กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.เพ็ญพิไล สุตันทวงษ์

ผู้ชายสูบบุหรี่ จะมีลูกยากหรือไม่?

บุหรี่มีพิษภัยต่อสุขภาพหลายอย่างรวมถึง "ลดโอกาส" การมีบุตรด้วยหรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 9 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ผู้ชายสูบบุหรี่ จะมีลูกยากหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของเชื้ออสุจิในด้านต่างๆ เช่น จำนวนเชื้ออสุจิลดลง เชื้ออสุจิจะมีความสามารถในการเคลื่อนที่ลดลง รูปร่างของเชื้ออสุจิผิดปกติ DNA ในเชื้ออสุจิจะมีความเสียหาย เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการปฏิสนธิได้ รวมทั้งทารกมีความผิดปกติ หรือพิการ ตามมา 
  • การสูบบุหรี่ส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศลดลง มีหลายการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้สูงกว่าปกติถึง 3 เท่า ยิ่งสูบบุหรี่จัดมากเท่าไหร่ สมรรถภาพทางเพศก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น
  • ผู้หญิงจะมีความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลงเมื่อสัมผัสควันบุหรี่ แม้ว่าไม่ได้สูบเอง ในการศึกษาหนึ่งระบุว่า ผู้หญิงที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง (Secondhand Smoke) จะมีจำนวนไข่ที่ถูกเก็บสำหรับการทำ IVF ลดลงถึง 46%
  • มีการศึกษาหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่มีคู่รักสูบบุหรี่จะมีอัตราความสำเร็จของการทำ IVF หรือ ICSI อยู่ที่ 22% ในขณะที่ผู้หญิงซึ่งคู่รักไม่สูบบุหรี่ จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 38% ดังนั้นควรเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาดเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภาวะผู้มีบุตรยาก

ทราบกันดีอยู่แล้วว่าบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ควันบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง และปัญหาสุขภาพอีกมากมาย 

ไม่เพียงเท่านั้นสารพิษในควันบุหรี่ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมและระบบสืบพันธุ์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้การสูบบุหรี่ในผู้ชายยังอาจทำให้การทำ IVF (เด็กหลอดแก้ว) หรือ ICSI(การผสมเทียม) ประสบความสำเร็จน้อยลง และอาจส่งผลให้อัตราการแท้งบุตรสูงขึ้นได้ 

แม้แต่ผู้หญิงที่ได้รับควันบุหรี่แม้ไม่ได้สูบเองนั้น ก็ได้รับผลเสียต่อระบบสืบพันธุ์เช่นกัน

การสูบบุหรี่ส่งผลต่อคุณภาพของอสุจิอย่างไรบ้าง?

จากศึกษามากมายที่ผ่านมาพบว่า การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อคุณภาพของเชื้ออสุจิในด้านต่างๆ ดังนี้ 

  • ความเข้มข้นของเชื้ออสุจิ คือ จำนวนเชื้ออสุจิที่นับได้ในน้ำอสุจิในปริมาตรหนึ่งๆ นั้นลดลงถึง 23% ในผู้ชายที่สูบบุหรี่ประจำ
  • การเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิ คือ ความสามารถในการแหวกว่ายของเชื้ออสุจิเข้าไปยังมดลูกและเข้าปฏิสนธิกับไข่ หากเชื้ออสุจิเคลื่อนที่ได้ไม่ดี ก็จะส่งผลให้อสุจิไม่สามารถเข้าไปหาไข่เพื่อปฏิสนธิได้ งานวิจัยพบว่า ในผู้ชายที่สูบบุหรี่ เชื้ออสุจิจะมีความสามารถในการเคลื่อนที่ลดลงถึง 13%
  • ลักษณะของเชื้ออสุจิ คือ รูปร่างของเชื้ออสุจิที่ผิดปกติแม้จะยังเคลื่อนที่ไปยังไข่ได้ แต่ไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิได้ ในผู้ชายที่สูบบุหรี่มักพบเชื้ออสุจิที่มีรูปร่างปกติมีจำนวนน้อยกว่าผู้ชายที่ไม่สูบบุหรี่
  • DNA ของเชื้ออสุจิ มีการศึกษาหลายชิ้นพบว่า DNA ในเชื้ออสุจิของผู้ชายที่สูบบุหรี่จะมีความเสียหายมากขึ้น ซึ่งความเสียหายของ DNA นี้อาจทำให้เกิดปัญหาในการปฏิสนธิ การเจริญและการฝังตัวของตัวอ่อน รวมถึงทำให้อัตราการแท้งบุตรสูงขึ้นด้วย

