ยาฆ่าเชื้ออสุจิ

เผยแพร่ครั้งแรก 6 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาฆ่าเชื้ออสุจิ

ก่อนที่จะตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ คุณอาจต้องศึกษาด้วยว่าควรจะมีวิธีการป้องกันตัวเองอย่างไร บทความนี้จะช่วยให้คุณรู้จักวิธีการคุมกำเนิดโดยการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิมากขึ้น

ยาฆ่าเชื้ออสุจิคืออะไร?

ยาฆ่าเชื้ออสุจิมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นครีม เจล โฟม แผ่นฟิล์มบางๆ และยาเหน็บ โดยยาฆ่าเชื้ออสุจิมีส่วนประกอบของสาร Nonoxynol-9 ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติฆ่าอสุจิได้ สามารถใช้วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิเพียงอย่างเดียวได้ แต่การใช้ร่วมกับวิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นจะช่วยให้การป้องกันการตั้งครรภ์มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การใช้ถุงยางอนามัยหรือห่วงคุมกำเนิด เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาฆ่าเชื้ออสุจิทำงานอย่างไร?

ยาฆ่าอสุจิจะทำหน้าที่หยุดการเคลื่อนตัวของอสุจิและฆ่าอสุจิก่อนที่จะเดินทางสู่มดลูก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้ต้องสอดยาเข้าไปในช่องคลอดให้ลึกจนชิดกับปากมดลูก หากใช้ยาแบบครีม เจล หรือโฟม ให้ใช้แท่งยาสอดเข้าไปในช่องคลอดแล้วบีบยาจากแท่งให้ตัวยาอยู่ในช่องคลอด หากใช้แบบแผ่นฟิล์มหรือยาเหน็บให้แปะแผ่นฟิล์มหรือสอดยาเข้าไปในช่องคลอดด้วยนิ้วมือ

จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิอย่างน้อย 15 นาที ก่อนการมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้ยาได้มีเวลาออกฤทธิ์ ละลาย และแพร่กระจายในช่องคลอด

ยาฆ่าเชื้ออสุจิทุกชนิดจะออกฤทธิ์ประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากการสอดยา หากการมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นเกินกว่า 1 ชั่วโมงหลังการสอดยาหรือมีเพศสัมพันธ์อีกครั้ง คุณต้องใช้ยาอีกโดยสาวๆ ที่ใช้ยานี้จะต้องไม่มีการฉีดล้างอวัยวะเพศอย่างน้อย 6 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์

ยาฆ่าเชื้ออสุจิมีประสิทธิภาพต่อการคุมกำเนิดมากน้อยเพียงใด?

จากสถิติพบว่าคู่รัก 29 คู่จาก 100 คู่ที่มีการใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิเป็นเวลา 1 ปี เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งโอกาสที่จะตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับการใช้ยาที่ถูกต้องตามคำแนะนำและมีการใช้ยาทุกครั้งหรือไม่ และยาฆ่าเชื้ออสุจิจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อใช้ร่วมกับการคุมกำเนิดวิธีอื่นด้วย

ดังนั้น ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางสุขภาพของผู้ใช้ หรือการใช้ยารักษาโรคอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาคุมกำเนิด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวิธีการคุมกำเนิดที่คุณเลือกว่ามีความเหมาะสมกับคุณหรือไม่และคุณเองต้องไม่ลืมที่จะใช้ยา อย่างไรก็ตาม ยา

ฆ่าเชื้ออสุจิก็เหมือนวิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นที่ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% ซึ่งอาจต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย แต่การใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจินั้นสะดวกสบาย มีราคาถูก และง่ายต่อการใช้งาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่?

การใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์คุณควรใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วย การใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิบ่อยๆ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส HIV หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ ดังนั้น การงดมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นวิธีการที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ยาฆ่าเชื้ออสุจิจะทำให้ช่องคลอดและผิวหนังโดยรอบเกิดอาการระคายเคือง ซึ่งอาการระคายเคืองดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดการติดโรคทางเพศสัมพันธ์หรือติดเชื้อไวรัส HIV ได้ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นสาเหตุของโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบเนื่องจากตัวยาจะไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียภายในร่างกายของผู้หญิง

ใครควรใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิ?

ผู้ที่สามารถวางแผนการคุมกำเนิดได้ล่วงหน้าก่อนการมีเพศสัมพันธ์ และผู้ที่มีการใช้ถุงยางอนามัยหรืออุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ อยู่แล้ว การใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดให้มีมากขึ้น

จะหาซื้อยาฆ่าเชื้ออสุจิได้จากที่ใด?

คุณสามารถหาซื้อยาฆ่าเชื้ออสุจิได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ ซึ่งซองผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะคล้ายกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสำหรับผู้หญิงทั่วไป เช่น น้ำยาล้างจุดซ่อนเร้น เป็นต้น

ยาฆ่าเชื้ออสุจิมีราคาแพงไหม?

ราคาของยาฆ่าเชื้ออสุจิขึ้นอยู่กับรูปแบบของยา ซึ่งแบบแผ่นฟิล์มจะมีราคาแพงกว่าแบบครีมหรือเจล โดยยาฆ่าเชื้ออสุจิอาจมีราคาตั้งแต่ 15 – 45 บาทต่อการใช้ 1 ครั้ง


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 6 Types of Spermicide. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/types-of-spermicide-906824)
Do spermicide condoms work? Pros and cons. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319935)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)