบครัว หรือญาติ ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดระดับต่างๆ

หากมีอาการป่วยที่อาจเป็นสัญญาณของ COVID-19 ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยด้วย อาการของ COVID-19 อาจมีดังนี้

  • มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส
  • มีน้ำมูก
  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • อาจมีอาการไอ จาม
  • จมูกไม่ได้กลิ่น 
  • ลิ้นไม่รับรส

อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยที่ติด COVID-19 จำนวนมากที่อาจยังไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ หากมีประวัติใกล้ชิดกับคนที่เพิ่งได้รับวินิจฉัยว่าติด COVID-19 ควรพิจารณาเลื่อนแผนการเดินทางท่องเที่ยวออกไปก่อน

5. พิจารณาความเสี่ยงของการเดินทางด้วยช่องทางต่างๆ

หนึ่งในขั้นตอนที่เพิ่มความเสี่ยงติด COVID-19 คือ ระหว่างเดินทาง เพราะเป็นช่วงที่อาจต้องอยู่ร่วมกับคนอื่นเป็นเวลานาน และระบบกรองอากาศของบริการขนส่งส่วนมากมักไม่ได้ออกแบบมาเพื่อป้องกัน COVID-19

แนวทางการปฎิบัติในระหว่างเดินทางเที่ยวช่วง COVID-19 อาจมีดังนี้

  • เดินทางโดยรถทัวร์ หรือรถไฟ เป็นการเดินทางที่เว้นระยะห่างได้ยากเพราะเนื้อที่มีจำกัด แต่สิ่งที่สามารถทำได้คือ พิจารณาเลือกผู้ให้บริการที่ปิดกั้นที่นั่งบางส่วนเพื่อลดความหนาแน่น หรือเลือกเดินทางในวัน-เวลา ที่ผู้โดยสารมีจำนวนน้อย และต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทาง
  • เดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างปลอดภัยเพราะสามารถทำความสะอาดพื้นผิวภายในรถได้ แต่อย่างไรก็ตาม ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะลงจากรถ พกทิชชู่เปียก หรือเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้เสมอ เพราะจำเป็นต้องใช้ตามจุดจอดแวะพัก เช่น ห้องน้ำสาธารณะตามปั๊มน้ำมัน
  • เดินทางโดยเครื่องบิน ระบบปรับอากาศบนเครื่องบินค่อนข้างมีประสิทธิภาพกว่าบริการขนส่งประเภทอื่น ทำให้โอกาสติด COVID-19 ลดลงได้บ้าง แต่ก็ยังควรเลือกสายการบินที่มีการเว้นระยะห่างของที่นั่ง รวมถึงสวมหน้ากากอนามัยระหว่างเดินทาง และเว้นระยะห่างระหว่างอยู่ที่สนามบินด้วย เพราะมีนักท่องเที่ยวจากหลายชาติเดินทางร่วมมาด้วยซึ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้

6. เตรียมอุปกรณ์ในการรักษาความสะอาด

อุปกรณ์ที่ควรเตรียมก่อนเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาดอาจมีดังนี้

  • หน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า เป็นสิ่งที่ควรใส่ตลอดเวลา หากต้องเดินทาง หรือท่องเที่ยวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ควรเตรียมหน้ากากอนามัยให้เพียงพอ หรือหน้ากากที่สามารถสับเปลี่ยนตอนซักทำความสะอาดได้
  • กระดาษทิชชู่ หรือทิชชู่เปียก ใช้สำหรับเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ รวมถึงป้องจมูกและปากเมื่อไอจาม
  • เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป สามารถใช้ได้บ่อยตามต้องการ ทั้งล้างมือและเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวต่างๆ
  • ยาประจำตัว ปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ถึงแผนในการเดินทางท่องเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาด เพื่อขอคำแนะนำในการใช้ยาและการปฎิบัติตัว
  • แว่นกันลม หรือ Face shield ควรเตรียมไว้หากต้องเดินทางระยะไกลด้วยรถทัวร์ เพื่อป้องกันละอองฝอยจากการไอ จาม เข้าตา

ระหว่างเที่ยวช่วง COVID-19 ควรปฎิบัติตัวอย่างไร?

ผู้ที่ติด COVID-19 บางคนอาจไม่แสดงนานกว่า 14 วันหลังติดเชื้อ แต่สามารถแพร่เชื้อได้จากสารคัดหลั่งโดยการไอ จาม พูด และร้องเพลง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำกันอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน

ต่อไปนี้เป็นแนวทางการปฎิบัติตัวในระหว่างเที่ยวช่วง COVID-19

1. สวมหน้ากากอนามัยบ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

หลายคนเลือกใส่หน้ากากอนามัยเฉพาะช่วงที่อยู่กับคนมากๆ แต่แม้จะอยู่ในที่ที่คนไม่หนาแน่น หากมีผู้ติดเชื้ออยู่ภายในสถานที่นั้นเพียง 1 คน ก็มีโอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจายมาติดได้เช่นกัน

เพราะการไอ หรือจาม 1 ครั้งสามารถปล่อยละอองฝอยมากกว่า 1,000 ละอองฝอย แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • ละอองขนาดใหญ่ (Macro droplets) เป็นละอองที่ฝุ้งกระจายในอากาศเพียงระยะเวลาสั้นๆ หลังไอ จาม และตกลงสู่พื้นใน 30 วินาที
  • ละอองขนาดเล็กที่มองไม่เห็น (Micro droplets) ละอองฝอยประเภทนี้จะลอยฟุ้งในอากาศได้นานถึง 20 นาทีโดยที่มองไม่เห็น ผู้ไอ จาม อาจจะเดินออกไปแล้วแต่ละอองฝอยยังคงลอยอยู่

การสวมหน้ากากอนามัยไว้เมื่ออยู่ร่วมกับนักท่องเที่ยวคนอื่น ในที่สาธารณะ หรือพื้นที่ปิด จึงช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าที่คิด

แต่ข้อควรระวังของการหน้ากากอนามัยคือ ไม่ควรสวมหน้ากากให้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ และไม่ควรสวมหน้ากากอนามัยขณะออกกำลังกายเพราะอาจส่งผลเสียต่อระบบหายใจได้

2. เว้นระยะห่างกับคนแปลกหน้าอยู่เสมอ

การเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร (2 ช่วงแขน) ตอนเดินทางท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 แพร่ระบาดสามารถลดโอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจายมาสู่คุณได้ เช่น ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ เข้าใช้บริการในร้านที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

หากเห็นผู้ป่วยที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม หายใจหอบ หรือทราบจากผู้ให้บริการสถานที่ท่องเที่ยวว่า มีไข้ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ทันที

หากใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยไม่ได้ตั้งใจ ควรสังเกตอาการของตนเองอย่างใกล้ชิดว่า มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือไม่ หากมีควรพบแพทย์ทันที

3. รักษาความสะอาดบนพื้นผิวที่ใช้บริการบ่อยๆ

เชื้อ COVID-19 สามารถมีชีวิตอยู่บนภาชนะบางชนิด เช่น พลาสติก โลหะ ได้นานถึง 72 ชั่วโมง จึงมีโอกาสเผลอนำมือที่หยิบจังสิ่งของเข้ามาใกล้ตา ปาก และจมูกได้

ก่อนใช้บริการ หรือสัมผัสพื้นผิวของใช้สาธารณะและของใช้ส่วนตัว เช่น ฝารองชักโครก ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟท์ ปุ่มเปิดปิดไฟในห้องพัก โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กระเป๋าสตางค์

ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป หรือผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำ 99 ส่วน เช็กพื้นผิวโดยรอบก็ได้

4. ล้างมือก่อนและหลังหยิบจับสิ่งของ

การล้างมือให้ถูกวิธีนานอย่างน้อย 20 วินาที ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป หลังหยิบจับสิ่งของ หรือสัมผัสผู้คน จะช่วยลดความเสี่ยงในการทำให้เชื้อ COVID-19 เข้าสู่ร่างกายได้ เช่น

  • ก่อนรับประทานอาหาร
  • ก่อนจับใบหน้า โดยเฉพาะ จมูก ปาก และดวงตา
  • หลังจากใช้ห้องน้ำสาธารณะเสร็จ
  • หลังไอ หรือจาม
  • ก่อนและหลังจับหน้ากากอนามัย
  • หลังสัมผัสสัตว์เลี้ยง

5. แจ้งกับคนใกล้ชิดทันทีที่รู้สึกป่วย

หากมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรืออาการอื่นๆ ระหว่างเดินทาง ท่องเที่ยวช่วง COVID-19 แพร่ระบาดควรแจ้งกับคนใกล้ชิดทันที เพื่อให้เว้นระยะห่างและลดการสัมผัส

นอกจากนี้ควรเว้นระยะห่างจากนักท่องเที่ยวคนอื่น และแจ้งกับผู้ให้บริการนำเที่ยว เพราะผู้ให้บริการเที่ยวมักผ่านการอบรมแนวทางปฎิบัติหากพบผู้โดยสารป่วยอยู่แล้ว

ผู้ดูแลอาจสอบถามอาการ ระยะเวลาที่เป็น ประวัติการเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลในการประสานงาน

หลังกลับจากเดินทางท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ควรปฎิบัติตัวอย่างไร?

การเดินทางท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 แพร่ระบาดมีความเสี่ยงรับเชื้อได้แม้จะมีมาตรการป้องกันแล้วก็ตาม และอาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้

แต่หลังติดเชื้อแล้วคุณอาจมีโอกาสส่งต่อเชื้อให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะคนใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัว ดังนั้นควรทำตามแนวทางปฎิบัติต่อไปนี้

  • หากเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หรือพื้นที่เสี่ยงควรกักตัวในที่พักอาศัยอย่างน้อย 14 วัน
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของตนเองทุกวัน
  • สังเกตอาการของ COVID-19 เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส 
  • บันทึกผลการตรวจวัดเป็นประจำทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • ควรทิ้งกระดาษทิชชู่ หรือหน้ากากอนามัยโดยใส่ถุงพลาสติกทิ้งให้มิดชิดทุกครั้ง
  • ทำความสะอาดที่พักด้วยน้้ายาฟอกขาว หรืออาจใช้แอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไป
  • เว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 1-2 เมตร
  • งดการเข้าร่วมการสัมมนา การไปที่สาธารณะ ห้องประชุม
  • ติดตามคำแนะนำและปฎิบัติตามแนวทางของหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

โดยสรุปแล้ว การเดินทางท่องเที่ยวในช่วง COVID-19 แพร่สามารถทำได้ หากพื้นที่ที่ต้องการเดินทางไป ไม่ใช่พื้นที่ควบคุมการเข้า-ออก แต่อาจต้องพิถีพิถันในการระวังตนเองมากกว่าปกติ 

สิ่งสำคัญคือ การไม่ปกปิดข้อมูลกับเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และการล้างมืออย่างถูกวิธีบ่อยๆ เป็นหนึ่งในวิธีชะลอการระบาดที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากที่สุด จึงควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมเหล่านี้เป็นอันดับต้นๆ

หากไม่แน่ใจว่า ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ทั้งก่อนและหลังจากเดินทางท่องเที่ยวแล้วให้ปลอดภัยทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง ปัจจุบันมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ สามารถสอบถามได้เพื่อสร้างความมั่นใจ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเชื้อ COVID-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
U.S. Department of state Bureau of consular affairs, Traveler's Checklist, (https://travel.state.gov/content/travel/en/international-travel/before-you-go/travelers-checklist.html), 31 July 2020.
Ramananda Ningthoujam, COVID 19 can spread through breathing, talking, study estimates, (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7205645/), 31 July 2020.
Joni Sweet, Did COVID-19 Cancel Thanksgiving? What to Know About Holiday Travel During the Pandemic, (https://www.healthline.com/health-news/did-covid-19-cancel-thanksgiving-what-to-know-about-holiday-travel-during-the-pandemic), 31 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

วิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัย และการไปออกกำลังกายที่ยิมเสี่ยงติด COVID-19 ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?
“Social distancing” คืออะไร แค่ไหนถึงจะห่างพอ?

มาดูกันว่า Social distancing จะช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้จริงหรือ? แล้วต้องเว้นระยะห่างแค่ไหนถึงจะปลอดภัยจาก COVID-19

อ่านเพิ่ม