นอกจากนี้ผู้ชายที่สูบบุหรี่มักมีระดับฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อการสืบพันธุ์เช่นกัน

การสูบบุหรี่ในผู้ชายทำให้เป็นหมันได้หรือไม่?

คุณภาพของเชื้ออสุจิที่ลดลง หรือความผิดปกติของระดับฮอร์โมน ไม่ได้ทำให้ผู้ชายเป็นหมันเสียทีเดียว แต่ก็ทำให้ความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลงมาก 

โดยเฉพาะผู้ชายที่มีความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ หรือเกือบเป็นหมันอยู่แล้ว พิษร้ายจากบุหรี่ก็อาจยิ่งส่งผลให้กลายเป็นหมันได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากผลการตรวจคุณภาพน้ำอสุจิอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง คุณก็ควรงดสูบบุหรี่เพื่อให้ระบบสืบพันธุ์ดีขึ้น และเพิ่มโอกาสการมีลูกโดยไม่ต้องพึ่งพาการรักษาภาวะมีบุตรยาก

การสูบบุหรี่ในผู้ชายส่งผลเสียอื่นๆ ต่อระบบสืบพันธุ์อย่างไรบ้าง?

ผู้ชายที่สูบบุหรี่ต้องสัมผัสกับสารพิษนานาชนิดในปริมาณสูง เช่น แคดเมียมและตะกั่ว ซึ่งเป็นสารโลหะที่ส่งผลโดยตรงต่อระบบสืบพันธุ์ มีงานวิจัยพบว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่และเป็นหมันจะมีระดับตะกั่วในเลือดสูงกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญ 

นอกจากนี้ในผู้ชายที่สูบบุหรี่จัด (สูบบุหรี่เกินกว่า 20 มวนต่อวัน) จะพบระดับแคดเมียมในน้ำอสุจิสูงขึ้นด้วย

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่มักมีระดับสังกะสีในร่างกายต่ำ ทำให้มีผลต่ออสุจิหลายอย่าง เช่น ความเข้มข้นของเชื้ออสุจิลดลง การเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิช้าลง และรูปร่างของเชื้ออสุจิยังมีความผิดปกติด้วย

การสูบบุหรี่ยังส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศลดลง มีหลายการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่สูบบุหรี่จะเสี่ยงต่อปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวได้สูงกว่าปกติถึง 3 เท่า ยิ่งสูบบุหรี่จัดมากเท่าไหร่ สมรรถภาพทางเพศก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น 

แม้การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจะไม่ได้หมายถึงการเป็นหมัน แต่หากคู่รักมีเพศสัมพันธ์กันยากขึ้น การตั้งครรภ์ก็จะยากขึ้นตามไปด้วย ข่าวดีก็คือ หากคุณเลิกสูบบุหรี่ ความต้องการทางเพศก็จะกลับมามากขึ้นได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มีงานวิจัยที่พบว่า หลังการเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลา 6 เดือน ผู้ชายกว่า 50% จะกลับมามีสมรรถภาพทางเพศและมีเพศสัมพันธ์ได้ดีตามปกติ

ผลกระทบทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง เมื่อคุณผู้ชายสูบบุหรี่

มีงานวิจัยมากมายที่พบว่า ผู้หญิงจะมีความสามารถในการสืบพันธุ์ลดลงเมื่อสัมผัสควันบุหรี่ แม้ว่าไม่ได้สูบเอง ในการศึกษาหนึ่งระบุว่า ผู้หญิงที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง (Secondhand Smoke) จะมีจำนวนไข่ที่ถูกเก็บสำหรับการทำ IVF ลดลงถึง 46%

ดังนั้นหากคุณผู้ชายต้องการสูบบุหรี่จริงๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงการสูบใกล้ๆ คนที่คุณรัก เพื่อไม่ให้ควันบุหรี่ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของคู่ของคุณไปด้วย

ผลจากการสูบบุหรี่ต่อการรักษาการมีบุตรยากด้วยวิธี IVF และ ICSI

นักวิจัยจำนวนมากพบว่า การสูบบุหรี่ของผู้ชายมีผลกระทบต่ออัตราความสำเร็จในการทำ IVF และการทำ ICSI อย่างมีนัยสำคัญ 

มีการศึกษาหนึ่งซึ่งทำในกลุ่มตัวอย่างเล็กๆ พบว่า ผู้หญิงที่มีคู่รักสูบบุหรี่จะมีอัตราความสำเร็จของการทำ IVF หรือ ICSI อยู่ที่ 22% ในขณะที่ผู้หญิงซึ่งคู่รักไม่สูบบุหรี่ จะมีอัตราความสำเร็จอยู่ที่ 38% 

ดังนั้นหากคู่ของคุณจะเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก คุณควรเลิกบุหรี่ให้เด็ดขาดเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จ

การที่พ่อสูบบุหรี่ ทำให้เกิดความผิดปกติในทารกได้หรือไม่?

เด็กทารกที่มีพ่อสูบบุหรี่ มีโอกาสเกิดความผิดปกติตั้งแต่แรกคลอดได้สูงขึ้น รวมถึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งในระยะยาวด้วย ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากความเสียหายของ DNA ในเชื้ออสุจิ

มีงานวิจัยหนึ่งได้เปรียบเทียบ DNA เชื้ออสุจิของผู้ชายที่สูบบุหรี่กับไม่สูบบุหรี่ พบว่า เชื้ออสุจิของผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเปลี่ยนแปลงของ DNA (DNA Alteration) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ทารกเกิดมาผิดปกติ หรือพิการ 

แม้ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบว่า การเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหนจึงจะทำให้ทารกที่คลอดออกมาผิดปกติก็ตาม

ต้องงดสูบบุหรี่นานแค่ไหน คุณภาพเชื้ออสุจิจึงจะดีขึ้น?

ยังไม่มีการศึกษาใดระบุได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เชื้ออสุจิจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการเจริญเติบโต ดังนั้น ะยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปหลังเลิกสูบบุหรี่ น่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับมีเพศสัมพันธ์ สำหรับคู่รักที่ต้องการมีลูก

บุหรี่มาพร้อมกับสารพิษมากมายซึ่งส่งผลทั้งทางตรงต่อสุขภาพของตัวผู้สูบเองและส่งผลทางอ้อมต่อคนรอบข้างที่ได้รับควันบุหรี่ ดังนั้นหากอยากมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ห่างไกลโรคต่างๆ รวมทั้งช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูก แนะนำว่า วิธีที่ดีที่สุดคือ "การไม่สูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด"

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือเข้าขั้นติดบุหรี่ แต่มีความตั้งใจที่จะมีลูกให้สำเร็จ ต้องเริ่มต้นด้วยการค่อยๆ ลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงทีละน้อยๆ กระทั่งสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จในที่สุด 

แม้จะต้องใช้ความอดทน ความตั้งใจ และใช้เวลาอยู่บ้าง แต่หากมีความมุ่งมั่น ตั้งใจจริงแล้ว ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่ก็อยู่ไม่ไกลเกิน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภาวะผู้มีบุตรยาก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Verywell Family, The Effect Smoking Has on Sperm and Male Fertility (https://www.verywellfamily.com/male-fertility-and-smoking-1960256), 20 May 2020.
Rachel Gurevich, What Impact Does Male Smoking Have on Sperm and Fertility? (https://www.verywellfamily.com/male-fertility-and-smoking-1960256), 22 May 2020.
National Center for Biotechnology Information, Fighting Tobacco Smoking - a Difficult but Not Impossible Battle (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2672325/), 20 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)