ทำไมกินของหวาน จึงทำให้รู้สึกปวดฟัน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

มีหลายคนพอกินของหวานเข้าไปแล้วก็เกิดอาการปวดฟันขึ้น อาจรู้สึกปวดจี๊ดๆเหมือนกับกินของเย็นทั้งๆที่ของหวานนั้นก็ไม่ได้เย็นเลยด้วยซ้ำ จึงมีความสงสัยว่าของหวานทำให้ปวดฟันได้จริงหรือไม่ และเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ซึ่งความจริงก็คือ ?

ปวดฟันเกิดจากอะไร?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า การที่มีอาการปวดฟันจี๊ดๆเกิดขึ้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะว่า ฟันกำลังผุอยู่นั่นเอง และสาเหตุที่ทำให้ฟันผุก็คือ การที่มีเศษอาหารหรือคราบพลัคตกค้างตกค้างอยู่ที่บนฟันหรือตามซอกฟัน แล้วไม่ได้ทำความสะอาดฟันให้ดีพอ เมื่อนานวันเข้าเศษอาหารและคราบพลัคเหล่านี้ก็จะถูกย่อยสลายให้กลายเป็นกรดมากัดกร่อนเคลือบฟัน และยิ่งหากสะสมเศษอาหารแบบนี้เป็นประจำ เคลือบฟันก็จะถูกกัดกร่อนไปเรื่อย ๆ จนทะลุผ่านเนื้อฟัน ต่อไปยังชั้นโพรงประสาทฟัน ดังนั้นเมื่อฟันเจอของเย็นๆก็จะทำให้เกิดอาการปวดฟันจี๊ด ๆ ขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับของหวานเมื่อกินเข้าไปก็ทำให้ปวดฟันได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุก็เกิดจากเมื่อกินอาหารประเภทน้ำตาลเข้าไป น้ำลายจะทำการย่อยน้ำตาลให้กลายเป็นกรด และกรดจากการย่อยน้ำตาลที่ว่านี้เอง จะแทรกซึมไปยังเนื้อฟัน และประสาทฟัน จึงทำให้รู้สึกปวดฟันได้ และยิ่งฟันของใครผุมากๆอาจรู้สึกปวดฟันตุบ ๆ ไล่ไปตามแนวสันกราม และอาจลามไปปวดศีรษะเพิ่มขึ้น

สรุปแล้วอาการปวดฟันที่เกิดจากการกินน้ำเย็นและการกินของหวานก็เกิดจากฟันผุนี่เอง ซึ่งหากเพิกเฉยกับอาการปวดฟันโดยไม่มีการรักษา ต่อไปรากฟันอาจเกิดอาการอักเสบ บวม เป็นหนอง และสร้างความทรมานอย่างที่สุด การรักษาก็จะยิ่งยากขึ้น และยามที่กินของพวกนี้ก็จะปวดทรมานเกินบรรยาย

วิธีการแก้ปวดฟันเมื่อกินของหวาน

หากต้องการให้หายปวดก็ต้องหยุดรับประทานของหวานและอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง รวมไปถึงอาหารชนิดอื่น ๆ ที่สามารถไปกระตุ้นอาการปวดฟันได้ เช่น อาหารที่ร้อนจัด เย็นจัด และเมื่อรู้ตำแหน่งของฟันที่ปวดแล้ว ก็ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารด้วยฟันซี่นั้น ๆ แต่ถ้ารู้สึกปวดฟันจนทนไม่ไหว ก็ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการปวดฟันต่อไป

