วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

เมื่อติดเชื้อโควิด-19 มีอาการอย่างไรบ้าง

รวมอาการเมื่อติดเชื้อโควิด-19 มีอะไรบ้าง อันตรายขนาดไหน ต้องไปพบแพทย์ทันทีหรือไม่
เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เมื่อติดเชื้อโควิด-19 มีอาการอย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคโควิด-19 คือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งนับเป็นเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ที่ 7 ที่เพิ่งถูกค้นพบ ปัจจุบันยังไม่มียา หรือวัคซีนสำหรับรักษาได้
  • อาการทั่วไปของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะคล้ายกับโรคไข้หวัดธรรมดา เช่น อ่อนเพลีย น้ำมูกไหล หายใจลำบาก ไอแห้ง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว
  • หากมีอาการคล้ายกับติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 แต่อาการไม่รุนแรง เช่น มีแค่ไข้ต่ำกับไอเล็กน้อย ก็ยังไม่ต้องมาพบแพทย์ แต่ให้กักตัวอยู่บ้าน 14 วันเพื่อเฝ้าดูอาการ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอรับการวินิจฉัย
  • วิธีตรวจหาการติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส การตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัส
  • ถึงแม้ในสถานการณ์ปัจจุบันจะมีการลดหย่อนมาตรการควบคุมโรค แต่เพราะยังหายา และวัคซีนรักษาไม่ได้ ทุกคนจึงยังต้องป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไว้ เช่น สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปในพื้นสาธารณะ หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือในพื้นที่แออัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อ COVID-19

ในช่วงที่โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วไม่ต่ำกว่า 10,081,522 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 501,298 คน และมีรายงานว่า มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นวันละไม่ต่ำกว่า 10,000 คน (ข้อมูลจาก WHO 29 มิถุนายน 2563)

ตัวเลขเหล่านี้เองที่ทำให้หลายคนอดเกิดความวิตกกังวลไม่ได้ว่า ตนเองจะติดเชื้อชนิดนี้ไปด้วยหรือไม่ อีกทั้งปัจจุบันแพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างก็ยังไม่สามารถคิดค้นยารักษา หรือวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้สำเร็จ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้นเพื่อให้คุณสามารถรู้เท่าทันว่า อาการเจ็บป่วยของตนเองใกล้เคียงกับอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ และไม่ทำให้หวั่นวิตกมากเกินไปว่า ตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ จนเกิดความเครียดตามมา เรามาสำรวจพร้อมกันว่า อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีอะไรบ้าง

ความหมายของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

โรคติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “โรคโควิด-19 (COVID-19)” หมายถึง โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) สายพันธุ์ใหม่ 2019

สำหรับที่มาของชื่อเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)  มาจาก CO ซึ่งย่อมาจากชื่อเชื้อไวรัส “Corona” ส่วน VI มาจากคำว่า “Virus” ตัว D มาจากคำว่า “Disease” ซึ่งแปลว่า “โรค” และเลข 19 มาจาก ค.ศ. 2019 ที่เริ่มมีการแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสโคโรนาเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดธรรมดา รวมถึงโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว โดยเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบแล้วทั้งหมด 6 สายพันธ์ 

ส่วนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ 7 ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และกำลังแพร่ระบาดหนักอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ ก่อนจะได้รับการตั้งชื่อใหม่ในภายหลังว่า “เชื้อไวรัสโควิด-19”

อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

อาการทั่วไปของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะคล้ายคลึงกับอาการโรคไข้หวัดมาก โดยอาการทั่วไปที่สังเกตได้ และพบได้มาก ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • อ่อนเพลีย
  • น้ำมูกไหล
  • หายใจลำบาก
  • ไอแห้ง
  • เจ็บคอ
  • มีเสมหะมาก
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • มีไข้

อาการเหล่านี้จะแสดงออกมาภายใน 2-14 วันหลังจากติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ ยังมีอาการอื่นๆ ที่พบได้อีก แต่มักเป็นอาการไม่รุนแรงมากนัก เช่น

  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • ประสาทการรับกลิ่น และรับรสไม่เหมือนเดิม
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสีย

จะเห็นได้ว่า อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะใกล้เคียงกับอาการโรคไข้หวัดธรรมดามาก เพียงแต่โรคไข้หวัดธรรมดาจะไม่ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง หากพักผ่อนให้เพียงพอร่วมกับรับประทานยาตามแพทย์สั่งก็หายได้

แต่การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถลุกลามทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปอดอักเสบ ปอดบวม ไตวาย และเสียชีวิตได้

วิธีรับมือหากมีอาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

หากคุณพบว่า ตนเองมีอาการเจ็บป่วยคล้ายกับอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือได้ไปอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส หรือเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศและพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้สังเกตว่า ตนเองมีอาการรุนแรงมากขนาดไหน

หากอาการยังไม่รุนแรง เช่น มีไข้ต่ำ ไอเพียงเล็กน้อย ก็ยังไม่ต้องมาพบแพทย์ แต่ให้กักตัวอยู่ในบ้าน รวมถึงแยกตัวอยู่ให้ห่างจากสมาชิกภายในบ้านเดียวกันเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อเป็นเวลา 14 วัน หากต้องพบเจอใครในพื้นที่ใกล้เคียง ต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร

ในระหว่างการกักตัว ต้องรักษาสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดอย่างเคร่งครัด และหากครบกำหนดการกักตัวแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น หรือหายใจลำบาก ให้ติดต่อโรงพยาบาลเพื่อขอรับการวินิจฉัยทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ยังมีอาการฉุกเฉินอื่นๆ ที่ควรรีบติดต่อโรงพยาบาลโดยทันที

  • หายใจไม่ออก
  • เจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอกกระทันหัน
  • ปากซีด หรือหน้าซีด
  • มีอาการสับสน รู้สึกตัวน้อยลง

วิธีตรวจหาเชื้อ

หากอยากรู้ว่า ตนเองติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือไม่ คุณจะต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อขอตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป

วิธีตรวจวิเคราะห์ที่ทางห้องปฏิบัติการเครือข่ายของโรงพยาบาล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในส่วนภูมิภาคใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่

  • การตรวจหาสายพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 (Real-Time PCR: RT-PCR)
  • การเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส
  • การตรวจหาแอนติเจน (Antigen) ของเชื้อไวรัส
  • การตรวจภูมิคุ้มกันด้วยชุดทดสอบ (IgM/IgG) แบบรวดเร็ว (Rapid Test) แต่วิธีนี้จะทำได้ในผู้ป่วยที่มีอาการป่วยมาแล้ว 5-7 วัน หรือเคยได้รับเชื้อมาแล้ว 10-14 วัน

ปัจจุบันยังไม่มียา หรือวัคซีนสำหรับรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้โดยตรง มีแต่การจ่ายยาเพื่อรักษา หรือบรรเทาอาการของโรคให้ดีขึ้นเท่านั้น ซึ่งยาเหล่านั้นจะต้องเป็นยาที่สั่งจ่ายจากแพทย์เท่านั้น

มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายราย รวมถึงประชาชนทั่วไปเข้าใจผิดว่า สามารถซื้อยาต้านไวรัส หรือยาปฏิชีวนะมารับประทานเองเพื่อรักษาโรค นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดเพราะอาการของโรคติดเชื้อโควิด -19 ยังไม่มีการคิดค้นยาตัวใหม่ หรือวัคซีนเพื่อป้องกันโรคได้โดยเฉพาะ

ดังนั้นจึงต้องรู้จักวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ เช่น

  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกไปในพื้นที่สาธารณะ
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล อย่างน้อย 20 วินาที/ครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกับติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่แออัดไปด้วยผู้คน ง่ายต่อการกระจายเชื้อโรค และไม่สัมผัสพื้นผิว หรือสิ่งที่คนจับอยู่บ่อยๆ เช่น ราวบันได ก๊อกน้ำ ห่วงจับบนรถไฟฟ้า หากจับแล้วให้รีบล้างมือ หรืออย่านำไปสัมผัสโดนใบหน้า จมูก ปาก รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว

ที่สำคัญอย่าเพิ่งวางใจแม้ว่า จะมีรายงานเกี่ยวกับปริมาณผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศลดน้อยลงเรื่อยๆ หรือมีตัวเลขเป็นศูนย์ติดต่อกันนานเกิน 28 วัน หรือทางรัฐมีมาตรการลดหย่อนให้ผู้คนสามารถออกมาในพื้นที่สาธารณะได้ ร้านค้า ธุรกิจ และบริการต่างๆ สามารถเปิดบริการเป็นปตกิแล้ว 

เหตุผลเนื่องจากตราบใดที่ยังไม่มีการคิดค้นยา หรือวัคซีนป้องกันไวรัสชนิดนี้ได้ คุณก็ยังต้องดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้ตนเองติดเชื้อไปด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อ COVID-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WebMD, Symptoms of Coronavirus (https://www.webmd.com/lung/covid-19-symptoms#1), 22 June 2020.
Worldmeter, COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC (https://www.worldometers.info/coronavirus/?utm_campaign=homeAdvegas1?), 23 June 2020.
World Health Organization, Rolling updates on coronavirus disease (COVID-19) (https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/events-as-they-happen), 28 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม