ไอบูโปรเฟนชนิดแคปซูลนิ่ม

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ไอบูโปรเฟนชนิดแคปซูลนิ่ม

ยาเม็ดไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน นอกจากชนิดเม็ดเคลือบฟิล์ม (Film coated tablet) ที่คุ้นตากันดีแล้ว ก็ยังมีชนิดแคปซูลนิ่ม (Soft gelatin capsule) อีกด้วยนะคะ

ตัวอย่างชื่อการค้าไอบูโปรเฟนชนิดแคปซูลนิ่ม

ซึ่งยาไอบูโปรเฟนชนิดแคปซูลนิ่มก็มีหลากหลายยี่ห้อ ยกตัวอย่างเช่น Gofen, Ibucin, Nurofen zavance และ Brusoft  ลักษณะของเม็ดแคปซูลนิ่มไอบูโปรเฟน จะคล้ายๆ กับ “น้ำมันปลา” 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อดีของไอบูโปรเฟนชนิดแคปซูลนิ่ม

จุดเด่นของไอบูโปรเฟนชนิดแคปซูลนิ่ม ก็มาจากการที่ยาอยู่ในรูปของเหลวที่พร้อมดูดซึมเมื่อเปลือกแคปซูลฉีกขาด ไม่ต้องรอให้เม็ดยาแตกตัวและละลายก่อนจะดูดซึมเหมือนเม็ดยาปกติ จึงทำให้มีระดับยาสูงสุดในเลือดได้เร็วขึ้น เช่น แทนที่จะใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมงหากเป็นยาเม็ดเคลือบฟิล์ม ก็จะลดเวลาเป็น 36 – 42 นาทีแทนเมื่อใช้แคปซูลนิ่ม

จากผลดังกล่าว จึงเชื่อกันว่าน่าจะทำให้มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดเฉียบพลันได้ดีกว่า และนิยมนำมาใช้กับอาการปวดศีรษะไมเกรน รวมถึงอาการปวดอื่น ๆ ที่ต้องการผลการรักษาที่รวดเร็วนั่นเองค่ะ

แต่จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2016 เมื่อนักวิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์แบบเมต้า (Systematic review and meta analysis) เปรียบเทียบการใช้ไอบูโปรเฟนแบบแคปซูลนิ่มเทียบกับแบบเม็ดเคลือบฟิล์ม กลับพบว่ายาแบบแคปซูลนิ่มอาจไม่ได้มีประสิทธิภาพในการแก้ปวดที่เร็วมากอย่างที่เคยเข้าใจนะคะ

นั่นคือ หลังรับประทานยา 30 นาที พบว่าผลในการบรรเทาอาการปวดของผู้ใช้ยาทั้งสองรูปแบบ ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยาไอบูโปรเฟนแบบแคปซูลนิ่มก็มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดได้เหนือกว่า เมื่อเปรียบเทียบที่เวลา 60 – 120 นาทีหลังรับประทานยาค่ะ

ซึ่งเป็นไปได้ว่า หากการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของอาการปวดในขณะนั้น ส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะและลำไส้ ก็อาจทำให้เม็ดยาแตกตัว, ละลาย และดูดซึมช้ากว่าปกติ และแม้จะเป็นรูปแบบแคปซูลนิ่ม ซึ่งมียาที่ละลายและพร้อมดูดซึมอยู่ในเม็ดแคปซูลอยู่แล้ว แต่ก็อาจถูกรบกวนจากปัญหาดังกล่าว และทำให้เปลือกแคปซูลละลายหรือฉีกขาดช้ากว่าที่ควรจะเป็นได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากเมื่อทดลองให้ยาในรูปแบบยาน้ำ กลับพบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยของเวลาที่ดูดซึมยา ระหว่างผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ที่กำลังเจ็บป่วย

อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี ซึ่งการป่วยน่าจะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของกระเพาะและลำไส้ เช่น อาการปวดฟัน ก็พบว่ายาในรูปแบบแคปซูลนิ่ม ช่วยบรรเทาอาการปวดได้เร็วกว่าแบบเม็ดเคลือบฟิล์มอย่างชัดเจน

ดังนั้น เมื่อมองในภาพรวม ก็ถือว่ายาเม็ดไอบูโปรเฟนแบบแคปซูลนิ่มให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแบบเม็ดเคลือบฟิล์มนะคะ แต่ระยะเวลาในการบรรเทาปวดอาจไม่เร็วเท่าที่ควร ถ้ามีการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ผิดปกติร่วมด้วยค่ะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
IBUPROFEN 200MG SOFT CAPSULES. Drugs.com. (https://www.drugs.com/uk/ibuprofen-200mg-soft-capsules-leaflet.html)
Formulation and evaluation of transparent ibuprofen soft gelatin capsule. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3467835/)
Advil Liqui-Gel Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing. WebMD. (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-94173/advil-liqui-gel-oral/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)