ภาวะอัณฑะบิดขั้ว (Testicular Torsion)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะอัณฑะบิดขั้ว (Testicular Torsion)

ภาวะฉุกเฉินเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดนำอสุจิเกิดการบิดตัวและไปหยุดการไหลเวียนของเลือดทำให้เกิดอาการปวดฉับพลันและบวม มาดูกันว่าภาวะอัณฑะบิดขั้วนั้นเป็นอย่างไรและจะมีวิธีรักษาให้หายได้หรือไม่

ภาวะอัณฑะบิดขั้วคืออะไร

ภาวะอัณฑะบิดขั้วหรืออัณฑะบิดตัวเป็นภาวะฉุกเฉิน เกิดขึ้นเมื่อหลอดนำอสุจิบิดตัวและไปหยุดการไหลเวียนของเลือดทำให้เกิดอาการปวดฉับพลันและบวม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อเกิดภาวะอัณฑะบิดขั้วแพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดทันทีเพื่อรักษาลูกอัณฑะไว้ หากปล่อยให้เกิดภาวะนี้นานเกินกว่า 2 – 3 ชม. อาจส่งผลให้ลูกอัณฑะเกิดความเสียหายอย่างถาวรและต้องตัดลูกอัณฑะทิ้งไปในที่สุด

องศาของการบิดขั้วสามารถเกิดขึ้นเท่าใดก็ได้ตั้งแต่ 180 – 720 องศา และองศาของการบิดนั้นส่งผลต่อเวลาที่ลูกอัณฑะจะเกิดความเสียหายด้วย โดยปกติแล้วหากผู้ป่วยพบแพทย์ภายใน 4 – 6 ชม.จะสามารถรักษาอัณฑะไว้ได้ถึง 90% หากพบแพทย์ช้าเกินกว่า 12 ชม.อัณฑะจะเสียหายไปถึง 50% และหากพบแพทย์ช้ากว่า 24 ชม.แพทย์จะสามารถรักษาลูกอัณฑะไว้ได้เพียง 10% เท่านั้น

อัณฑะบิดขั้วมีสาเหตุจากอะไร

ถุงอัณฑะเป็นเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มอัณฑะไว้ซึ่งอยู่ส่วนล่างขององคชาต ภายในถุงอัณฑะนั้นมีอัณฑะ 2 ใบโดยอัณฑะแต่ละใบจะเชื่อมกับอวัยวะภายในร่างกายผ่านเส้นเลือด เรียกว่า ท่อนำอสุจิ ภาวะอัณฑะบิดขั้วจึงเกิดจากการที่ท่อนำอสุจิเกิดการบิดตัวส่งผลให้เลือดไม่สามารถมารถเดินทางไปยังอัณฑะได้

ผู้ที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่มักเคยมีภาวะการแกว่งไปมาของอัณฑะในถุงอัณฑะ หรือ bell clapper deformity มาก่อนซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยปกติแล้วลูกอัณฑะจะติดกันกับถุงอัณฑะทำให้บิดตัวได้ยากมาก แต่หากคุณเคยมีภาวะ bell clapper deformity เนื้อเยื่อที่ยึดลูกอัณฑะกับถุงอัณฑะอ่อนแอทำให้ลูกอัณฑะเคลื่อนและบิดตัวได้

ภาวะอัณฑะบิดขั้วสามารถเกิดขึ้นได้กับชายทุกวัย แต่พบบ่อยในเด็กชายอายุระหว่าง 12 – 18 ปี ซึ่งอาจเกิดจากการออกกำลังกายอย่างหักโหม เกิดขึ้นในขณะนอนหลับ หรือหลังจากที่ถุงอัณฑะได้รับบาดเจ็บ และหลายกรณีไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดภาวะนี้ได้

ภาวะอัณฑะบิดขั้วมีอาการอย่างไร

หากคุณพบว่ามีภาวะนี้เกิดขึ้น คุณจะสามารถสังเกตพบความผิดปกติ คือ รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงในถุงอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง คุณอาจรู้สึกเป็นๆ หายๆ แต่จะสังเกตได้ว่าอาการปวดจะไม่หายไปเลยซะทีเดียว โดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อัณฑะข้างใดข้างหนึ่งมีอาการบวม
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ปวดท้อง
  • สังเกตพบว่าลูกอัณฑะข้างหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าอีกข้าง

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการ

หากคุณมีอาการปวดอย่างฉับพลันภายในถุงอัณฑะ คุณจำเป็นต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนที่สุด และจะต้องไม่ทานหรือดื่มสิ่งใดจนกว่าคุณจะพบแพทย์และวินิจฉัยว่าคุณต้องได้รับการผ่าตัด เนื่องจากภาวะอัณฑะบิดขั้วเป็นภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นหากพบว่ามีภาวะนี้คุณจะต้องได้รับการผ่าตัดโดยเร็วที่สุด! เพราะยิ่งปล่อยให้อัณฑะบิดตัวมากขึ้นเท่าไหร่การรักษาอัณฑะไว้ก็จะยากขึ้นเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้ว่าเมื่ออัณฑะบิดตัวร่างกายสามารถรักษาโดยการบิดตัวคืนสภาพเดิมได้เองโดยที่ไม่ต้องรักษา แต่ก็ส่งผลให้ผู้นั้นมีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้อีกในอนาคต และแม้อัณฑะจะสามารถบิดตัวคืนสภาพเดิมได้และอาการปวดหายไปแล้ว คุณก็ยังจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพราะแพทย์จะช่วยตรวจเช็คอัณฑะและหาทางป้องกันไม่ให้ภาวะนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

การพูดคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับพื้นที่เป็นส่วนตัวหรือของสงวนอาจทำให้คุณรู้สึกเขินอายได้ แต่มันสำคัญมากที่คุณจะต้องแจ้งให้พ่อแม่ผู้ปกครองทราบหรือปรึกษาแพทย์หากคุณรู้สึกปวดหรือเจ็บรุนแรงบริเวณอัณฑะ การไม่ใส่ใจถึงอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นและคิดไปเองว่าเดี๋ยวมันก็จะหายเองอาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออัณฑะจนอาจต้องสูญเสียอัณฑะไปได้

และแม้ว่าอาการปวดในถุงอัณฑะจะหายไปเองได้ คุณก็ยังจำเป็นต้องแจ้งพ่อแม่ผู้ปกครองหรือแพทย์ทราบอยู่ดี เพราะการที่อัณฑะที่บิดตัวสามารถคืนสภาพและหายเองได้ในครั้งนี้อาจนำไปสู่ภาวะอัณฑะบิดขั้วในอนาคตได้ ซึ่งแพทย์จะสามารถลดความเสี่ยงและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นซ้ำโดยการผ่าตัดให้เนื้อเยื่อลูกอัณฑะยึดติดแน่นกับถุงอัณฑะมากขึ้นนั่นเอง

การวินิจฉัยโรค

เมื่อพบแพทย์ที่โรงพยาบาลและคุณได้แจ้งอาการให้แพทย์ทราบ แพทย์จะสันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าคุณมีภาวะอัณฑะบิดขั้ว แม้อาการปวดจะหายไปแล้วและมีอาการอื่นแทนก็ตาม

แพทย์จะทำการตรวจถุงอัณฑะ ลูกอัณฑะ ท้องน้อย และขาหนีบ และอาจทดสอบการตอบสนองของคุณโดยการถูหรือหยิกบริเวณต้นขาด้านใน การทดสอบเช่นนี้จะทำให้ลูกอัณฑะหดตัวหากไม่ได้มีภาวะอัณฑะบิดขั้ว แต่หากลูกอัณฑะไม่มีการหดตัวใดๆ นั่นหมายความว่าคุณมีภาวะอัณฑะบิดขั้วแน่นอน โดยแพทย์อาจทำการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การอัลตร้าซาวด์ เพราะการใช้คลื่นความถี่สูงจะทำให้สามารถเห็นภาพภายในอัณฑะและสามารถตรวจดูลักษณะการไหลเวียนของโลหิตได้
  • การตรวจปัสสาวะหรือการตรวจเลือด การตรวจเหล่านี้สามารถตรวจสอบได้ว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือไม่ซึ่งไม่ได้เป็นอาการของภาวะอัณฑะบิดขั้ว

บางครั้งแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นภาวะอัณฑะบิดขั้วจริงๆ โดยการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อความรวดเร็วและเพื่อรักษาอัณฑะไว้ แพทย์จะใช้วิธีนี้หากผู้ป่วยมีอาการมาหลายชั่วโมงแล้วหรือเมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีภาวะอัณฑะบิดขั้วเมื่อตรวจร่างกายแล้ว

การรักษา

การรักษาภาวะอัณฑะบิดขั้วทำได้เพียงการผ่าตัดเท่านั้น อย่างไรก็ตามพบได้น้อยมากว่าแพทย์มีการรักษาโดยการบิดลูกอัณฑะคืนสภาพเอง แต่ผู้ป่วยก็ยังต้องได้รับการผ่าตัดอยู่ดีเพื่อยึดเนื้อเยื้อลูกอัณฑะให้ติดแน่นกับถุงอัณฑะป้องกันไม่ให้ลูกอัณฑะบิดตัวซ้ำอีก

โดยปกติแล้วการผ่าตัดสำหรับภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เมื่อมีภาวะนี้คุณจะถูกนำตัวส่งห้องผ่าตัดและรับยาแก้ปวดพร้อมกับดมยาสลบเพื่อไม่ให้รู้สึกตัวในขณะรับการผ่าตัด

โดยศัลยแพทย์หรือแพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบทางเดินปัสสาวะจะทำการผ่าตัดเป็นแผลเล็กๆ บริเวณอัณฑะ และคลายการบิดตัวของลูกอัณฑะให้อยู่ในสภาพเดิม จากนั้นจะทำการเย็บเนื้อเยื่อให้ยึดแน่นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้อีกในอนาคต เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วแพทย์จะเย็บแผลที่ถุงอัณฑะให้เรียบร้อย แล้วผู้ป่วยจะถูกนำตัวไปยังห้องพักฝื้นเพียง 1 – 2 ชม.ก็สามารถกลับบ้านได้เลย

การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที เมื่อยาชาหมดฤทธิ์คุณจะรู้สึกเจ็บ แต่จะไม่เจ็บรุนแรงมาก และย่อมเจ็บน้อยกว่าอาการของภาวะอัณฑะบิดขั้วแน่นอน

บางครั้งหากอัณฑะบิดตัวนานเกินไปและแพทย์ไม่สามารถรักษาลูกอัณฑะที่เสียหายได้ แพทย์จะต้องทำการผ่าตัดโดยตัดลูกอัณฑะที่เสียหายออก เรียกว่า การตัดอัณฑะ (orchiectomy)

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัด

หนุ่มๆ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังการอย่างหักโหม การมีเพศสัมพันธ์ และการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ขอคำแนะนำจากแพทย์ว่าคุณจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติเมื่อไหร่

ผู้ที่ถูกผ่าตัดนำลูกอัณฑะออกไปแล้วสามารถใส่อุปกรณ์หรืออวัยวะเทียมได้ประมาณ 2 – 3 เดือนหลังการผ่าตัด พบว่าชายหนุ่มส่วนใหญ่ที่ตัดอัณฑะออกไปแล้วจะยังสามารถมีบุตรได้หากอัณฑะอีกข้างยังทำงานปกติ และการใส่อวัยวะเทียมจะช่วยให้หนุ่มๆ รู้สึกมั่นใจขึ้นได้

อย่ารู้สึกหดหู่หรือหมดหวัง หากคุณถูกผ่าตัดนำอัณฑะออกไป เพราะนั่นไม่ได้ทำให้โลกทั้งโลกของคุณดับมืด เพราะคุณจะยังมีโอกาสเป็นพ่อคนและยังสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/torsion.html


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Testicular Torsion (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/teens/torsion.html)
Testicular torsion: Causes, symptoms, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/190514)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)