ความเชื่อเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเชื่อเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง

อย่าออกไปข้างนอกเวลาผมเปียก เพราะจะทำให้เป็นหวัด

ผิด : การที่เรารู้สึกว่าหนาวนั้นไม่ได้ทำให้เป็นหวัด งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่สัมผัสกับเชื้อไวรัสที่อุณหภูมิห้อง และที่ 5 องศาเซลเซียสนั้นมีอัตราการติดหวัดเท่าๆ กัน

อาหารที่มีมายองเนสนั้นจะเสียเร็วกว่าปกติ

ผิด : ในความจริงแล้วเวลาที่คุณเปลี่ยนไก่ที่เหลือให้กลายเป็นสลัดไก่นั้น มายองเนสจะช่วยทำให้เสียช้าลง เนื่องจากมายองเนสนั้นเป็นกรดเล็กน้อย ดังนั้นหากคุณกลัวอาหารเสีย คุณไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงมายองเนส แต่หากคิดว่าจะมีอาหารเหลือ ใหปิดฝาให้สนิทและนำเข้าตู้เย็นให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กินตอนเป็นหวัด และอดอาหารตอนมีไข้

คุณสามารถลืมเรื่องนี้ไปได้เลย เพราะการอดอาหารในเวลาที่มีไข้นั้นจะทำให้คุณอ่อนแอลงในเวลาที่คุณต้องการพลังงาน ดังนั้นแม้ว่าคุณจะไม่อยากกิน ก็ควรกินอาหารเล็กน้อยเช่นซุปไก่หรือขนมปังหรืออาหารอื่นๆ ที่ทานง่าย

ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป? ให้ดื่มเพิ่มอีก

ผิด : คำพูดนี้มาจากนักประพันธ์ชาวอังกฤษในช่วงศตวรรตที่ 16 ที่กล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาอาการเมาค้างก็คือให้คุณดื่มแอลกอฮอล์เพิ่ม ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้ช่วยให้อาการเมาค้างดีขึ้นเลย และการที่คุณดื่มเพิ่มขึ้นก็จะทำให้คุณมีอาการเมาค้างนานขึ้นเท่านั้น

ซุปไก่จะช่วยรักษาโรคหวัด

ซุปไก่อาจจะไม่ได้รักษาหวัดให้หายขาดแต่มันก็ช่วยได้เล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าซุปไก่นั้นจะช่วยลดการอักเสบที่ปอดได้ โดยชะลอการทำงานของเม็ดเลือดขาวที่ทำให้เกิดการอักเสบ

ชอกโกแลตจะช่วยบรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน

จริงเล็กน้อย : นักวิทยาศาสตร์นั้นไม่เชื่อว่าข้อเสนอที่ว่าเหตุผลที่ผู้หญิงนั้นอยากกินชอกโกแลตในช่วงที่มีประจำเดือนนั้นเกิดจากการขาดแมกนีเซียม เพราะว่ามีผักอย่างอื่นที่ก็มีแมกนีเซียมสูงเช่นกันแต่แทบจะไม่มีใครอยากกินเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามชอกโกแลตนั้นมีสารที่ช่วยทำให้อารมณ์ดีซึ่งอาจจะสามารถนำมาอธิบายความอยากที่เกิดขึ้นได้ คุณควรเลือกทานชอกโกแลตชนิดเข้มซึ่งมีน้ำตาลและไขมันน้อยกว่าชอกโกแลตนม

อย่าทานอาหารเผ็ดหากคุณมีแนวโน้มที่จะเกิดแผลในทางเดินอาหาร

ผิด : แพทย์เคยเชื่อว่าอาหารเผ็ดนั้นไม่ดีต่อผู้ป่วยที่มีแผลในทางเดินอาหาร แต่งานวิจัยสมัยใหม่พบว่าไม่เป็นความจริง ในทางกลับกันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าพริกซึ่งมีสาร capsaicin นั้นอาจจะช่วยรักษาแผลภายในทางเดินอาหารได้โดยการกระตุ้นให้มีการไหลเวียนเลือดมายังบริเวณที่เป็นแผลเพิ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ให้สระผมจนกว่าจะเกิดเสียงเอี๊ยด

ผิด : การสระผมจนเกิดเสียงนั้นจะทำให้ผมสูญเสียน้ำมันที่จำเป็น ในความเป็นจริงแล้วควรใช้แชมพูที่บริเวณรากผมก่อนค่อยๆ ถูเบาๆ ให้ทั่ว ล้างออกให้สะอาดก่อนใช้ครีมนวดผม

หยดบรั่นดีลงบนเหงือกของทารก

ผิด : และเป็นความเชื่อที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ความเชื่อที่ว่าให้ป้ายบรั่นดีลงบนเหงือกของทารกแล้วจะช่วยลดอาการปวดขณะที่ฟันจะขึ้นนั้นไม่เป็นความจริงและแอลกอฮอล์เพียงเล็กน้อยก็กลายเป็นพิษในทารกได้

อย่าเปิดประตูเตาอบเวลาอบ souffle

ผิด : การเปิดประตูเตาอบนั้นไม่ได้ทำให้เกิดหายนะขึ้นยกเว้นว่าครัวของคุณนั้นจะสกปรก แต่คุณก็อาจจะมีโอกาสทำ souffle ได้สำเร็จมากขึ้นหากคุณปิดประตูเตาอบ เนื่องจาก souffle นั้นจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งเมื่ออบในอุณหภูมิที่เหมาะสม การเปิดประตูเตาอบนั้นจะทำให้อุณหภูมิภายในเตาอบลดลงอย่างรวดเร็ว

ปลาเป็นอาหารสมอง

จริง: คุณอาจจะเคยได้ยินว่ากินปลาแล้วจะฉลาด และมีหลักฐานบางอย่างที่ช่วยสนับสนุนคำพูดนี้ เนื่องจากน้ำมันปลามีสารโอเมกา 3 และ 6 ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการและการทำงานของสมอง งานวิจัยหนึ่งพบว่าเด็กที่มีปัญหาเรื่องการประสานงานของอวัยวะที่ได้รับกรดไขมันโอเมกา 3 และ 6 เป็นเวลา 3 เดือนนั้นมีการเรียนที่โรงเรียนที่ดีขึ้น นอกจากนั้นน้ำมันปลานั้นยังมีหลักฐานที่พบว่าช่วยป้องกันการเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งจะช่วยป้องกันหลอดเลือด นอกจากนั้นยังสามารถช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดอีกด้วย


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
med.mahidol, ความเชื่อเรื่องการกินยา อันไหนจริงหรือมั่ว (https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/home/article/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%a2/), วันที่ 19 กันยายน 2561

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)