กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

หยุดคุมกำเนิดแล้ว เมื่อไหร่ไข่จะตกและตั้งครรภ์

เปรียบเทียบระยะเวลาการไข่ตกหลังหยุดคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หยุดคุมกำเนิดแล้ว เมื่อไหร่ไข่จะตกและตั้งครรภ์

คู่รักหลายๆ คู่ อาจมีความกังวลที่จะต้องเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวในรูปแบบต่างๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด และยาฉีดคุมกำเนิด หรือการใช้วิธีคุมกำเนิดเหล่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ และเมื่อหยุดคุมกำเนิดแล้ว ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ไข่ถึงจะตก วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน

ตารางเปรียบเทียบวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวกับอัตราการตั้งครรภ์เมื่อหยุดใช้ภายใน 1 ปี 

รายการ ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฉีดทุก 1 เดือน ยาฉีดทุก 3 เดือน ยาฝังคุมกำเนิด ห่วงอนามัยฮอร์โมน ห่วงอนามัยทองแดง ถุงยางอนามัย
ระยะเวลากลับมามีไข่ตกเมื่อหยุดใช้ เร็ว เร็ว เร็ว นาน เร็ว เร็ว ไม่มีผลยับยั้งไข่ตก ไม่มีผลยับยั้งไข่ตก
อัตราการตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี (%) 80-95 80-90 73-83 70-78 77-86 79-96 71-91 91

จากตารางจะเห็นได้ว่าวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวเกือบทั้งหมด เมื่อหยุดใช้แล้วก็จะกลับมามีไข่ตก และพร้อมตั้งครรภ์ได้แทบจะทันที ยกเว้นในกรณีที่ใช้ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว (เป็นยาฉีดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพียงอย่างเดียว) เท่านั้นที่อาจจะใช้เวลานานหลายเดือน สาเหตุเป็นเพราะตัวยาที่ฉีดยังคงค้างอยู่ในกระแสเลือดนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดต่างๆ กับระยะเวลาการตกไข่

  • ผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 3 เดือน หรือตัวยาเดโปเมดรอกซีโปรเจสเตอโรนอะซีเตต (Depot medroxyprogesterone acetate: DMPA) จะใช้เวลาเฉลี่ย 10 เดือนนับจากวันที่ฉีดยาคุมเข็มสุดท้ายจึงจะกลับมามีไข่ตกอีกครั้ง
  • ผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดที่ฉีดทุก 2 เดือน หรือตัวยานอร์อิทิสเตอโรนอีแนนเธท (Norethisterone enanthate: NET-EN) จะใช้เวลาเฉลี่ย 6 เดือนนับจากวันที่ฉีดยาคุมเข็มสุดท้ายจึงจะกลับมามีไข่ตกอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม แต่ละคนอาจมีไข่ตกได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน ดังนั้นหากยังไม่พร้อมมีบุตร เมื่อไม่ได้ฉีดยาคุมต่อตามนัดแล้วก็ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วยเสมอ

ความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยและทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์

1.หากรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้ตั้งครรภ์ยาก

มีหลายคนเข้าใจผิดว่า การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดน้อยลง จึงมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันเมื่อหยุดใช้ยาคุม หรือเมื่อลืมรับประทานติดต่อกันหลายวัน ทั้งๆ ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร ซึ่งเป็นความเข้าใจแบบผิดๆ

ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานแค่ไหน ก็ไม่มีการสะสมยา หรือยาตกตกค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เมื่อหยุดใช้ยาแล้วร่างกายก็จะกลับมามีไข่ตกเป็นปกติ

2.เข้าใจผิดว่าหลังถอดยาฝังคุมกำเนิดแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่ายๆ

มีหลายคนเข้าใจผิดว่า หลังถอดยาฝังคุมกำเนิดแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่ายๆ เพราะเห็นว่าในช่วงที่ฝังยาคุมอยู่มักจะไม่มีประจำเดือนเหมือนกับผู้ที่ฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ทำให้คิดไปเองว่าจะต้องใช้เวลานานเช่นเดียวกันกว่าที่จะกลับมามีไข่ตกได้อีกครั้ง

แต่ความจริงก็คือ การฝังยาคุมกำเนิดจะเป็นการฝังหลอดบรรจุยาไว้ใต้ผิวหนังตื้นๆ ซึ่งฮอร์โมนในหลอดบรรจุจะค่อยๆ ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่มียาตกค้างในร่างกาย เมื่อถอดยาฝังคุมกำเนิดออกแล้วจึงไม่มีฮอร์โมนไปยับยั้งไข่ตกนั่นเอง

ในขณะที่การฉีดยาคุมกำเนิดนั้นตัวยาที่ถูกฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อ หรือใต้ผิวหนังจะค่อยๆ ละลายและดูดซึมอย่างช้าๆ โดยที่ไม่สามารถนำยาเหล่านั้นออกมาจากร่างกายได้เหมือนกับการถอดหลอดยาฝังคุมกำเนิด จึงต้องรอให้ปริมาณยาลดน้อยลงจนหมดฤทธิ์ไปเอง ทำให้วิธีคุมกำเนิดแบบยาฉีดคุมกำเนิดเป็นวิธีเดียวที่เมื่อหยุดใช้ยาแล้วร่างกายกลับมาไข่ตกได้ช้านั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3.เข้าใจผิดว่าเมื่อหยุดฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่ายๆ

มีหลายคนเข้าใจผิดว่า เมื่อหยุดฉีดยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแล้วจะไม่ตั้งครรภ์ง่ายๆ เพราะคิดว่าเป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีฉีดเหมือนกับยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว ที่มักจะใช้เวลานานหลายเดือนกว่าที่จะมีไข่ตกตามปกติ

แต่ความจริงก็คือ แม้จะมีการฉีดยาเข้าไปในกล้ามเนื้อ และให้ยาค่อยๆ ละลาย และดูดซึมเข้ากระแสเลือดเหมือนกัน แต่ปริมาณยาและส่วนประกอบของตัวยาสำคัญนั้นแตกต่างกัน

โดยปกติแล้ว ผู้ใช้ยาฉีดคุมชนิดฮอร์โมนรวมหรือยาฉีดคุมกำเนิดทุก 1 เดือน จะไม่เกิดภาวะขาดประจำเดือน แต่จะมีประจำเดือนมาในสัปดาห์ที่ 4 ของการฉีด เช่นเดียวกับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้เมื่อหยุดยาก็จะมีไข่ตก และพร้อมตั้งครรภ์ได้เร็วเหมือนยาคุมทั่วไปนั่นเอง

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมจะมีบุตร แต่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิดต่อตามกำหนดก็จะมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้มาก เพราะอาจมีไข่ตกมาเมื่อไหร่ก็ได้ จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ต่อให้ยาคุมที่เคยใช้จะเป็นยาฉีดชนิดฮอร์โมนเดี่ยวก็ตาม

สำหรับผู้ที่วางแผนจะมีบุตรในเวลาอันใกล้ เช่น ไม่เกิน 1 ปี ควรหลีกเลี่ยงการคุมกำเนิดด้วยวิธีฉีดยาคุมชนิดฮอร์โมนเดี่ยวเพราะอาจใช้เวลานานกว่าที่จะกลับมามีไข่ตกและตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When to Get Pregnant After Being on the Pill. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/when-to-get-pregnant-after-the-pill-2758858)
When Fertility Will Return After Stopping Birth Control. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/when-does-fertility-return-after-stopping-birth-control-4056322)
Getting pregnant right after stopping the pill: All you need to know. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320097)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม