วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์

ยาสีฟันลดเสียวฟัน ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง?

รวมส่วนประกอบสำคัญของยาสีฟันลดเสียวฟัน มีอะไรบ้าง หากใช้แล้วไม่หาย ทำอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 15 ม.ค. 2021 อัปเดตล่าสุด 20 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาสีฟันลดเสียวฟัน ควรมีส่วนผสมอะไรบ้าง?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการเสียวฟันอาจมีปัจจัยมาจากอาหารที่รับประทาน ความผิดปกติเกี่ยวกับเนื้อฟันอย่างฟันสึก เหงือกร่น หรือการฟอกสีฟัน ซึ่งน้ำยาฟอกสามารถเข้าไปสร้างผลข้างเคียงเป็นอาการเสียวฟันได้
  • สารลดอาการเสียวฟันที่ควรมีในยาสีฟัน ได้แก่ สารโพแทสเซียมไนเตรท สารสแตนนัส ฟลูออไรด์ และสารสตรอนเทียม คลอไรด์
  • วิธีเลือกยาสีฟันช่วยลดอาการเสียวฟัน ให้ดูที่ฉลากรายละเอียดสารข้างกล่องว่า มีสารช่วยลดอาการเสียวฟันประกอบอยู่หรือเปล่า และสูตรของยาสีฟันกล่องนั้นๆ มีความโดดเด่นด้านการลดอาการเสียวฟันใช่หรือไม่ หรืออาจปรึกษากับทันตแพทย์ว่า ควรเลือกสูตรของยาสีฟันอย่างไร
  • หากรักษาอาการเสียวฟันจากการใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟันไม่ได้ผล ก็อาจต้องเข้ารับการรักษาอาการเสียวฟันด้วยวิธีอื่น ซึ่งจะเป็นไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยอาการเสียวฟันอาจเกิดจากชั้นเคลือบฟันบาง มีฟันผุ หรือฟันสึก แตก หรือหัก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจอุดฟัน

อาการเสียวฟันเป็นอาการที่เกิดจากเส้นประสาทในฟันเกิดการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นกับเนื้อฟัน จนเกิดอาการเสียวฟันขึ้นมา

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน

โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • อาหารที่รับประทาน อาหารที่มักทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ได้แก่ อาหาร และเครื่องดื่มร้อนจัด หรือเย็นจัด รวมถึงอาหารรสเปรี้ยวจัด มีความเป็นกรดสูง
  • ปัญหาความผิดปกติที่เนื้อฟัน เช่น ฟันสึก ฟันร้าว ฟันแตก ฟันผุ เหงือกร่น หรือสารฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นสารที่ช่วยป้องกันอาการเสียวฟันที่ผิวฟันสึกน้อยลง
  • การฟอกสีฟัน น้ำยาที่ฟอกสีฟันเพื่อให้สีฟันขาวสว่างขึ้นจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้

อาการเสียวฟันสามารถแก้ไขได้ด้วยการไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟันว่า มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับฟันหรือไม่ จะได้รีบรักษา เพราะความผิดปกติของฟันมักส่งผลทำให้เกิดอาการเสียวฟันเกือบทั้งหมด

นอกจากนี้ทันตแพทย์จะได้เคลือบสารฟลูออไรด์ที่ผิวฟันให้ เพื่อป้องกันอาการเสียวฟันในภายหลัง

แต่นอกจากวิธีการรักษาอาการเสียวฟันกับทันตแพทย์แล้ว ก็ยังมีอีกวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการเสียวฟันให้น้อยลงได้โดยไม่ต้องไปพบทันตแพทย์ นั่นคือ การใช้ยาสีฟันช่วยลดอาการเสียวฟัน ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดนั่นเอง

ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน

ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน (Desensitizing toothpaste) คือ ยาสีฟันที่มีส่วนประกอบของสารช่วยลดอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นระหว่างผิวฟันด้านนอกกับเส้นประสาทด้านในของฟัน

โดยส่วนประกอบของยาสีฟันลดอาการเสียวฟันที่ควรมี จะได้แก่

  • สารโพแทสเซียมไนเตรท (Potassium nitrate) มีคุณสมบัติช่วยยับยั้ง และลดการตอบสนองของเส้นประสาทต่อสิ่งกระตุ้นที่มาสัมผัสกับเนื้อฟัน และส่งตรงไปยังสมองจนทำให้เกิดอาการเสียวฟันขึ้น

  • สารสแตนนัส ฟลูออไรด์ (Stannous Fluoride) มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อฟัน หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ เป็นโล่เคลือบผิวฟันที่ช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งกระตุ้นเข้าไปก่ออาการเสียวฟันได้

  • สารสตรอนเทียม คลอไรด์ (Strontium chloride) ช่วยยับยั้งการเปิดของท่อเนื้อฟัน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างผิวฟันกับเส้นประสาทข้างใน หากท่อเนื้อฟันเปิดก็จะทำให้สิ่งกระตุ้นสามารถเข้าไปสัมผัสกับเส้นประสาทข้างในฟัน และทำให้เกิดอาการเสียวฟันขึ้นมา

ควรใช้ไหมขัดฟันทุกครั้งก่อนแปรงฟัน เพื่อขจัดคราบสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่ซอกเหงือกออกให้หมด จากนั้นจึงแปรงฟันด้วยแปรงขนนุ่มและยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารลดอาการเสียวฟัน โดยควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง หลังจากตื่นนอนและก่อนเข้านอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้ควรแปรงฟันให้สะอาดทั่วทั้งบริเวณซอกเหงือก ใต้แนวเหงือก ที่ผิวฟันด้านหน้า และด้านหลัง โดยไม่จำเป็นต้องแปรงฟันแรงเกินไปด้วย

วิธีเลือกยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน

โดยปกติบนกล่องและฉลากยาสีฟันจะมีรายการส่วนประกอบของยาสีฟันสูตรนั้นๆ เขียนเอาไว้ ให้ลองอ่านฉลาก หรือข้อมูลข้างกล่องว่า มีส่วนประกอบของสารช่วยลดอาการเสียวฟันหรือไม่

นอกจากนี้ด้วยยี่ห้อของยาสีฟันที่มักผลิตออกมาหลายสูตร เช่น สูตรเน้นความกระจ่างใสของสีฟัน สูตรลดกลิ่นปาก สูตรลดอาการเสียวฟัน กล่องที่ออกแบบมาของยาสีฟันแต่ละสูตรก็จะมีสีและรายละเอียดแตกต่างกันไป

แนะนำให้คุณลองเปรียบเทียบข้อมูลส่วนประกอบของสารยาสีฟันที่อยู่ข้างกล่องว่า ยาสีฟันสูตรใดที่ช่วยลดอาการเสียวฟันได้ดีที่สุด มีส่วนผสมอื่นๆ ที่ชอบ เช่น สมุนไพร หรือผสมสารให้ความหวาน้อยกว่ายี่ห้ออื่นๆ แล้วจึงลองซื้อยาสีฟันสูตรนั้นมาใช้

เพียงทำตามคำแนะนำที่กล่าวไปข้างต้น ก็จะช่วยให้คุณสามารถเลือกซื้อยาสีฟันที่ช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากได้ถูกจุดมากขึ้น หรืออาจสอบถามทันตแพทย์ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำว่า สามารถแนะนำยี่ห้อ หรือสูตรยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันได้หรือไม่?

หากใช้ยาสีฟันลดอาการเสียวฟันแล้วอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นยังไม่ทุเลาลง หรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น จนแทบไม่สามารรับประทานเครื่องดื่มและอาหารที่มีความเย็นจัด หรือมีรสเปรี้ยวได้เลย คุณก็ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อขอรับการตรวจวินิจฉัยสุขภาพฟันอีกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ขูดหินปูนวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 67%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เนื่องจากอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพฟันที่ร้ายแรงกว่านั้น เช่น ชั้นเคลือบฟันบาง หรืออ่อนแอ (Weakened enamel) ฟันผุ ภาวะเหงือกร่น (recessed gums) ผิวฟันบิ่น หัก แตก ฟันสึก

วิธีลดอาการเสียวฟันที่ทันตแพทย์ใช้รักษานั้นมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน เช่น การครอบฟัน การรักษารากฟัน ทำศัลยกรรมปริทันต์ 

แต่ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป หากภายในเนื้อฟันมีความเสียหายหนักมากจนไม่สามารถรักษาฟันไว้ได้ และอาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่ข้างเคียงได้

เพื่อไม่ให้การรักษาอาการเสียวฟันกลายเป็นการผ่าตัด หรือกระบวนการรักษาที่ซับซ้อนจนมีค่าใช้จ่ายบานปลาย เราทุกคนจึงควรรักษาสุขภาพฟันให้ดี อย่ารับประทานอาหารรสหวานจัด มีน้ำตาลสูงบ่อยเกินไป รวมถึงหมั่นแปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกๆ 6 เดือน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจอุดฟัน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sensodyne, Sensitive Toothpaste Ingredients (https://www.sensodyne.in/blogs/sensitive-toothpaste-ingredients.html), 12 January 2021.
Christine Frank, How Desensitizing Toothpaste Helps Strengthen Your Smile (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/desensitizing-toothpaste), 12 January 2021.
อ.ทพญ. สุธารัตน์ ชัยเฉลิมศักดิ์, เสียวฟัน (https://dt.mahidol.ac.th/th/เสียวฟัน/), 12 มกราคม 2564.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)