อาการกินไม่หยุด (Binge Eating)

อาการกินไม่หยุด หมายถึงอาการแบบใด ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีการรักษาอย่างไร และกลับมาเป็นซ้ำหลังการรักษาได้หรือไม่?
เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการกินไม่หยุด (Binge Eating)

อาการกินไม่หยุด หมายถึงอาการแบบใด ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ สาเหตุเกิดจากอะไร มีวิธีการรักษาอย่างไร และกลับมาเป็นซ้ำหลังการรักษาได้หรือไม่?

อาการกินไม่หยุด (Binge Eating) หรือโรคพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ คือการบริโภคอาหารปริมาณมากๆ เช่น การรับประทานอาหารที่มีพลังงาน 15,000 กิโลแคลอรีในคราวเดียว ผู้ที่มีอาการเช่นนี้ส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานอาหารในขณะที่ไม่มีคนรอบข้างอยู่ด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ที่มีอาการกินไม่หยุดมักมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการกินไม่หยุดมักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ และอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่ผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้อาจมีความเสี่ยงต่ออาการดังกล่าวเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • เป็นเพศหญิง
  • มีอายุในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย จนถึง 20 ปี
  • มีบุคคลในครอบครัวเคยเกิดภาวะนี้มาก่อน
  • เคยมีภาวะซึมเศร้า ติดสารเสพติด หรือมีพฤติกรรมรุนแรง
  • เคยพยายามลดน้ำหนักและอดอาหารอย่างเข้มงวด

ลักษณะของอาการกินไม่หยุด

อาการกินไม่หยุด ไม่อาจวินิจฉัยได้โดยการดูจากลักษณะภายนอกของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าผู้มีความผิดปกติดังกล่าวมักมีน้ำหนักเกินหรืออ้วน แต่มีผู้ป่วยบางคนที่สามารถรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ จึงควรสังเกตจากอาการต่อไปนี้

  • การรับประทานอาหารปริมาณมากเกินจำเป็น แม้ไม่ได้รู้สึกหิว
  • การรับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว
  • รู้สึกป่วย หรือไม่สบายหลังรับประทานอาหาร
  • ชอบรับประทานอาหารตามลำพัง
  • รู้สึกซึมเศร้า และควบคุมตัวเองไม่ได้
  • รู้สึกอายเมื่อต้องรับประอาหารร่วมกับคนอื่น
  • พยายามอดอาหารบ่อยครั้ง โดยที่น้ำหนักไม่ได้ลดลง

สาเหตุของอาการกินไม่หยุด

สาเหตุของอาการกินไม่หยุด จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยอาจเป็นผลจากความผิดปกติในการทำงานของสมอง หรือปัจจัยทางอารมณ์ เช่น มีภาวะซึมเศร้า พยายามลดน้ำหนักโดยอดอาหารอย่างเข้มงวดเกินไป หรือมีความเครียดสูง มีบางทฤษฎีที่กล่าวว่าอาการกินไม่หยุดอาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม และมักเกิดขึ้นกับหลายคนในครอบครัว

การวินิจฉัยอาการกินไม่หยุด

ในคู่มือการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตเวช ซึ่งเผยแพร่โดย The American Psychiatric Association ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยอาการกินไม่หยุดไว้ ดังนี้

  • มีอาการกินไม่หยุดกำเริบบ่อยครั้ง
  • มีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 3 ข้อ ได้แก่
    • รับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว
    • รับประทานจนแน่นท้องและรับประทานต่อไม่ไหว
    • รับประทานอาหารปริมาณมากทั้งที่ไม่รู้สึกหิว
    • รับประทานอาหารตามลำพัง
    • รู้สึกผิดหลังรับประทานอาหาร
  • รู้สึกกังวลกับการรับประทานอาหารมากผิดปกติ
  • มีอาการกินไม่หยุดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป
  • ไม่มีความพยายามกำจัดอาหารปริมาณมากที่กินเข้าไป เช่น ล้วงคอให้อาเจียน หรือรับประทานยาถ่าย

การรักษาอาการกินไม่หยุด

มีทางเลือกในการรักษาอีกมากมายที่อาจช่วยบรรเทาอาการกินไม่หยุด ได้แก่

การบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ : โดยการพูดคุยให้คำปรึกษา เป็นวิธีการโดยทั่วไปของการรักษาความผิดปกติทางจิตเวช รวมถึงในผู้มีอาการกินไม่หยุดด้วย ซึ่งการบำบัดดังกล่าว มีทั้งการพูดคุยตัวต่อตัว หรืออาจบำบัดร่วมกันเป็นกลุ่มหรือเป็นครอบครัวก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้ยา : ในบางกรณี แพทย์อาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่กระตุ้นอาการกินไม่หยุด ในผู้ป่วยบางคนที่มีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องรับยา Topiramate สำหรับแก้อาการลมชัก ซึ่งเชื่อว่าสามารถช่วยลดอาการกินไม่หยุดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง แพทย์จึงมักหลีกเลี่ยงการสั่งจ่ายหากไม่จำเป็น ปัจจุบันมียาชนิดใหม่ๆ เช่น Vyvanse (Lisdexamfetamine dimesylate) ที่ผ่านการรับรองว่าสามารถใช้รักษาอาการกินไม่หยุดได้

การควบคุมน้ำหนัก : ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้าโปรแกรมควบคุมน้ำหนัก หลังผ่านการบำบัดทางจิตเวชแล้ว ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวจะเน้นให้คำแนะนำด้านการบริโภคอาหาร และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพได้โดยวิธีการที่ปลอดภัย

อาการกินไม่หยุดสามารถรักษาให้หายได้โดยวิธีการบำบัดปกติ แต่เนื่องจากบางคนอาจมีแนวโน้มจะเกิดอาการดังกล่าวได้มากกว่าคนทั่วไปอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จึงอาจกลับมามีอาการซ้ำหลังการรักษาได้ ดังนั้น หากเคยมีอาการกินไม่หยุดมาก่อน และสังเกตว่าตนเองมีพฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณของอาการกลับซ้ำ ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาการกินไม่หยุดจะรักษาได้ยากขึ้น เมื่ออยู่ในระยะที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมตนเองได้

ที่มาของข้อมูล

Marissa Selner and Marijane Leonard, What Causes Binge Eating? (https://www.healthline.com/symptom/binge-eating), January 2016


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Binge Eating Disorder: Causes, Symptoms, Treatment, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/binge-eating-disorder/binge-eating-disorder-medref#1)
Why Am I Binge Eating? 6 Reasons You Might Binge Eat. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/eating-disorders/binge-eating-disorder/why-binge-eating#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)