โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของคุณ ซึ่งทำได้หลายวิธีด้วยกัน ตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่นที่สามารถเก็บข้อมูลด้านสุขภาพที่หลากหลาย หรือเครื่องมือต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. บันทึกโดยการกรอกข้อมูล
นี่คือวิธีแรกเริ่มของการเก็บบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น ความดันเลือด น้ำหนัก ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับพลังงาน และรายชื่อยาที่รับประทาน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณสามารถใช้แอพพลิเคชั่นของตัวมือถือเอง (เช่น Notes บน iPhone) หรือใช้ cloud storage เช่น Dropbox หรือ Google drive ส่วน Evernote จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทุกรูปแบบทั้งแบบกรอกข้อมูลและแบบใช้เซนเซอร์
อีกทั้งยังมีวิธีการบันทึกอาหารและการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ง่ายในแอพพลิเคชั่น MyFitnessPal และ SparkPeople ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลากหลายวิธี เช่น การแสกนรหัสบาร์โค้ดบนฉลากอาหาร และการเชื่อมต่อแอพพลิเคชั่นที่บันทึกกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว
2. บันทึกโดยใช้เซนเซอร์มือถือ
เนื่องจากเซนเซอร์มือถือสามารถใช้ในการแสกนประเภทข้อมูลต่าง ๆ ที่แอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้ ดังนั้นแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ จึงใช้ความสามารถของตัวมือถือเองนี้ในการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพที่หลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การบันทึกกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว โดยที่แอพลิเคชั่นมากมาย (เช่น RunKeeper) ใช้ระบบ GPS บนมือถือในการบันทึกกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การวิ่ง หรือเดิน
แอพพลิเคชั่นอีกประเภท (เช่น Zombie, Run!) ก็ใช้เซ็นเซอร์ accelerometer บนมือถือเพื่อที่จะบันทึกกิจกรรมภายในร่ม เช่น การวิ่งบนลู่วิ่ง ซึ่งไม่สามารถวัดได้ด้วยระบบ GPS
แอพพลิเคชั่น Sleep Cycle Alarm Clock ก็ใช้เซ็นเซอร์ accelerometer เช่นกัน โดยผู้คิดค้นอ้างว่าแอพพลิเคชั่นสามารถวัดช่วงการนอนได้ผ่านเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งไว้ใต้ฟูก ซึ่งแอพพลิเคชั่นจะปลุกให้ตื่นภายใน 30 นาทีหลังจากช่วงท้ายของการนอน
อย่างไรก็ตาม ลักษณะของการเคลื่อนไหวร่างกายจะไม่สัมพันธ์กับช่วงการนอนเสมอไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติด้านการนอน (sleep disorder)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กล้องถ่ายรูป ก็เป็นเซ็นเซอร์อีกชนิดที่มีประโยชน์ ซึ่งแอพพลิเคชั่น Instant Heart Rate ของบริษัท Azumio ใช้ความสามารถของเซ็นเซอร์ดังกล่าว ในการวัดอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อวางปลายนิ้วไว้บนเลนส์กล้อง เซ็นเซอร์นี้จะสามารถจับการเปลี่ยนแปลงของสีบนปลายนิ้ว ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจ อีกทั้งยังมีบางแอพพลิเคชั่นที่ใช้เซ็นเซอร์ชนิดนี้ ในการวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (oxygen saturation) แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากความไม่แม่นยำของการวัด เมื่อเทียบกับเซ็นเซอร์ที่พัฒนามาเพื่อวัดความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดโดยเฉพาะ
มีแอพพลิเคชั่นอีกจำนวนมากที่ใช้ประโยชน์จากกล้องถ่ายรูปบนมือถือในการสแกนฉลากอาหาร โดยจะทำให้สามารถบันทึกจำนวนแคลอรี่และสารอาหารต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งทำให้การบันทึกข้อมูลอาหารสะดวกและรวดเร็ว
3. บันทึกโดยใช้เซนเซอร์สำหรับบันทึกข้อมูลสุขภาพโดยเฉพาะ
ความสามารถอีกอย่างที่พิเศษของมือถือ คือการที่มือถือสามารถเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์จากตัวเครื่องอื่นๆ
ตัวอย่างเช่น
- เครื่องบันทึกกิจกรรม เช่น Fitbit, Jawbone, Spark เป็นต้น
- เครื่องวัดความดัน
- เครื่องวัดระดับน้ำตาล
- เครื่อง pulse oximeter สำหรับวัดอัตราการเต้นของหัวใจ และ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
- เครื่องชั่งน้ำหนัก
- เครื่องตรวจบันทึกอัตราเต้นของหัวใจ (heart rhythm) เช่น AliveCor
- peak flow meter สำหรับตรวจบันทึกโรคหอบหืด
มีแอพพลิเคชั่นอย่างเช่น Health ของบริษัท Apple ที่สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาไว้ในที่เดียวกันได้
4. เชื่อมต่อกับเวชระเบียนระบบดิจิตัล (Electronic health records)
ข้อมูลด้านสุขภาพส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บในเวชระเบียนระบบดิจิตัล ซึ่งอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จัดเก็บในเวชระเบียน เช่น สัญญาณชีพ (Vital signs), ประวัติการสั่งยา, ผลตรวจ, การนัดพบแพทย์, และผลสรุปจากการตรวจ ได้ผ่านทาง Patient portal บนมือถือ หรือสามารถดาวน์โหลดโดยโปรแกรม Blue Buttons