วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

ขูดหินปูนทำอย่างไร ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

รวมขั้นตอนการขูดหินปูน อุปกรณ์ที่ใช้เป็นแบบไหน ขูดหินปูนด้วยตนเองได้หรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 7 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ขูดหินปูนทำอย่างไร ใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ขูดหินปูนเป็นการรักษาทางทันตกรรมเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ เชื้อโรค หรือแบคทีเรียที่ตกตะกอนกับแคลเซียมในน้ำลายจนกลายเป็นคราบแข็งติดกับเนื้อฟัน
  • คุณควรให้ทันตแพทย์ขูดหินปูนให้ปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน
  • การขูดหินปูนไม่ได้มีส่วนทำให้ฟันห่างขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่อาจทำให้รู้สึกเสียวฟัน หรือไม่สบายเหงือกระหว่างขูดเท่านั้น
  • มีการวางขายอุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยตนเองตามอินเทอร์เน็ต แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ได้มีคุณภาพมากพอที่จะสามาถขจัดหินปูนออกได้เหมือนอุปกรณ์ของทันตแพทย์ในคลินิก หรือโรงพยาบาล จึงควรให้ทันตแพทย์เป็นผู้ขูดหินปูนให้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน

คราบหินปูน (Tartar) หรือ “หินน้ำลาย” เป็นเชื้อจุลินทรีย์ เชื้อโรค และแบคทีเรียที่ตกตะกอนจากแคลเซียมในน้ำลายจนกลายเป็นคราบแข็งตัวติดกับเนื้อฟัน

หินปูนเป็นคราบที่ไม่สามารถขจัดออกได้ด้วยการบ้วนน้ำ หรือแปรงฟัน ต้องขจัดออกผ่านการขูดหินปูนโดยทันตแพทย์เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทุกคนที่เข้ารับการตรวจสุขภาพปากและฟันมักจะได้รับคำแนะนำให้ขูดหินปูนทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากแผ่นคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันจะมีการสะสมหนาตัวขึ้นตลอดเวลา แม้แต่เวลาที่ไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม จนเป็นสาเหตุหลักซึ่งทำให้เกิดหินปูน 

เมื่อหินปูนเกิดการสะสมที่เนื้อฟันมากๆ ก็สามารถลุกลามกลายเป็นโรคเหงือกและโรคปริทันต์ได้

ความหมายของการขูดหินปูน

การขูดหินปูน (Dental Scaling) คือ การทำทันตกรรมเพื่อขจัดคราบหินปูนที่เกาะติดอยู่กับเนื้อฟันและซอกฟันเพื่อความสะอาด และป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เกิดจากความสกปรกของคราบหินปูนในภายหลัง เช่น

  • โรคเหงือก
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • เนื้อฟันมีคราบ
  • มีกลิ่นปาก
  • เหงือกร่น
  • เหงือกบวม
  • ฟันห่าง
  • มีอาการเสียวฟันมากเนื่องจากเหงือกร่นไปมาก
  • ฟันโยก จนกระทั่งสูญเสียฟันในที่สุด

การขูดหินปูนสามารถทำได้ในทุกคนที่มีหินปูน ตั้งแต่ฟันน้ำนมของเด็กเล็กไปจนถึงฟันของผู้สูงอายุ แต่สิ่งสำคัญคือ ทุกคนควรต้องเข้ารับการตรวจฟันทุก 6 เดือน เพื่อให้ทันตแพทย์ได้ตรวจคราบหินปูนและขจัดออกอยู่เรื่อยๆ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงดังที่ได้กล่าวมา

ขั้นตอนการขูดหินปูน

  • ก่อนขูดหินปูน ทันตแพทย์จะตรวจดูคราบหินปูนตามเนื้อฟัน และซอกฟันทั่วทั้งช่องปากเสียก่อน จากนั้นจะเริ่มขจัดคราบหินปูน
  • เมื่อใช้เครื่องขูดหินปูนแล้ว หากยังมีคราบหินปูนเล็กๆหลงเหลือ ทันตแพทย์จะเริ่มใช้อุปกรณ์แบบด้ามจับซึ่งจะมีส่วนปลายคล้ายตะขอขนาดเล็กสำหรับขูดหินปูนเฉพาะตำแหน่งเพื่อขจัดคราบหินปูนที่ติดอยู่ตามซอกฟัน เหนือเหงือก ใต้เหงือก หรือบริเวณที่อุปกรณ์ชิ้นใหญ่เข้าไม่ถึงได้
  • ทันตแพทย์จะขูดทำความสะอาดทั้งบนตัวฟันและรากฟันส่วนบนที่มีหินปูนให้เรียบ (เรียกว่าเกลารากฟัน) เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคสะสม และเพื่อให้เหงือกยังคงติดแน่นกับตัวฟันอย่างแข็งแรงและสะอาดเช่นเดิม
  • ทันตแพทย์อาจใช้หัวขัด ขัดฟันเพิ่มเพื่อกำจัดคราบหินปูนออกไปให้หมดจดจากเนื้อฟัน แล้วจึงให้ผู้เข้ารับบริการบ้วนปากให้เรียบร้อยเพื่อล้างคราบหินปูนออกจากช่องปาก เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการขูดหินปูน

โดยปกติขั้นตอนการขูดหินปูนไม่ต้องฉีดยาชา ยกเว้นแต่ผู้เข้ารับบริการรู้สึกเสียวฟัน หรือเจ็บเหงือกมากจนทนไม่ไหว ทันตแพทย์ก็อาจพิจารณาฉีดยาชาให้ ส่วนระยะเวลาการขูดหินปูนในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามการสะสมของคราบหินปูนด้วย

หลังจากขูดหินปูนเสร็จ ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้ารับบริการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาบ้วนปากเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการแต่ละราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขูดหินปูน

หลายคนอาจเข้าใจว่า อุปกรณ์ขูดหินปูนที่เข้าไปขจัดหินปูนตามซอกฟันจะทำให้ฟันแยกห่างออกจากกัน ความจริงแล้ว อุปกรณ์ขูดหินปูนสามารถทำให้ฟันเคลื่อนที่ออกจากกันได้ 

ในระหว่างขูดหินปูน ผู้เข้ารับบริการบางรายอาจรู้สึกเสียวฟัน หรือรู้สึกไม่สบายเหงือกบ้าง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงปกติในระหว่างขูดหินปูน

อุปกรณ์ขูดหินปูน

โดยปกติอุปกรณ์ขูดหินปูนในคลินิกทันตกรรม หรือแผนกทันตกรรมในโรงพยาบาลจะเป็นเครื่องขุดหินปูนแบบไฟฟ้า โดยทันตแพทย์จะต้องเป็นผู้ขูดหินปูนให้ผู้เข้ารับบริการ

เครื่องขูดหินปูนแบบไฟฟ้านี้มีประสิทธิภาพในการขจัดหินปูนออกไปจากเนื้อฟันได้ทั้งหมด

อุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยตนเอง

นอกจากอุปกรณ์ขูดหินปูนแบบไฟฟ้าในคลินิกและโรงพยาบาลแล้ว ปัจจุบันยังมีอุปกรณ์ขูดหินปูนไฟฟ้าแบบพกพาสามารถซื้อมาใช้ได้เอง

อุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยตนเองโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นแท่งจับหุ้มด้วยพลาสติกนุ่ม ที่ปลายแท่งมีตะขอขนาดเล็กคล้ายกับอุปกรณ์ขูดหินปูนแบบด้าม ส่วนปลายอีกด้านมีไฟแสดงสถานะเมื่อเริ่มใช้งาน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับแหล่งพลังงานของอุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยตนเองจะชาร์จไฟผ่านช่อง USB หรือใช้ถ่าน

เมื่อกดปุ่มเปิดใช้งานแล้ว ส่วนของตะขอจะสั่นเพื่อขจัดคราบหินปูนออกไป หากนำปลายตะขอไปสัมผัสกับพื้นผิวอื่นๆ ก็จะรับรู้ได้ถึงแรงสั่นของตะขอที่ดูแรง และน่าจะขูดหินปูนออกจากเนื้อฟันได้

หลายคนจึงพยามยามหาซื้ออุปกรณ์แบบด้ามจับมาขูดหินปูนด้วยตนเอง แต่อุปกรณ์เหล่านี้หากใช้ไม่เป็น อาจทำให้เหงือกได้รับบาดเจ็บได้

อย่างไรก็ตาม มีการทดสอบคุณภาพสินค้าในบางยี่ห้อ และพบว่า อุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยตนเองนั้นทำความสะอาดได้แค่คราบสกปรกบนเนื้อฟันเพียงตื้นๆ เท่านั้น ไม่สามารถขจัดคราบหินปูนออกไปได้อย่างหมดจด หรืออาจไม่สามารถขจัดหินปูนออกไปได้เลย เนื่องจากมีแรงสั่นที่ไม่เพียงพอ

นอกจากนี้การขูดหินปูนเองโดยไม่มีความรู้และความชำนาญ อาจขูดได้แต่ส่วนของหินปูนที่เห็นได้ชัดเหนือเหงือก โดยไม่ได้ขุดหินปูนใต้เหงือกออกเลย ส่งผลให้มีการสะสมของหินปูนใต้เหงือกต่อไป ทำให้เหงือกอักเสบ เป็นหนอง และยังเป็นโรคเหงือกต่อไปในอนาคต

หากต้องการกำจัดหินปูนให้หมดไปจากเนื้อฟันจริงๆ ต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการขูดหินปูนด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ถูกต้อง

นอกจากเครื่องขูดหินปูนแบบไฟฟ้าแล้ว ยังมีอุปกรณ์แบบด้ามจับอื่นๆ ที่ทันตแพทย์จะใช้ในการขูดหินปูนตามตำแหน่งอื่นๆ ของฟันอีก โดยอุปกรณ์เหล่านี้แม้จะไม่ได้สร้างอันตรายต่อเหงือกและฟัน เนื่องจากทันตแพทย์มีทักษะและความประณีตในการใช้อุปกรณ์

ดังนั้นขั้นตอนการขูดหินปูนควรเป็นขั้นตอนที่ทำโดยทันตแพทย์เท่านั้น และคุณจะได้ตรวจสุขภาพช่องปากส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากคราบหินปูน และได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับตนเอง

การดูแลตนเองหลังขูดหินปูน

เพื่อให้สุขภาพเหงือกและฟันยังคงแข็งแรง หลังจากขูดหินปูนเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับบริการยังต้องดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองให้เหมาะสมเหมือนเดิม เช่น

  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่ม และเล็ก เพื่อให้ขนแปรงสามารถเข้าไปทำความสะอาดคราบสกปรกตามซอกฟันได้ และควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ 3 เดือนเพื่อให้ขนแปรงคงประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
  • หมั่นแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อย่าเข้าใจผิดว่า การขูดหินปูนสามารถแทนที่การแปรงฟันได้  
  • ใช้ไหมขัดฟันร่วมกับการแปรงฟันด้วย หรือหากต้องใช้อุปกรณ์อื่นๆ สำหรับทำความสะอาดฟันเพิ่มเติม ให้ปรึกษาทันตแพทย์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานบ่อยๆ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย
  • หมั่นมาตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน และหากมีโรค หรือความผิดปกติเกี่ยวกับฟัน ให้มาตรวจดูสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ทุกครั้ง

การขูดหินปูนอาจเป็นขั้นตอนการทำทันตกรรมที่หลายคนคิดว่า ไม่สำคัญ และไม่น่าส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพฟัน แต่ความจริงแล้ว หินปูนสามารถส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ ของฟันตามมาได้

คุณจึงไม่ควรละเลยการไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอประมาณปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้ทันตแพทย์ขูดหินปูนทำความสะอาดเนื้อฟันให้ และเพื่อตรวจสอบสุขภาพเหงือก และฟันส่วนอื่นๆ ว่า มีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ขูดหินปูน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจขูดหินปูน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Thomas Lamont, Routine scale and polish for periodontal health in adults (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30590875/), 27 July 2020.
Hesperian health guides, How to Scale Teeth (https://en.hesperian.org/hhg/Where_There_Is_No_Dentist:How_to_Scale_Teeth), 20 July 2020.
Eur J Dent, Comparing the effects of manual and ultrasonic instrumentation on root surface mechanical properties (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5166309/), 20 27 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ปวดเหงือกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้ดีขึ้น
ปวดเหงือกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้ดีขึ้น

รวมสาเหตุทำให้รู้สึกปวดเหงือก พร้อมวิธีบรรเทาอาการ

อ่านเพิ่ม
เหงือกบวมเกิดจากอะไร
เหงือกบวมเกิดจากอะไร

รวมสาเหตุของอาการเหงือกบวม โรคอะไรทำให้เหงือกบวม วิธีรักษา ไม่รักษาแล้วจะเป็นอย่างไร

อ่านเพิ่ม
ยาสีฟันลดเสียวฟัน ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง?
ยาสีฟันลดเสียวฟัน ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง?

รวมส่วนประกอบสำคัญของยาสีฟันลดเสียวฟัน มีอะไรบ้าง หากใช้แล้วไม่หาย ทำอย่างไร?

อ่านเพิ่ม