กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ใช้สิทธิประกันสังคมเบิกค่าตรวจโควิด-19 ได้ ในวงเงิน 3,000 บาท

ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศ ผู้ประกันตนสามารถตรวจ เข้ารักษา และเบิกค่าบริการเกี่ยวกับโรคโควิด 19 ได้แล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 5 เม.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 8 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ใช้สิทธิประกันสังคมเบิกค่าตรวจโควิด-19 ได้ ในวงเงิน 3,000 บาท

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมสำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคติดเชื้อ COVID-19 ได้แล้ว
  • ค่าตรวจ COVID-19 ในสถานพยาบาลของรัฐ เบิกได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 3,000 บาท
  • หากต้องแอดมิดในสถานพยาบาลของรัฐ สามารถเบิกค่าห้องพักได้ตามจริง แต่ไม่เกินวันละ 2,500 บาท
  • ถ้าสงสัยว่า ตนเองอาจเป็น COVID-19 และไม่ต้องการไปตรวจในสถานพยาบาลทั่วไปเพราะกังวลว่า อาจเสี่ยงรับเชื้อ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมากที่ให้บริการการตรวจหาเชื้อแบบไดร์ฟทรู ซึ่งสะดวกสบายไม่ต้องลงจากรถ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19

วันที่ 3 เมษายน 2563 มีประกาศเผยแพร่จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง “หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)” ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป

สรุปเนื้อหาสำคัญดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กรณีเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ และเป็นผู้ป่วยนอก

สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน หรือสถานพยาบาล ดังนี้

  • ค่าตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค COVID-19 ทางห้องปฎิบัติการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด และค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) สำหรับบุคลากรห้องปฏิบัติการ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกินครั้งละ 3,000 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับบุคคลากรเพื่อเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ไม่เกินครั้งละ 540 บาท

กรณีเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ และเป็นผู้ป่วยใน

สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน หรือสถานพยาบาล ดังนี้

  • ค่าห้องพักสำหรับควบคุมหรือดูแลรักษา หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค COVID-19  ตามมาตรฐานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และจ่ายค่าอาหาร ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ไม่เกินวันละ 2,500 บาท
  • ค่าบริการทางการแพทย์สำหรับ 1 Admission คำนวณตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnostic related group: DRG) ที่มีค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight RW) ในอัตรา 12,000 บาท ต่อหนึ่งน้ำหนักสัมพัทธ์ปรับตามวันนอน (Adjusted Relative weight: AdjRW)
  • ค่ายาต้านไวรัส หรือยาที่เป็นการรักษาเฉพาะผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค COVID-19 ในอัตราเท่าที่จ่ายตามจริง ตามความจำเป็น ไม่เกิน 7,200 บาทต่อราย
  • ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ไม่เกินครั้งละ 2,500 บาท
  • ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล(Personal Protective Equipment: PPE) จำนวนตามอาการผู้ประกันตนที่ป่วย

    กรณีอาการเล็กน้อยถึงอาการปานกลาง จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น ไม่เกิน 15 ชุดต่อวัน จำนวน 740 บาทต่อชุด

    กรณีอาการรุนแรง จ่ายตามการให้บริการจริง จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นไม่เกิน 30 ชุดต่อวัน จำนวน 740 บาทต่อชุด

กรณีเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของเอกชน

สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ สำหรับผู้ประกันตนที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค COVID-19 ของกระทรวงสาธารณสุข และไม่ได้เป็นผู้รับสิทธิจากหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ

รวมถึงจ่ายค่าบริการทางการแพทย์สำหรับผู้ประกันตนที่ป่วย ให้แก่สถานพยาบาลของเอกชน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

นอกจากนี้หากมีการส่งต่อผู้ประกันตนไปรับการดูแลที่สถานพยาบาลอื่น ทางสำนักงานประกันสังคมยังมีการจ่ายค่ายานพาหนะให้ โดยหากเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ในเขตท้องที่จังหวัดเดียวกันจะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 500 บาท

หากมีการส่งต่อผู้ประกันตนไปจังหวัดอื่น สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่ายานพาหนะเพิ่มให้อีก อัตรากิโลเมตรละ 6 บาท

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อีกทั้งจ่ายค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment: PPE) รวมค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อยานพาหนะ จ่ายตามจริง ไม่เกิน 3,700 บาทต่อครั้ง

ดูประกาศฉบับเต็มกดที่นี่ หรือตรวจสอบสิทธิประกันสังคมของคุณได้ที่นี่ 

ในขณะที่ทุกคนกำลังเฝ้ารอคอยวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 อยู่ เราควรป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี รักษาระยะห่างทางสังคม ไม่ไปรวมตัวในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น

รวมทั้งรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย และหาโอกาสไปตรวจสุขภาพเมื่อพื้นที่ที่อยู่นั้นปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แล้ว

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/078/T_0038.PDF), 3 เมษายน 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แพทย์ไทยอาจพบสูตรยาต้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

แพทย์ไทยจากโรงพยาบาลราชวิถี อาจพบวิธีรักษาโคโรนาแล้ว! อ่านข้อมูลอัพเดทจากแพทย์และการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณะสุขได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม