โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชื่อผู้สนับสนุน
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

เข้าใจโรคหูดับ ระงับความเสี่ยงหูหนวกถาวร

อาการของโรคหูดับ สาเหตุ การสังเกตสัญญาณโรคหูดับในเด็กเล็ก ความสัมพันธของหูวิ้งกับหูดับ และแนะนำการตรวจการได้ยิน
เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.พ. 2021 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เข้าใจโรคหูดับ ระงับความเสี่ยงหูหนวกถาวร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • หูดับ คืออาการที่จู่ๆ ก็ไม่ได้ยินเสียงอย่างกะทันหัน อาจเกิดที่หูข้างในข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • สาเหตุของหูดับอาจเกิดจากการติดเชื้อ ระบบประสาท ความผิดปกติในสมอง โรคระบบภูมิคุ้มกัน ความเสื่อมตามอายุ ฯลฯ
  • เด็กเล็กๆ ก็เป็นหูดับได้ แต่ต้องให้บุคคลใกล้ชิดหรือคุณพ่อคุณแม่ช่วยสังเกต
  • หูดับ อาจเป็นเพียงชั่วคราวแล้วหายเอง อย่างไรก็ตาม ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริง
  • รพ. บำรุงราษฎร์ มีศูนย์หู คอ จมูก ที่ให้บริการทดสอบการได้ยิน ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) สามารถตรวจการทำงานของหูและระบบการได้ยิน เหมาะสำหรับคนทุกวัยที่สามารถให้ความร่วมมือในการตรวจได้

เคยหรือไม่ จู่ๆ รู้สึกว่าไม่ได้ยินเสียงหรือฟังคนพูดแล้วไม่ค่อยเข้าใจ รู้สึกเหมือนเขากระซิบอะไรบางอย่างเบาๆ ขึ้นมาเฉยๆ โดยอาจไม่ได้ยินแค่ข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้าง แต่สักพักอาการก็ดีขึ้น หรือบางทีอาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย

อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าคุณเป็น “โรคหูดับ” อยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยง Stroke รพ. บำรุงราษฎร์

วันนี้ถึง 30 พ.ย. 2563 เพียงใส่ Code "BSTM5000" ลดเลย 5,000 บาท

โรคหูดับคืออะไร?

อาการหูดับ คือ อาการที่ไม่ได้ยินเสียงอย่างกะทันหัน อาจไม่ได้ยินเลย หรือได้ยินเสียงรอบข้างเป็นเสียงกระซิบเบาๆ ความดังไม่เกิน 30 เดซิเบล (ความดังระดับเสียงกระซิบ) ส่วนใหญ่มักเกิดที่หูข้างในข้างหนึ่ง โดยอาจจะเกิดขึ้นมาฉับพลันในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหาย หรือหูดับต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน

ผู้ที่หูดับจำนวนมากสังเกตอาการหูดับพบเมื่อตื่นนอน บางคนไม่ได้ยินเสียงไปเลยเฉยๆ บางคนได้ยินเสียง “ป๊อบ” ก่อน จากนั้นอาจมีอาการเวียนศีรษะหรือได้ยินเสียงวิ้งในหูร่วมด้วย

ราวๆ ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยมีอาการหูดับ สามารถกลับมาได้ยินเสียงได้เองโดยไม่ได้ทำอะไร ภายในระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่โรคหูดับก็อาจอาการแย่ลงถึงขั้นสูญเสียการได้ยินเช่นกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค

โรคหูดับเกิดจากอะไร?

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคหูดับ อาการหูดับข้างเดียวกะทันหัน อาจมีสาเหตุจากขี้หู หรือมีการติดเชื้อในหู หากเกิดทั้งสองข้างอาจมาจากเส้นประสาทเสียหายเนื่องจากฟังเสียงดังมากเกินไป หรือได้รับยาบางชนิดที่มีผลต่อการได้ยิน

สาเหตุของอาการหูดับที่เป็นไปได้อื่นๆ ได้แก่

  • ติดเชื้อไวรัส
  • หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน
  • หูชั้นในบวมน้ำ
  • ท่อหูชั้นในรั่ว
  • มีเนื้องอกที่ประสาทหู
  • เกิดความผิดปกติในสมอง
  • เกิดโรคในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคโคแกน (Cogan Syndrome)
  • รับพิษจากงู
  • ประสาทหูเสื่อมเพราะอายุ

เด็กทารกบางรายก็อาจมีอาการหูดับแต่กำเนิดได้ โดยอาจเป็นผลจากการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก เช่น โรคหัดเยอรมัน ซิฟิลิส โรคเริม มีปัญหาจากพันธุกรรม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา หู คอ จมูก วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 854 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีสังเกตโรคหูดับในเด็กเล็ก

เด็กเล็กๆ ยังไม่สามารถสื่อสารชัดเจนได้ว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดจึงควรสังเกตท่าทีของเด็ก

อาการที่อาจบ่งชี้ว่าเด็กเล็กมีอาการหูดับ หรือมีปัญหาการได้ยิน ได้แก่

  • ดูไม่เข้าใจสิ่งที่คนอื่นสื่อสารด้วย
  • ดูไม่ค่อยพยายามเลียนแบบการออกเสียงจากคนใกล้ชิด
  • ดูไม่มีท่าทีตอบสนองต่อเสียงที่ดังขึ้นกะทันหัน
  • มีการติดเชื้อที่หูบ่อยๆ
  • มีปัญหาการทรงตัว

หูวิ้ง...เป็นสัญญาณนำของหูดับใช่หรือไม่?

บางคนอาจเคยได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู หรือได้ยินเหมือนเสียงจักจั่น เสียงลม ดังอยู่ในหู อาการเหล่านี้อาจสัมพันธ์กับโรคหูดับได้ หรือบางทีอาจไม่ได้เป็นสัญญาณถึงโรคร้ายแรง หายได้ด้วยการดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด ลดเครื่องดื่มกาเฟอีน

อาการหูวิ้งที่อันตราย ได้แก่

  • หูวิ้งหลังจากประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ
  • หูวิ้งร่วมกับอาการหูดับ กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือเป็นร่วมกับอาการบ้านหมุน

ตรวจหูให้ชัวร์ว่าการได้ยินปกติ ที่ รพ. บำรุงราษฎร์

หากตัวคุณเองเคยมีอาการหูดับ สูญเสียการได้ยินกะทันหัน มีเสียงวิ้งในหู หรือเด็กๆ คนใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุอย่างแน่ชัด

เพราะไม่ว่าโรคใดๆ ระยะเวลาที่ปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นระยะพัฒนาของโรค ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา

ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีศูนย์หู คอ จมูก ที่ให้บริการทดสอบการได้ยิน ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) สามารถตรวจการทำงานของหูและระบบการได้ยิน เหมาะสำหรับคนทุกวัยที่สามารถให้ความร่วมมือในการตรวจได้

แม้ว่าบางครั้งอาการหูดับที่เกิดขึ้นจะเป็นแค่ระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายไป แต่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรับการตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเพื่อรักษาได้อย่างตรงจุด เพื่อลดความเสี่ยงของการหูหนวกถาวร


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, หูดับ หรือหูตึงเฉียบพลัน (Sudden Sensoineural Hearing Loss) (https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/407), 18 กรกฎาคม 2560.
NHS, Hearing loss (https://www.nhs.uk/conditions/hearing-loss/), 1 August 2021.
Hearing Loss Association of America, Sudden Deafness (https://www.hearingloss.org/hearing-help/hearing-loss-basics/sudden-deafness/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม