อาการของโรคความดันโลหิตสูง

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาการของโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการใด ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองกำลังเป็นโรคนี้อยู่ อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมากๆ อาจพบอาการปวดศีรษะ มองภาพไม่ชัด เลือดกำเดาไหล หายใจหอบเหนื่อยได้ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวให้รีบไปพบแพทย์ทันที

 ความดันโลหิตสูงมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน แต่อาจมีอาการเกิดขึ้นได้ในบางรายที่มีความดันโลหิตสูงมาก ดังนั้นเราจึงควรตระหนักถึงอาการเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความดันโลหิตสูงอาจมีอาการดังนี้:

  • ปวดศีรษะ
  • มองภาพไม่เห็น หรือเห็นภาพซ้อน
  • เลือดกำเดาไหลเป็นประจำ
  • หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก

หากคุณมีอาการใดดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

การตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี

วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการเข้ารับการตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ ให้สอบถามแพทย์ที่ดูแลคุณว่า คุณจะต้องวัดความดันโลหิตอีกครั้งเมื่อใด

เครื่องมือวัดความดันโลหิตมีในทุกโรงพยาบาลและทุกคลินิก ดังนั้นหากคุณต้องการวัดความดันโลหิต ขอให้แจ้งบุคลากรทางการแพทย์ทราบเพื่อขอวัด

ผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 40 ปี และไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรได้รับการวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ตามคำแนะนำที่ดีที่สุดคือควรวัดความดันโลหิตให้บ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

วัดความดันโลหิตเป็นประจำ ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีความดันโลหิตสูง

ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง คุณจำเป็นต้องติดตามวัดความดันโลหิตอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลังจากที่คุณสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แล้ว แพทย์จะพิจารณาวัดความดันโลหิตของคุณด้วยความถี่ที่ห่างออกไป อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

สิ่งสำคัญคือ คุณจำเป็นต้องไปพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดความค่าความดันโลหิตว่าสามารถควบคุมให้อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้หรือไม่

การวัดความดันโลหิตขณะตั้งครรภ์

ถ้าคุณมีการตั้งครรภ์ คุณควรได้รับการวัดความดันโลหิตเป็นประจำ แม้ว่าความดันโลหิตจะไม่สูงก็ตาม

การติดตามความดันโลหิตเป็นประจำขณะตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (pregnancy-induced hypertension) ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะร้ายแรงที่เรียกว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษ (pre-eclampsia)

 https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/heart-and-blood-vessels/conditions/high-blood-pressure-hypertension#symptoms


47 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
High blood pressure (hypertension). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-pressure-hypertension/)
Hypertension: Causes, symptoms, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/150109)
High blood pressure (hypertension) - Symptoms and causes - Mayo Clinic (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-pressure/symptoms-causes/syc-20373410)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ยา Dopamine (โดปามีน) สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวได้

ยา Dopamine (โดปามีน) ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้นในขณะที่หัวใจล้มเหลว ช่วยบรรเทาอาการความดันโลหิตได้

อ่านเพิ่ม
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต
8 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเป็นโรคไต

โรคไตสามารถป้องกันได้ หากรู้จักและเข้าใจอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม