การตั้งครรภ์ ถือเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะต้องดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรง เนื่องจากเป็นช่วงที่ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ รวมถึงต้องบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อให้ลูกน้อยคลอดออกมาอย่างปลอดภัย ไม่มีโรคภัย หรืออาการแทรกซ้อนด้วย
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่หญิงตั้งครรภ์จะเจ็บป่วยเป็นโรคร้ายต่างๆ ก็ยังมีอยู่ รวมไปถึงโรคงูสวัดด้วย
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคงูสวัดกับหญิงตั้งครรภ์
โรคงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส “วาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
โดยปกติโรคงูสวัดจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือเคยรับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสมาแล้ว แต่เชื้อไวรัสไม่ได้หายไปหลังจากร่างกายรักษาโรคอีสุกอีใส แต่กลับยังซ่อนตัวอยู่ในปมประสาทของร่างกาย
และเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อายุมากขึ้น อยู่ในช่วงอ่อนเพลีย เครียด มีโรคประจำตัว เชื้อไวรัสชนิดนี้ก็สามารถออกมาก่อโรคร้ายในรูปของโรคสวัดได้
ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนจึงไม่เสี่ยงเป็นโรคงูสวัดมาก เมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน และไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสเลย
อาการของโรคงูสวัดในหญิงตั้งครรภ์
อาการโรคงูสวัดในหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากจะไม่รุนแรง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน และไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรต่อสุขภาพทารกในครรภ์ อีกทั้งโดยปกติจะมีระยะของโรคประมาณ 2-4 สัปดาห์ก็หาย โดยอาการจะมีลำดับดังต่อไปนี้
- มีตุ่มผื่นขึ้นตามแนวยาวข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย มักเริ่มจากใบหน้า ลำตัว แล้วลามไปแขนขา
- ตุ่มผื่นเปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำพุพอง มีหนองอยู่ข้างใน
- ตุ่มผื่นเริ่มแตก และตกสะเก็ดหายไป
อาจมีหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคงูสวัดบางรายมีอาการคัน และเจ็บปวดบริเวณที่ผื่นขึ้น บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคอีสุกอีใสในหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส และไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากติดเชื้อไวรัส VZV จากผู้อื่นขึ้นมา ก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคอีสุกอีใสระหว่างตั้งครรภ์ได้ ซึ่งโรคนี้จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งแม่ และเด็กอย่างรุนแรง
อาการแทรกซ้อนรุนแรงที่มักเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งเป็นโรคอีสุกอีใส ได้แก่ ปอดอักเสบ ภาวะขาดน้ำ ติดเชื้อที่ผิวหนัง สมองอักเสบ มีอาการท็อกซิกซินโดรม (Toxic Shock Syndrome: TSS)
โดยทารกในครรภ์มารดาที่เป็นโรคอีสุกอีใส จะเสี่ยงได้รับผลกระทบดังนี้
- หากอายุครรภ์อยู่ที่ประมาณ 12-20 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะเสี่ยงเป็นโรคสุกใสแต่กำเนิด (Congenital varicella syndrome) ซึ่งจะส่งผลให้ดวงตาเด็กเป็นต้อกระจก มีรอยแผลเป็นที่กระจกตา ศีรษะเล็ก แขนขาลีบ ขนาดนิ้วมือนิ้วเท้าพัฒนาไม่เต็มที่ สมองได้รับความเสียหาย
- หากอายุครรภ์อยู่ที่ประมาณสัปดาห์ที่ 20 ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด
- หากมารดาติดเชื้ออีสุกอีใสช่วง 1 สัปดาห์ก่อน หรือหลังคลอด ทารกอาจติดเชื้อ และเกิดโรคอีสุกอีใสชนิดรุนแรง ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้
อาการของเด็กทารกที่ติดเชื้ออีสุกอีใสจากมารดา
โดยปกติหากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคอีสุกอีใสมากกว่า 1 สัปดาห์ก่อนคลอดบุตร ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดา และสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้
แต่หากมารดาเกิดเป็นโรคอีสุกอีใสก่อนคลอด หรือหลังคลอดประมาณ 1 สัปดาห์ ทารกจะเสี่ยงเป็นโรคอีสุกอีใสชนิดรุนแรง ซึ่งมีอาการต่อไปนี้
- มีไข้ต่ำ
- ร้องไห้กวน
- ไม่อยากอาหาร
- มีตุ่มคันขึ้นทั่วร่างกาย เมื่อตกสะเก็ดแล้วมักจะทิ้งเป็นรอยแผลเป็นหลุมเล็กๆ ไว้ทั่วผิวหนัง
- อาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ตับอักเสบ ปอดบวม ไข้สมองอักเสบ
วิธีวินิจฉัยโรคอีสุกอีใสในเด็กทารก
การวินินิจฉัยจะเริ่มจากการสอบถามประวัติการติดเชื้อไวรัสของมารดาร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เช่น
ฉีดวัคซีนงูสวัดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 4292 บาท ลดสูงสุดถึง 655 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การตรวจอัลตราซาวด์เพื่อติดตามดูลักษณะ หาความผิดปกติของใบหน้า แขนขา ลักษณะศีรษะของเด็ก
- การเจาะตรวจน้ำคร่ำ
- การติดเชื้อเนื้อรกไปตรวจหาเชื้อไวรัส VZV
- การเจาะเลือดเด็กเพื่อหาภูมิคุ้มกัน (ตรวจหลังจากเด็กคลอดแล้ว)
วิธีดูแลตนเองหากเป็นโรคงูสวัดขณะตั้งครรภ์
หากสงสัยว่า ตนเองเป็นโรคงูสวัด และกำลังตั้งครรภ์ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที โดยหญิงตั้งครรภ์อาจได้รับยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) แฟมไซโคลเวียร์ (Famciclovir) และวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) ซึ่งเป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับการใช้ในขณะตั้งครรภ์
ตัวยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงของอาการปวดปลายประสาทที่จะเกิดขึ้นหลังจากผื่นพุพองหายไปแล้ว
การรับประทานยาให้ได้ผลดีที่สุด คือ รับประทานตั้งแต่ในช่วงที่ยังไม่เกิดการแพร่เชื้อ หรือผื่นยังไม่แตกออกนั่นเอง และควรรับประทานอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
นอกจากการรับประทานยาต้านไวรัส คุณสามารถบรรเทาอาการด้วยตนเองตามคำแนะนำต่อไปนี้
- หากรู้สึกปวดมาก สามารถรับประทานยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาใดๆ ด้วยตัวเอง
- ประคบเย็นบริเวณตุ่มผื่นบ่อยๆ ครั้งละประมาณ 20 นาที หรือแช่ในอ่างน้ำเย็น เพื่อทุเลาความเจ็บปวด
- ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ จะช่วยลดการระคายเคือง และทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- หมั่นเช็ดแผลให้แห้ง และใช้ผ้าก๊อซปิดแผลไว้ให้ทั่ว รวมถึงไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
- บรรเทาอาการคันด้วยการรับประทานยาแก้แพ้ หรือทาคาลามายน์
- รักษาความสะอาดของแผล เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ
วิธีป้องกันตัวเองและลูกในครรภ์ให้ห่างไกลจากงูสวัด
ทุกคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนย่อมมีความเสี่ยงเกิดโรคงูสวัดได้ แต่ข้อดีก็คือ จะไม่ติดเชื้อจากคนอื่นที่เป็นโรคอีสุกอีใส หรือโรคงูสวัดอีก เพราะมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว ที่สำคัญ โรคงูสวัดนั้นก็ไม่ได้รุนแรง หรือทำให้เกิดอันตรายในหญิงตั้งครรภ์
อย่างไรก็ตาม หากเป็นกังวล คุณสามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด แต่โดยปกติแล้ว วัคซีนนี้มักแนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน จะมีความเสี่ยงติดเชื้อจากผู้ป่วยงูสวัดหรืออีสุกอีใสได้
ดังนั้นหากกำลังวางแผนมีบุตร คุณจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส โดยแนะนำให้เว้นระยะหลังฉีดวัคซีนประมาณ 3 เดือน ก่อนจะตั้งครรภ์
ส่วนผู้ที่ตั้งครรภ์อยู่แล้ว แต่ไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใส ก็ควรป้องกันโดยอยู่ให้ห่างจากผู้ที่เป็นอีสุกอีใสและงูสวัดเข้าไว้ เพราะวัคซีนอีสุกอีใสนั้นไม่แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android