วิธีป้องกันอาการปวดฟันเมื่อกินของหวาน

  1. ควรแปรงฟันหลังมื้ออาหารทุกครั้ง หรืออย่างน้อยก็ต้องบ้วนปากด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาบ้วนปากหลังกินของหวานโดยทันที อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะคราบพลัคเกิดขึ้นได้ทุกวันและเมื่อสะสมมากๆฟันก็จะผุได้
  2. หากเป็นไปได้พยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวาน หรือมีการใส่น้ำตาลในปริมาณสูง หรืออาหารที่มีความเย็นจัดร้อนจัด
  3. หากรู้สึกปวดที่ฟันซี่ไหน ให้พยายามย้ายข้างเคี้ยวอาหาร เพื่อจะได้ไม่ทำให้มีอาการปวดเพิ่มขึ้น
  4. ควรแปรงฟันให้สะอาดอย่างหมดจด อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน
  5. ควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดฟันเป็นประจำ เพื่อจะได้ลดการสะสมของคราบพลัค อีกทั้งเป็นการกำจัดเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในซอกฟันซี่ต่าง ๆ โดยเฉพาะฟันซี่ในที่การแปรงฟันเข้าถึงยาก

กินยาพาราแก้ปวดฟันได้หรือไม่?

เพราะยาพาราเป็นเหมือนยาแก้ปวดครอบจักรวาล หลายคนจึงคาใจว่าจะแก้อาการปวดฟันด้วยยาพาราเซตามอลได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ ถ้ามีอาการปวดฟันเพียงเล็กน้อย หรือพึ่งเริ่มรู้สึกปวดฟัน อาจลองบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม/เม็ดได้ ตามขนาดการใช้ยาที่ระบุไว้ที่ฉลาก และหากอาการปวดฟันดีขึ้น ก็สามารถหยุดยาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่หากอาการปวดฟันที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงมาก จนรู้สึกปวดฟันตุบ ๆ ลามไปปวดที่ศีรษะ แบบนี้ยาพาราเซตามอลอาจรักษาไม่ได้ อาจเปลี่ยนมาใช้ยาแก้ปวดชนิดแอสไพริน กรดมีเฟนนามิก หรือไอบูโพรเฟน แทน แต่ในการกินยาแก้ปวดเหล่านี้ ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังเป็นที่สุด หรือทางที่ดีควรไปร้านขายยาที่มีเภสัชกรหรือแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนใช้ยาจะปลอดภัยกว่า แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นควรไปพบทันตแพทย์จะดีที่สุด

วิธีแก้ปวดฟันด้วยวิธีธรรมชาติ

วิธีที่ 1

  1. รีบแปรงฟัน หรือ แคะเอาเศษอาหารออก
  2. บ้วนปากด้วยน้ำสะอาด หลายๆ ครั้ง
  3. เอาน้ำดื่ม มาอมไว้ในปาก 2-3 นาทีแล้วบ้วนทิ้ง
  4. ทำซ้ำแบบเดิมหลายๆรอบ

วิธีที่ 2

อมบ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆทุกๆ 1 ชม . และนำมาอมกลั้วปากครั้งละ 1 นาที เพื่อทำให้ในช่องปากมีการ ไหลเวียนถ่ายเท เชื้อโรคที่มีอยู่จะได้ระบายไหลออกไป

วิธีที่ 3

ใช้น้ำแข็งประคบที่แก้มข้างที่ปวด อาจทำให้ทุเลาอาการปวดลงได้

เรื่องปวดฟันไม่ใช่เรื่องเล่นๆหากใครที่เคยปวดฟันมาแล้วก็จะรู้ เพราะมันสุดแสนทรมานมาก ฉะนั้นหากไม่อยากเจอกับอาการปวดเช่นนั้นอีก ก็ควรรักษาสุขภาพช่องปากของตัวเองให้ดี และหากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องฟันก็ควรที่จะไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาต่อไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Sugar Causes Cavities and Destroys Your Teeth. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/how-sugar-destroys-teeth)
Toothache: diagnosis and management of symptoms. NetDoctor. (https://www.netdoctor.co.uk/conditions/mouth-and-teeth/a3078/toothache/)
What Can You Do About Sensitive Teeth? (https://www.webmd.com/oral-health/guide/tooth-sensitivity#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป