เคล็ดลับการลดปริมาณการดื่มลงจนสามารถเลิกดื่มได้ในที่สุด (TIPS ON CUTTING DOWN)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เคล็ดลับการลดปริมาณการดื่มลงจนสามารถเลิกดื่มได้ในที่สุด (TIPS ON CUTTING DOWN)

หากคุณดื่มสุราเป็นประจำมากกว่า 14 ดื่มมาตรฐานต่อสัปดาห์ แนะนำให้ลองใช้เทคนิคต่อไปนี้เพื่อช่วยให้คุณสามารถลดปริมาณการดื่มลงจนสามารถเลิกดื่มได้ในที่สุด ซึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14 ดื่มมาตรฐานเทียบเท่ากับเบียร์สดที่มีความเข้มข้นของแอลกกอฮอล์ระดับกลางจำนวน 6 ไพนต์ หรือไวน์ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่ำจำนวน 10 แก้วเล็ก

วางแผนการดื่ม

ก่อนเริ่มดื่มในแต่ละครั้ง ให้คุณกำหนดปริมาณการดื่มครั้งนั้นๆ ว่าจะดื่มเท่าใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

กำหนดงบประมาณการดื่มแต่ละครั้ง

เมื่อจะออกไปดื่มหรือไปซื้อเครื่องดื่ม แนะนำให้พกเงินติดตัวไปให้พอดีกับราคาของเครื่องดื่มนั้นๆ

บอกให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวทราบ

การที่เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวทราบว่าคุณกำลังลดการดื่มลงจะช่วยให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือ สนับสนุน และคอยให้กำลังใจคุณได้

ลดปริมาณการดื่มให้น้อยลงเรื่อยๆ ในแต่ละวัน

พยายามลดปริมาณการดื่มให้น้อยลงเรื่อยๆ ในแต่ละวัน อย่างน้อยการที่คุณสามารถดื่มให้น้อยลงได้ก็ถือเป็นความสำเร็จขั้นหนึ่งแล้ว

ดื่มทีละน้อยในแต่ละครั้ง

คุณยังสามารถสนุกสนานไปกับการดื่มของคุณได้ แต่ขอให้ลดปริมาณและขนาดของเครื่องดื่มลง เช่น ดื่มเบียร์เป็นขวดแทนที่จะดื่มเป็นไพนต์เช่นเดิม หรือรินไวน์ลงในแก้วเล็กแทนแก้วใหญ่ที่เคยดื่มเป็นประจำ

เลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่ำ

ลองใช้วิธีลดการดื่มลงโดยการหันมาดื่มเครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่ำ เมื่อซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตลองสังเกตปริมาณจากฉลากบรรจุภัณฑ์ซึ่งจะปรากฏเป็นเปอร์เซ็นต์ “ABV”, “vol” หรือ “alcohol volume” เช่น “3.5% ABV” หรือ “vol 3.5%” หรือ “alcohol volume 3.5%”

อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ

แนะนำให้ดื่มน้ำสักแก้วก่อนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และควรสลับดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮล์กับการดื่มสุรา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หยุดพักบ้าง

ควรกำหนดให้มีวันปลอดสุราสัก 3-4 วันในแต่ละสัปดาห์

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการลดปริมาณการดื่มลง

สิ่งที่คุณจะสังเกตเห็นได้ทันทีหลังจากเริ่มลดปริมาณการดื่มลง เช่น

  • รู้สึกดีและสดชื่นขึ้นเมื่อตื่นนอนตอนเช้า
  • ไม่เหนื่อยล้าระหว่างวัน
  • ผิวหนังผ่องใสขึ้น
  • รู้สึกว่าร่างกายฟิตและเฟิร์มมากกว่าเดิม
  • น้ำหนักตัวกลับมาสู่เกณฑ์ปกติ

ผลดีในระยะยาว ดังนี้ 

  • ภาวะทางอารมณ์ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าการดื่มอย่างหนักเกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้า และอาการเมาค้างยังทำให้คุณรู้สึกวิตกกังวลและหดหู่ด้วย หากคุณมีอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้ว การดื่มจะยิ่งกระตุ้นทำให้อาการดังกล่าวแย่ลง ดังนั้นนการลดปริมาณการดื่มลงจะช่วยปรับสภาวะทางอารมณ์ทำให้คุณมีอารมณ์ที่ดีขึ้นได้
  • การนอนหลับ การดื่มอาจส่งผลต่อการนอนหลับของคุณได้ แม้มันจะช่วยให้บางคนสามารถหลับได้เร็วขึ้นแต่จริงๆ แล้วการดื่มไม่ได้ทำให้คุณหลับสนิทแต่อย่างใด ซึ่งการลดปริมาณการดื่มลงหรือการเลิกดื่มตังหากล่ะที่จะทำให้คุณหลับได้สนิทจริงๆ และตื่นขึ้นมาในเช้าวันรุ่งขึ้นอย่างสดชื่น
  • พฤติกรรม การดื่มสุราส่งผลต่อกระบวนการคิด พิจารณา และพฤติกรรมที่แสดงออกมา คุณอาจแสดงพฤติกรรมที่ไร้สติสัมปชัญญะหรือไม่สามารถควบคุมได้ออกมาเมื่อมึนเมา นอกจากนี้การดื่มอย่างหนักยังส่งผลทำให้คุณความจำเสื่อมชั่วขณะระหว่างที่มึนเมาและอาจเกิดขึ้นได้ในระยะยาวหากดื่มอย่างหนักเป็นประจำและต่อเนื่อง
  • การทำงานของหัวใจ การดื่มอย่างหนักเป็นประจำและต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานส่งผลทำให้หัวใจขยายใหญ่ขึ้นซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่อันตราย เพราะขนาดของหัวใจจะไม่สามารถหดกลับสู่ขนาดเดิมได้ แต่การลดปริมาณการดื่มลงหรือการเลิกดื่มจะช่วยไม่ให้ภาวะดังกล่าวแย่ลงกว่าเดิมได้ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การดื่มเป็นประจำจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และการดื่มต่อเนื่องอย่างหนักยังส่งผลต่อการติดเชื้อร้ายแรงต่างๆ ตามมาด้วย

ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม

เครื่องคำนวนปริมาณแอลกอฮอล์: https://www.drinkiq.com/th-th/...

หน่วยงานที่คอยสนับสนุนและให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดื่มสุรา:

  • สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2590-3342, 0-2590-3035 หรือ http://www.thaiantialcohol.com...
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โทร. 0-2343-1500 หรือ http://www.thaihealth.or.th/
  • ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุรา สายด่วน 1413 หรือ http://www.1413.in.th/
  • มูลนิธิรณรงค์ช่วยให้เลิกบุหรี่และสารเสพติด โทร. 0-2807-6477 และสายด่วน 08-1921-1479 หรือ http://www.saf.or.th/
  • สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี หรือ สถาบันธัญญารักษ์ สายด่วน 1165 หรือ http://www.pmnidat.go.th
  • โรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
11 ways to curb your drinking. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/11-ways-to-curb-your-drinking)
Tips on cutting down. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/alcohol-support/tips-on-cutting-down-alcohol/)
9 Tips for Cutting Back on Drinking. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/tips-for-cutting-back-on-drinking-69453)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป